จูเซปเป เมอัซซา

จูเซปเป เมอัซซา (อิตาลี: Giuseppe Meazza; 23 สิงหาคม 1910 – 21 สิงหาคม 1979) เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลและผู้เล่นชาวอิตาลี ตลอดอาชีพของเขา เขาเล่นให้แก่อินเตอร์มิลานเป็นหลักในคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยทำได้ 242 ประตูจาก 365 นัดให้กับสโมสร และคว้าแชมป์เซเรียอา 3 สมัย รวมถึงโคปปาอิตาเลียด้วย หลังจากนั้นเขายังเล่นให้กับเอซีมิลานคู่แข่งร่วมเมืองของอินเตอร์เช่นเดียวกับยูเวนตุสที่เป็นคู่แข่งร่วมเมืองของตูริน นอกเหนือจากการเล่นกับวาเรเซและอาตาลันตา ในระดับทีมชาติ เขาพาอิตาลีคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2 สมัยติดต่อกัน ใน ค.ศ. 1934 ที่บ้านเกิด และใน ค.ศ. 1938 ในฐานะกัปตันทีม ทำให้มีชื่อติดทีมออลสตาร์ เมอัซซาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล และได้รับการยกย่องจากหลาย ๆ คนในแวดวงกีฬาว่าเป็นผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิตาลี[2][3][4] จูเซปเป ปริสโก และจันนี เบรรา ถือว่าเขาเป็นนักฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[5][6]

จูเซปเป เมอัซซา
เมอัซซาขณะเล่นให้แก่อัมโบรซีอานา[1] ในฤดูกาล 1934–1935
ข้อมูลส่วนตัว
วันเกิด1.69 เมตร (5 ฟุต 6 12 นิ้ว)
สถานที่เกิดมิลาน ราชอาณาจักรอิตาลี
วันเสียชีวิต21 สิงหาคม ค.ศ. 1979(1979-08-21) (68 ปี)
สถานที่เสียชีวิตลิสโซเน ประเทศอิตาลี
ส่วนสูง1.69 เม
ตำแหน่งกองหน้า
สโมสรเยาวชน
1922–1924โกลเรีย
1924–1927อินเตอร์มิลาน
สโมสรอาชีพ*
ปีทีมลงเล่น(ประตู)
1927–1940อินเตอร์มิลาน348(240)
1940–1942เอซี มิลาน37(9)
1942–1943ยูเวนตุส27(10)
1944วาเรเซ20(7)
1945–1946อาตาลันตา14(2)
1946–1947อินเตอร์มิลาน17(2)
รวม463(270)
ทีมชาติ
1930–1939อิตาลี53(33)
จัดการทีม
1946อาตาลันตา
1946–1948อินเตอร์มิลาน
1948–1949เบชิกทัช
1949–1951โปรปาเตรีย
1952–1953โอลิมปิกอิตาลี
1955–1956อินเตอร์มิลาน
1957อินเตอร์มิลาน
เกียรติประวัติ
ฟุตบอลชาย
ตัวแทนของ  อิตาลี
ฟุตบอลโลก
ชนะเลิศอิตาลี 1934
ชนะเลิศฝรั่งเศส 1938
Central European International Cup
ชนะเลิศ1927–30
รองชนะเลิศ1931–32
ชนะเลิศ1933–35
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

เมอัซซาเป็น 1 ในผู้เล่นอิตาลีเพียง 4 คนที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2 สมัย ร่วมกับโจวันนี แฟร์รารี, กวีโด มาเซตตี และเอรัลโด มอนเซลโย[7][8] หลังจากเขาแขวนสตั๊ด เขาทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนให้แก่ทีมชาติอิตาลีและแก่สโมสรในอิตาลีหลายสโมสร รวมถึงสโมสรเก่าของเขาอย่างอินเตอร์และอาตาลันตา เช่นเดียวกับโปรปาเตรียและเบชิกทัชของตุรกี เขาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนของอิตาลีในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952

เนื่องจากทักษะการยิงประตูที่มากมายและความสามารถในการสร้างสรรค์เกม เมอัซซาจึงได้รับสมญานามว่า อิลเจนิโอ ("อัจฉริยะ") จากสื่ออิตาลีตลอดอาชีพของเขา[9]

อ้างอิง

แก้
  1. นี่คือชื่อที่กำหนดให้แก่อินเตอร์มิลานในคริสต์ทศวรรษ 1930 ด้วยเหตุผลทางการเมือง
  2. "Giuseppe Meazza La favola di Peppin il folbèr" (ภาษาอิตาลี). Storie di Calcio. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  3. "The inimitable Giuseppe Meazza". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2019. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  4. "Dalla A alla Zico, i grandi numeri 10 del calcio internazionale" (ภาษาอิตาลี). Sport.Sky.it. 10 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-02. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
  5. Whittaker, Mike (24 December 2012). "Giuseppe Meazza: A legend ahead of his time". ESPN.com. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018. The late great Peppino Prisco considered him to be the best of all time: 'Meazza was great, unbeatable, even if he would occasionally run into a frightful crisis, caused by his intense sexual activity and his passion for the game. When he took over on the field, he did things that left the mouth ajar.'
  6. "Peppin Meazza, il demonio che infiammò Milano" (ภาษาอิตาลี). La Repubblica. 8 June 2014. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018. Secondo Brera, e dunque secondo la storia, è stato il più grande di tutti.
  7. "Record e Curiosità" [Records and Trivia] (ภาษาอิตาลี). La Repubblica. สืบค้นเมื่อ 6 May 2016.
  8. "Presenze" [Appearances] (ภาษาอิตาลี). la Repubblica. สืบค้นเมื่อ 3 May 2016.
  9. "Peppino Meazza: 100 anni fa nacque Balilla, Genio del calcio" (ภาษาอิตาลี). Sky.it. 17 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: หน้าหลักมัณฑนา หิมะทองคำฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024พระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาภักดีหาญส์ หิมะทองคำฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอสมทดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวอันดับโลกเอฟไอวีบีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพุ่มพวง ดวงจันทร์ณัฐวุฒิ เจนมานะโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทราชวงศ์จักรีฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020ทองภูมิ สิริพิพัฒน์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชครายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอริยสัจ 4ประเทศไทยปภัสรา เตชะไพบูลย์ฟุตบอลโลกตารางธาตุอาณาจักรอยุธยาอาณาจักรสุโขทัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระอภัยมณีวอลเลย์บอลรายชื่อนักแสดงหญิงไทยนิราศภูเขาทองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)