ชวลิต วิทยานนท์

ชวลิต วิทยานนท์ (ชื่อเล่น: แฟรงก์; เกิดที่กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502) จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโททางวิทยาศาสตร์ทางทะเล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี โตเกียว กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ชวลิต วิทยานนท์
เกิด2502
กรุงเทพมหานคร
ศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี โตเกียว
อาชีพนักวิชาการอิสระ

ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และค้นพบปลาชนิดใหม่จากประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงรวมกันแล้วถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และร่วมการค้นพบฟอสซิลเอปโคราช Khoratpithecus piriyai Chaimanee, Suteethorn, Jintasakul, Vidthayanon, Marandat & Jaeger, 2004 โดยมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะปลาในอันดับปลาหนัง

มีผลงานการเขียนบทความตามวารสารต่าง ๆ เช่น สารคดี, Cichlid World เป็นต้น มีผลงานทางหนังสือ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่า, ปลาน้ำจืดไทย (พ.ศ. 2544), คู่มือปลาน้ำจืด (พ.ศ. 2547), คู่มือปลาทะเล (พ.ศ. 2551), ปลาไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (พ.ศ. 2553) และมีผลงานทางด้านสื่อต่าง ๆ เช่น ซีดีฐานข้อมูลปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและสนับสนุนข้อมูลด้านอนุกรมวิธานปลาในการจัดนิทรรศการในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ของหน่วยราชการหลายแห่ง รวมถึงองค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นองค์ความรู้ในการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำในท้องถิ่น เช่น บ้านกรูด บ่อนอก ลุ่มแม่น้ำสงคราม ปากมูล และเชียงของ

เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์และอาจารย์พิเศษในสาขามีนวิทยาและสัตววิทยาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทางทะเลและแหล่งน้ำจืด ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (Worldwide Fund for Nature - WWF-Greater Mekong สำนักงานประเทศไทย) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ประจำโครงงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมาธิการลุมแม่น้ำโขง (Environment Programme Mekong River Commission) สำนักงานใหญ่เวียงจันทน์ ลาว

ผลงานการค้นพบ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Vidthayanon, C., Saenjundaeng, P., and Ng, H. H. (2009). "Eight new species of the torrent catfish genus Oreoglanis (Teleostei: Sisoridae) from Thailand". Ichthyological Exploration of Freshwaters. 20(2): 127-156. http://www.pfeil-verlag.de/04biol/pdf/ief20_2_04.pdf
  2. พบ“ปลาปักเป้าบึงพันธุ์ใหม่”ครั้งแรกในโลก จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระสุนทรโวหาร (ภู่)อสมทฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2พิธีไหว้ครูฟุตบอลทีมชาติไทยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ราชวงศ์จักรีวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024ตารางธาตุรอยรักรอยบาปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปในวันที่ฝนพร่างพรายจูด ซุ่นทรัพย์-เบลล์นิราศภูเขาทองพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีอริยสัจ 4ประเทศไทยวอลเลย์บอลฟุตบอลโลกศุภณัฏฐ์ เหมือนตาอาณาจักรอยุธยารายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอภัยมณีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรรายชื่อเครื่องดนตรีฟุตบอลโลก 2026อาณาจักรสุโขทัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยทวีปยุโรปกติกาฟุตบอลฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3