การทดลองแบบอำพราง

การทดลองแบบอำพราง[1](อังกฤษ: blind experiment, blinded experiment) เป็นการทดลองที่ปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองที่อาจจะทำให้เกิดความเอนเอียงในผลการทดลอง ไม่ให้ผู้ทำการทดลอง หรือผู้รับการทดลอง หรือทั้งสองฝ่าย รับรู้ จนกระทั่งการทดลองได้จบเสร็จสิ้นลงแล้ว[2]ความเอนเอียงที่อาจเกิดขึ้นนั้นเป็นได้ทั้งแบบจงใจหรือแบบไม่จงใจ ส่วนการทดลองที่ทั้งสองฝ่ายไม่รู้เรื่องที่ปิด เรียกว่า การทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (อังกฤษ: double-blinded experiment)

นักวิทยาศาสตร์จะใช้การทดสอบแบบอำพราง

  • เมื่อเปรียบเทียบผลหลายอย่าง เพื่อไม่ให้มีอิทธิพลมาจากความชอบใจหรือความคาดหมายของผู้ทำการทดลอง ยกตัวอย่างเช่น ในการทดลองทางคลินิก ที่ตรวจสอบอิทธิผลของยา หรืออิทธิผลของวิธีการทางการแพทย์ เพื่อป้องกันปรากฏการณ์ยาหลอก (Placebo effect) หรือความเอนเอียงจากความคาดหมายของผู้สังเกตการณ์ (Observer-expectancy effect) หรือการจงใจหลอกลวง
  • เมื่อเปรียบเทียบผลของผลิตภัณฑ์การแพทย์ต่าง ๆ ต่อคนไข้ เพื่อไม่ให้มีอิทธิพลจากยี่ห้อหรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวแปรทดสอบ

การปกปิดข้อมูลอาจทำต่อผู้ทำงานวิจัย เจ้าหน้าที่เทคนิค ผู้รับการทดลอง และผู้ให้ทุนงานวิจัยส่วนการทดลองที่มีลักษณะตรงข้ามกันเรียกว่า open-label trial หรือ open trial (การทดลองแบบเปิด)การทดลองแบบอำพรางเป็นวิธีการที่สำคัญในระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์และในการวิจัยหลายสาขารวมทั้งแพทยศาสตร์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติรวมทั้งฟิสิกส์และชีววิทยา วิทยาศาสตร์ประยุกต์เช่นการวิจัยการตลาด และอื่น ๆในกระบวนการบางอย่าง เช่นการทดสอบยา การทดลองแบบอำพรางเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

ในบางกรณี แม้ว่า การทดสอบแบบอำพรางอาจจะมีประโยชน์ แต่ก็เป็นวิธีที่ทำไม่ได้หรือไม่ถูกจริยธรรม ยกตัวอย่างเช่นงานวิจัยในสาขาจิตวิทยาพัฒนาการแม้ว่า การเลี้ยงเด็กภายใต้เงื่อนไขบางอย่างทางการทดลองอาจจะให้ความรู้ที่ดีเช่นเลี้ยงเด็กให้เจริญเติบโตขึ้นบนเกาะไกล ๆ ที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่กุขึ้น แต่นี่เป็นเรื่องทั้งไม่ถูกจริยธรรมและเป็นการทำลายสิทธิมนุษยชน

คำภาษาอังกฤษว่า blind (คำวิเศษณ์) เป็นคำเชิงภาพพจน์แสดงการปิดตาของบุคคลหนึ่ง ๆ และคำว่า masked ก็สามารถใช้ในลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะในสาขาจักษุวิทยา ที่ใช้คำว่า blind ในการปิดตาจริง ๆ (ไม่ได้ใช้ในเชิงภาพพจน์) และใช้คำว่า masked หมายถึงการปิดตาโดยภาพพจน์

