ซักคิวบัส

ซักคิวบัส (อังกฤษ: succubus (เอกพจน์) หรือ succubi (พหูพจน์)) เป็นชื่อปีศาจสตรีที่ปรากฏตัวในความฝันด้วยรูปมนุษย์สตรีเพื่อล่อลวงบุรุษให้สังวาสกับนาง ปิศาจที่เป็นชายและมีพฤติกรรมทำนองเดียวกันเรียก "อินคิวบัส" (incubus)

หัวเสารูปนางซักคิวบัส

ความเชื่อทางศาสนามีว่า ถ้าร่วมประเวณีกับนางซักคิวบัสบ่อยครั้ง อาจส่งผลให้สุขภาพย่ำแย่ และอาจถึงตายได้ ในนวนิยายสมัยปัจจุบัน นางซักคิวบัสอาจปรากฏมาในความฝันหรือไม่ก็ได้ และมักมีรูปโฉมโนมพรรณงดงามและยั่วยวน ต่างจากในสมัยโบราณที่แสดงรูปของนางซักคิวบัสไว้น่าเกลียดน่ากลัวอย่างปิศาจโดยแท้

ในโมร็อกโกและประเทศอื่นในแอฟริกาเหนือ มีปิศาจที่คล้ายคลึงกันเรียกว่า "อิสชากาดิชา" (Aisha Kandisha; อาหรับ: عيشة قنديشة‎, ʿĀʾisha Qandīsha) เป็นปิศาจผู้หญิงที่มีท่อนบนงดงามยั่วยวน แต่มีช่วงล่างที่เป็นแพะ และปีกด้านหลังเหมือนค้างคาว เชื่อว่าอาศัยอยู่ในที่รกร้างหรือกลางทะเลทราย เช่น เทือกเขาแอตลาส อิสชากาดิชา จะทำให้ผู้ชายหลงใหลเคลิบเคลิ้ม และท้ายสุดจะเป็นบ้าเสียสติ หรืออาจถึงตายได้ ทั้งนี้มีพยานเป็นชาวพื้นเมืองกลางทะเลทรายบอกว่า เคยเห็นอิสชากาดิชาในเวลากลางคืน เชื่อว่า หากได้ยินเสียงโซ่ลากพื้นหรือเสียงเหมือนอูฐเดินในเวลากลางคืน นั่นคือ อิสชากาดิชา[1]

อ้างอิง แก้

  1. fantasmadeabandonos. "Destination truth - Ruinas de Pohnpei y Aisha Kandisha". Destination truth (ภาษาสเปน).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระสุนทรโวหาร (ภู่)อสมทดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัววอลเลย์บอลราชวงศ์จักรีสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีตารางธาตุพิธา ลิ้มเจริญรัตน์อริยสัจ 4ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอาณาจักรสุโขทัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรอาณาจักรอยุธยานิราศภูเขาทองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรายชื่อเครื่องดนตรีณพสิน แสงสุวรรณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพิธีไหว้ครูประเทศไทยรอยรักรอยบาปพระอภัยมณีในวันที่ฝนพร่างพรายฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ประเทศฝรั่งเศสพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกติกาฟุตบอลรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสงครามโลกครั้งที่สองทวีปยุโรปจารึกพ่อขุนรามคำแหง