ประวัติ แก้

บัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศฝรั่งเศส (French Academy of Sciences) เป็นผู้เริ่มการทดลองแบบอำพรางที่มีการบันทึกไว้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1784คือมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบทฤษฎี animal magnetism (ที่สัตว์มีพลังธรรมชาติที่กระจายออกมารอบตัว ที่เกิดจาก "น้ำแม่เหล็ก") ของ Franz Mesmerโดยมีเบนจามิน แฟรงคลินและ Antoine Lavoisier (บิดาของเคมีปัจจุบัน) เป็นผู้นำคณะกรรมการทำการทดลองโดยให้ mesmerist ผู้เป็นผู้รับการทดลอง กำหนดวัตถุที่มีการเติม "vital fluid" (น้ำพลังชีวิต) รวมทั้งต้นไม้และขวดน้ำแต่ผู้รับการทดลองไม่สามารถที่จะทำได้ต่อจากนั้น คณะกรรมการก็ตรวจสอบการรักษาคนไข้โดยการสะกดจิต (mesmerized)แม้ว่าคนไข้จะมีอาการที่ดีขึ้นแต่คณะกรรมการได้สรุปว่า คนไข้ดีขึ้นเพราะตนเชื่อว่าจะดีขึ้น ซึ่งเป็นข้อเสนอทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ยาหลอก (placebo effect)[3]

ในปี ค.ศ. 1799 นักเคมีชาวอังกฤษฮัมฟรี เดวีได้ทำงานทดลองแบบอำพรางยุคต้น ๆ อีกงานหนึ่งในการศึกษาผลของไนตรัสออกไซด์ (แก๊สหัวเราะ) ที่มีต่อกายภาพของมนุษย์ เดวีจงใจไม่บอกผู้รับการทดลองว่า แก๊สที่กำลังสูดเข้าไปเข้มข้นแค่ไหน หรือว่า เป็นอากาศธรรมดา ๆ หรือไม่ ที่กำลังสูดเข้าไป[3][4]

หลังจากนั้น การทดลองแบบอำพรางก็เริ่มมีการใช้ในศาสตร์นอกวิทยาศาสตร์ในปี ค.ศ. 1817 คณะกรรมการที่ประกอบด้วยทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักดนตรี ทำการเปรียบเทียบเครื่องดนตรีระหว่างไวโอลิน Stradivarius (ทำโดยตระกูลสตราดิวารี) กับเครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ประดิษฐ์โดยวิศวะต่อเรือ François Chanotโดยให้นักไวโอลินผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งเล่นเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น โดยคณะกรรมการจะฟังอยู่ในอีกห้องหนึ่งเพื่อป้องกันความลำเอียง[5][6]

บทความแรก ๆ บทหนึ่ง ที่สนับสนุนให้ใช้วิธีแบบอำพรางในการทดลองทั่วไป มาจากนักสรีรวิทยาชาวฝรั่งเศส Claude Bernard ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19ผู้แนะนำให้ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยมีผู้สังเกตการณ์สองพวก พวกแรกคือบุคคลที่ออกแบบริเริ่มทำการทดลองและพวกที่สองเป็นพวกที่ไม่มีการศึกษา ผู้ที่จะบันทึกผลโดยไม่รู้ล่วงหน้าเรื่องทฤษฎีหรือสมมุติฐานที่เป็นประเด็นสอบสวนคำแนะนำนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากทัศนคติในยุคเรืองปัญญาว่า การสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์จะทำอย่างถูกต้องเป็นกลางได้ ก็ต่อเมื่อทำโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีการศึกษา มีความรู้เป็นอย่างดี[7]

ส่วนการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย เริ่มปรากฏความสำคัญเป็นอย่างยิ่งช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 20[8]

การทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียว แก้

การทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียว (อังกฤษ: Single-blinded experiment) หมายถึงการทดลองที่ปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองที่อาจจะทำให้เกิดความเอนเอียงในผลการทดลอง ไม่ให้ผู้ร่วมการทดลองรับรู้ แต่ผู้ทำการทดลองจะมีข้อมูลทั้งหมดในงานทดลองชนิดนี้ ผู้ร่วมการทดลองแต่ละคนจะไม่รู้ว่าตนอยู่ในกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมแบบการทดลองนี้ใช้เมื่อผู้ทำการทดลองต้องมีข้อมูลทั้งหมด เช่น การทดสอบการผ่าตัดจริงเทียบกับการผ่าตัดแบบควบคุม (sham)และดังนั้นจึงไม่สามารถปิดบังข้อมูลจากผู้ทำการทดลองได้หรือเมื่อผู้ทำการทดลองไม่มีอิทธิพลที่จะทำความเอนเอียงให้เกิดขึ้นในงานทดลอง และดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องบอดอย่างไรก็ดี ก็ยังมีความเสี่ยงว่า ผู้รับการทดลองอาจจะได้รับอิทธิพลจากการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้ทำการทดลอง ที่เรียกว่า "ความเอนเอียงของผู้ทดลอง" (experimenter's bias) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบบการทดลองนี้เสี่ยงมากในสาขาจิตวิทยาและสังคมศาสตร์ที่ผู้ทำการทดลองมีความคาดหวังว่าผลอะไรจะเกิดขึ้น และอาจจะมีอิทธิพลที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจต่อพฤติกรรมของผู้ร่วมการทดลอง (Observer-expectancy effect)

ตัวอย่างคลาสสิก (ที่ไม่ดี) ของการทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียวอย่างหนึ่งก็คือ การทดสอบรสชาติของเป๊ปซี่ ผู้ทำการทดสอบซึ่งมักจะเป็นนักการตลาด เตรียมถ้วยน้ำอัดลมสองถ้วยเขียนป้ายไว้ว่า "ก" และ "ข"ถ้วยหนึ่งมีเป๊ปซี่ อีกถ้วยหนึ่งมีโคคา-โคล่าผู้ทดสอบรู้ว่าถ้วยไหนเป็นอะไร แต่รู้ว่าไม่ควรจะบอกให้ผู้รับการทดสอบรับรู้ผู้รับการทดสอบอาสาสมัครก็จะชิมน้ำอัดลมในถ้วยทั้งสองแล้วบอกว่า ตนชอบถ้วยไหนมากกว่าปัญหาในการทดสอบแบบอำพรางฝ่ายเดียวในกรณีนี้ก็คือ ผู้ทดสอบสามารถส่งสัญญาณที่ไม่ได้ตั้งใจที่มีอิทธิพลต่อผู้รับการทดสอบ (ดูคเลเวอร์แฮนส์)ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ทดสอบอาจจะสร้างความลำเอียงโดยเตรียมเครื่องดื่มโดยไม่ยุติธรรม(เช่น ใส่น้ำแข็งในถ้วยหนึ่งมากกว่า หรือว่าวางถ้วยหนึ่งไว้ใกล้ ๆ ผู้รับการทดสอบมากกว่า)ถ้าผู้ทดสอบเป็นนักการตลาดของบริษัทก็จะมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์เพราะรู้ว่า รายได้ในอนาคตของบริษัทขึ้นอยู่กับผลการทดสอบ

การทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย แก้

การทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (อังกฤษ: Double-blinded experiment) หมายถึงการทดลองที่วิธีการทดลองมีความเข้มงวดยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันความเอนเอียงที่เป็นอัตวิสัยบางครั้งโดยไม่รู้ตัว ที่มีในผู้ทำการทดลองและผู้ร่วมการทดลองงานทดลองแบบอำพรางสองฝ่ายงานแรกทำเพื่อตรวจสอบอาการทางจิตที่เรียกว่า shell shock (อาการช็อกจากลูกระเบิด) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1โดยมากแล้ว งานทดลองแบบนี้ถือว่า เข้มงวดและมีมาตรฐานที่ดีกว่าการทดลองเปิดและการทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียว

ในงานทดลองเช่นนี้ ทั้งผู้ทำการทดลองและผู้ร่วมการทดลองจะไม่รู้ว่า ผู้ร่วมการทดลองนั้นอยู่ในกลุ่มทดลองหรืออยู่ในกลุ่มควบคุมต่อเมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว หรือในบางครั้งต่อเมื่อทำการวิเคราะห์แล้ว ผู้ทำงานวิจัยจึงจะรู้ว่า ผู้ร่วมการทดลองอยู่ในกลุ่มไหนการทำงานทดลองโดยวิธีนี้สามารถลดอิทธิพลของความคาดหวังหรือสัญญาณที่ส่งโดยไม่รู้ตัว (เช่นที่มีใน ปรากฏการณ์ยาหลอก และปรากฏการณ์ความคาดหมายของผู้สังเกตการณ์)ที่บิดเบือนผลการทดลอง การจัดผู้ร่วมการทดลองให้อยู่ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยสุ่ม เป็นกระบวนการที่ขาดไม่ได้ในงานทดลองประเภทนี้และข้อมูลที่ใช้ว่าใครเป็นใคร อยู่ในกลุ่มไหน จะเก็บไว้โดยบุคคลที่สามและจะไม่มีการเปิดเผยต่อผู้ทำงานวิจัยจนกระทั่งงานวิจัยได้สำเร็จลงแล้ว

วิธีการทดลองเช่นนี้สามารถใช้ได้ต่อสถานการณ์ที่มีโอกาสว่า ผลการทดลองจะบิดเบือนไปเพราะความเอนเอียงที่จงใจหรือไม่ได้จงใจของนักวิจัย ผู้ร่วมการทดลอง หรือทั้งสองฝ่ายยกตัวอย่างเช่น ในงานทดลองสัตว์ ทั้งผู้ดูแลสัตว์และผู้ประเมินผลต้องไม่รู้ข้อมูลที่ปิด ไม่เช่นนั้นแล้ว ผู้ดูแลอาจจะทำการดูแลสัตว์โดยต่าง ๆ กันทำให้เกิดการบิดเบือนผล[9]

การทดลองที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์บางครั้งเรียกผิด ๆ ว่า เป็นการทดลองแบบอำพรางสองฝ่ายเพราะว่า ซอฟต์แวร์ไม่อาจที่จะทำให้เกิดความเอนเอียงโดยตรงเหมือนกับระหว่างผู้ทำการทดลองและผู้ร่วมการทดลองแต่ว่า วิธีการแสดงบทสำรวจต่อผู้ร่วมการทดลองผ่านคอมพิวเตอร์ สามารถทำให้เกิดความเอนเอียงขึ้นได้อย่างง่าย ๆตัวอย่างหนึ่งก็คือ เครื่องลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นระบบที่ดูเหมือนง่าย ๆ แต่ก็สามารถสร้างให้เกิดความเอนเอียงได้การทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะคล้ายกับผู้ทำการทดลองดังที่กล่าวมาแล้ว คือ มีส่วนของซอฟต์แวร์ที่ทำงานปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมการทดลองเหมือนกับผู้ทำการทดลองที่บอดข้อมูลในขณะที่ส่วนของซอฟต์แวร์ที่รู้ว่าผู้รับการทดลองเป็นใครอยู่ในกลุ่มไหน เป็นเหมือนกับบุคคลที่สามตัวอย่างประเภทหนึ่งก็คือบททดสอบ ABX test ซึ่งผู้ร่วมการทดลองต้องกำหนดตัวกระตุ้น X แล้วแสดงว่าเป็น A หรือ B

การทดลองแบบอำพรางสามฝาย แก้

การทดลองแบบอำพรางสามฝ่าย (อังกฤษ: Triple-blinded experiment) เป็นการขยายวิธีปฏิบัติของการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย คือ แม้แต่คณะกรรมการที่ตรวจสอบตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลก็ไม่รู้ว่า ข้อมูลมาจากผู้ร่วมการทดลองในกลุ่มไหนการทดลองประเภทนี้มีข้อดีทางทฤษฎีว่า คณะกรรมการจะสามารถประเมิณค่าตัวแปรที่เป็นผลได้อย่างเป็นกลางกว่าประเด็นปัญหาที่พยายามแก้โดยวิธีนี้ก็คือ การประเมินอิทธิผล (efficacy) และผลเสียหาย (harm) และการเรียกใช้การวิเคราะห์ในกรณีพิเศษ อาจจะเกิดความเอนเอียงถ้ารู้ว่าผู้ร่วมการทดลองอยู่ในกลุ่มไหนแต่ว่า ในงานทดลองที่คณะกรรมการผู้ตรวจสอบมีหน้าที่ทางจริยธรรมที่จะประกันความปลอดภัยให้กับผู้ร่วมการทดลองการใช้วิธีทดลองเช่นนี้อาจจะไม่สมควร เพราะว่า คณะกรรมการต้องคอยดูแลผู้ร่วมการทดลองอาศัยความเป็นไปและทิศทางของผลการทดลองนอกจากนั้นแล้ว ถ้าใช้วิธีการทดลองแบบนี้ กว่าคณะกรรมการจะได้ข้อมูลการทดลอง ภาวะฉุกเฉินที่เกิดกับผู้ร่วมการทดลองก็จะผ่านไปเรียบร้อยแล้ว[10]

การใช้งาน แก้

แพทยศาสตร์ แก้

การสร้างความบอดสองทางนั้นง่ายในงานศึกษายา โดยทำยาทดลองและยาควบคุม (จะเป็นยาหลอกหรือยาที่ใช้เปรียบเทียบก็ดี) ให้มีลักษณะเหมือนกัน เช่นโดยสีและรส เป็นต้นผู้ประสานงาน (study coordinator) จะจัดให้คนไข้อยู่ในกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยสุ่ม และจะกำหนดเลขประจำตัวให้แก่คนไข้และจะเข้ารหัสยาที่ให้กับคนไข้โดยเลขประจำตัวนั้นดังนั้น ทั้งคนไข้และผู้ทำงานวิจัยที่ตรวจผล ก็จะไม่รู้ว่าคนไข้อยู่ในกลุ่มไหน ไม่รู้ว่ากำลังรับยาทดลองหรือยาควบคุมจนกระทั่งงานวิจัยจบลงแล้ว และมีการไขรหัสเลขประจำตัวที่ให้กับคนไข้และยา

การทำงานวิจัยแบบอำพรางให้เสร็จบริบูรณ์นั้น อาจจะเป็นเรื่องยากในกรณีที่การรักษานั้นได้ผลอย่างชัดเจน(จริงอย่างนั้น มีงานวิจัยที่ต้องระงับไปในกรณีที่วิธีรักษาได้ผลดีจนกระทั่งมีการพิจารณาว่า ไม่ถูกจริยธรรมที่จะไม่บอกผลที่พบกับคนไข้กลุ่มควบคุม และกับประชาชนทั่วไป)[11][12] หรือในกรณีที่การรักษามีความเด่นและแปลก อาจจะเพราะรสชาติของยาก็ดี ผลข้างเคียงของยาก็ดี ที่ทำให้ผู้ทำงานวิจัย และ/หรือคนไข้ เดาได้ว่าคนไข้อยู่ในกลุ่มไหนนอกจากนั้นแล้ว กรณีที่ต้องเปรียบเทียบวิธีที่ใช้การผ่าตัดและวิธีที่ไม่ได้ใช้การผ่าตัดก็ยากที่จะทำโดยวิธีนี้ (แม้ว่า sham surgery ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบควบคุมคล้ายกับยาหลอก อาจจะพิจารณาได้ว่ายังถูกจริยธรรม)เกณฑ์วิธีทางคลินิก (clinical protocol) ที่ออกแบบมาดี จะทำให้สามารถเห็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้ล่วงหน้าได้ เพื่อที่จะทำการบอดข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ให้สังเกตว่า ถึงแม้จะมีข้อปฏิบัติที่เข้มงวดกวดขันเช่นนี้ในแบบการทดลองนี้ก็ยังมีข้อทักท้วงว่า ทัศนคติทั่ว ๆ ไปของผู้ทำการทดลอง เช่นความไม่มั่นใจหรือความกระตือรือร้นต่อวิธีการที่ทดสอบ ก็ยังสามารถสื่อไปถึงคนไข้ได้โดยไม่ได้ตั้งใจ[13]

ผู้ทำงานการแพทย์อาศัยหลักฐาน (Evidence-based medicine) จะชอบใจผลงานการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) มากกว่าถ้าสามารถใช้ RCT ได้ในประเด็นงานวิจัยนั้น ๆคือ เป็นผลการทดลองที่มีความเชื่อใจได้สูง มีแต่งานปริทัศน์แบบ meta-analysis เท่านั้น (ซึ่งรวมข้อมูลจากงานวิจัยแบบ RCT อื่น ๆ) ที่พิจารณาว่าน่าเชื่อถือมากกว่า[ต้องการอ้างอิง] และการทำการทดลองแบบอำพราง ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของ RCT

ฟิสิกส์ แก้

งานทดลองปัจจุบันของฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค มักจะมีนักวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากทำงานร่วมกันเพื่อจะดึงค่าข้อมูลต่าง ๆ จากข้อมูลสลับซับซ้อนที่รวบรวมได้โดยเฉพาะแล้วก็คือ ผู้วิเคราะห์ข้อมูลต้องการจะรายงาน systematic error (ความคลาดเคลื่อนเป็นระบบ) ในค่าที่วัดได้ทั้งหมดซึ่งยากที่จะทำหรือทำไม่ได้เลยถ้าความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นจากความเอนเอียงของผู้ทำงานวิเคราะห์เพื่อกำจัดความเอนเอียงนี้ ผู้ทำการทดลองต้องออกแบบการวิเคราะห์ให้เป็นแบบอำพรางคือจะมีการปิดผลการทดลองไม่ให้ผู้ทำการวิเคราะห์รู้จนกระทั่งได้ลงมติร่วมกันแล้วว่า เทคนิคการวิเคราะห์เหมาะสมแล้ว โดยขึ้นอยู่กับลักษณะต่าง ๆ ของข้อมูลที่ได้ และไม่ใช่ขึ้นกับค่าสุดท้าย

ตัวอย่างหนึ่งของการวิเคราะห์แบบอำพรางใช้ในการทดลองเกี่ยวกับนิวตริโน ที่ผู้ทำการทดลองต้องการรายงานค่านิวตริโนที่วัดได้ (N) ผู้ทำการทดลองมีความคาดหวังว่า ตัวเลขนี้ควรจะเป็นอะไร แต่ต้องทำการป้องกันความคาดหวังเช่นนี้เพื่อไม่ให้เกิดความเอนเอียง ดังนั้น เมื่อกำลังทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ ผู้ทำการทดลองจะเห็นค่าเป็นเศษส่วนของข้อมูลจริง ๆ เท่านั้น (เห็นค่า N' โดยมีค่าเศษส่วนที่ f ที่ผู้ทำการทดลองไม่รู้, ดังนั้น N' = N x f) และใช้ค่า N' ที่เห็นในการทำความเข้าใจต่าง ๆ เช่น signal-detection efficiencies, detector resolutions, และอื่น ๆ แต่เนื่องจากว่าผู้ทำการทดลองไม่มีใครรู้ค่าเศษส่วน f (ค่าบอด) ดังนั้น อิทธิพลของความคาดหวังต่อค่า N จึงเกิดขึ้นไม่ได้เพราะผู้ทำการทดลองรู้แต่ค่า N' เพราะฉะนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลจึงไม่ทำให้เกิดความเอนเอียงต่อค่า N ที่เป็นผลรายงานโดยที่สุด

นิติเวชศาสตร์ แก้

ในการชี้ตัวผู้ต้องสงสัยโดยรูป เจ้าหน้าที่ตำรวจจะแสดงรูปต่าง ๆ ให้พยานหรือผู้เสียหายดู แล้วให้เขาเลือกชี้ผู้ต้องสงสัยกระบวนการนี้จริง ๆ ก็คือการทดสอบแบบอำพรางฝ่ายเดียว (คือพยานไม่รู้ว่าใครที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสงสัย) เพื่อเช็คความจำของพยาน ซึ่งอาจจะได้รับอิทธิพลทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ดูคเลเวอร์แฮนส์)ปัจจุบันนี้ เริ่มมีขบวนการบังคับใช้กฎหมาย ที่ต้องการให้ใช้วิธีการชี้ตัวผู้ต้องสงสัยแบบอำพรางสองฝ่ายที่ให้เจ้าหน้าที่ผู้ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ต้องสงสัย แสดงภาพให้พยานชี้[14][15]

นักดนตรี แก้

ในประเทศตะวันตก เมื่อทดสอบความสามารถของนักดนตรีหรือนักร้องเพื่อเข้าวงดนตรี หรือเพื่อการประกวดแข่งขันเป็นต้น ก็เริ่มมีการใช้การทดสอบแบบอำพรางโดยใช้เป็นประจำคือ นักร้องนักดนตรีจะแสดงความสามารถหลังม่าน โดยมีจุดประสงค์ว่า รูปร่างลักษณะและเพศของตน จะไม่ทำให้เกิดความเอนเอียงต่อคณะกรรมการผู้ตัดสินความสามารถ

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ hemisphere ว่า "doubled blind cross-over study" ว่า "การศึกษาข้ามกลุ่มแบบอำพรางสองฝ่าย"
  2. Proffitt, Michael, บ.ก. (1989). Oxford English Dictionary. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-861186-8.
  3. 3.0 3.1 Holmes, Richard (2009). The Age of Wonder: How the Romantic Generation Discovered the Beauty and Terror of Science.แม่แบบ:Full
  4. "HOW EXPERIMENTATION IS DONE: HUMPHRY DAVY AND HIS NITROUS OXIDE EXPERIMENTS". Teaching Biology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-20. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  5. Fétis, François-Joseph (1868). Biographie Universelle des Musiciens et Bibliographie Générale de la Musique, Tome 1 (Second ed.). Paris: Firmin Didot Frères, Fils, et Cie. p. 249. สืบค้นเมื่อ 2011-07-21.
  6. Dubourg, George (1852). The Violin: Some Account of That Leading Instrument and its Most Eminent Professors... (Fourth ed.). London: Robert Cocks and Co. pp. 356–357. สืบค้นเมื่อ 2011-07-21.
  7. Daston, Lorraine (2005). "Scientific Error and the Ethos of Belief". Social Research. 72 (1): 18.
  8. Alder K (2006). Kramer LS, Maza SC (บ.ก.). A Companion to Western Historical Thought. The History of Science, Or, an Oxymoronic Theory of Relativistic Objectivity. Blackwell Companions to History. Wiley-Blackwell. p. 307. ISBN 978-1-4051-4961-7. สืบค้นเมื่อ 2012-02-11. Shortly after the start of the Cold War [...] double-blind reviews became the norm for conducting scientific medical research, as well as the means by which peers evaluated scholarship, both in science and in history.
  9. Aviva Petrie; Paul Watson (28 February 2013). Statistics for Veterinary and Animal Science. Wiley. pp. 130–131. ISBN 978-1-118-56740-1.
  10. Friedman, L.M.; Furberg, C.D.; DeMets, D.L (2010). Fundamentals of Clinical Trials. New York: Springer. pp. 119–132. ISBN 9781441915856.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. "Male circumcision 'cuts' HIV risk". BBC News. 2006-12-13. สืบค้นเมื่อ 2009-05-18.
  12. McNeil Jr, Donald G. (2006-12-13). "Circumcision Reduces Risk of AIDS, Study Finds". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-05-18.
  13. "Skeptical Comment About Double-Blind Trials". The Journal of Alternative and Complementary Medicine. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
  14. Psychological sleuths - Accuracy and the accused on apa.org
  15. "Under the Microscope - For more than 90 years, forensic science has been a cornerstone of criminal law. Critics and judges now ask whether it can be trusted". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-31. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

🔥 Top keywords: สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีหน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยอันดับโลกเอฟไอวีบีวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024พิเศษ:ค้นหาอสมทจังหวัดชัยนาทเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6วิษณุ เครืองามบางกอกคณิกาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัววอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)วอลเลย์บอลพระสุนทรโวหาร (ภู่)สรพงศ์ ชาตรีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราณี แคมเปน4 KINGS 2รอยรักรอยบาปพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ราชวงศ์จักรีประเทศไทยเขื่อนเจ้าพระยายูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024ณัฐณิชา ใจแสนเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาวอริยสัจ 4ประวัติศาสตร์รายชื่อเครื่องดนตรีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชวิทยุเสียงอเมริกาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติฝรั่งเศสมิลลิ (แร็ปเปอร์)อาณาจักรอยุธยาประวัติศาสตร์ไทย