กรุณา กุศลาสัย

กรุณา กุศลาสัย (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552) เป็นนักเขียนบทความและสารคดี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และภารตวิทยา กรุณาได้รับรางวัลศรีบูรพาปี พ.ศ. 2538, รางวัลนราธิปปี พ.ศ. 2544 และได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2546 ผลงานที่มีชื่อเสียงคือผลงานแปลกวีนิพนธ์ "คีตาญชลี" ของรพินทรนาถ ฐากูร และอัตชีวประวัติ ชื่อเรื่อง "ชีวิตที่เลือกไม่ได้"

กรุณา กุศลาสัย

ภาพบุคคลของกรุณา
ภาพบุคคลของกรุณา
เกิด10 พฤษภาคม พ.ศ. 2463
อำเภอปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
เสียชีวิต13 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (89 ปี)
กรุงเทพมหานคร
นามปากกาสามเณรไทยในสารนาถ
อาชีพนักเขียน
นักหนังสือพิมพ์
สัญชาติไทย
คู่สมรสเรืองอุไร กุศลาสัย
บิดามารดา(บิดา) เจ็ง โค้วตระกูล, (มารดา) เกียง โค้วตระกูล

ลายมือชื่อ

 สถานีย่อยโลกวรรณศิลป์

ประวัติ

แก้

กรุณา กุศลาสัย เดิมชื่อ นายกิมฮง แซ่โค้ว [1] เกิดในเรือกระแชง หน้าวัดตะแบก ตำบลแควใหญ่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ บิดามารดามีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว มีอาชีพค้าขายทางเรือ แต่เสียชีวิตเมื่อกรุณายังเด็ก จึงเติบมาโดยการเลี้ยงดูของน้าสาว เมื่อน้าสาวเสียชีวิตจึงได้ไปบวชเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2476 เมื่ออายุ 13 ปี ในโครงการ "พระภิกษุสามเณรใจสิงห์" ของพระโลกนาถ พระสงฆ์ชาวอิตาลี เพื่อนำภิกษุสามเณรจากประเทศไทย พม่า ศรีลังกา ไปศึกษาอบรมที่ประเทศอินเดีย

กรุณามีโอกาสได้ศึกษาภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และภาษาอังกฤษจนเชี่ยวชาญ สอบภาษาฮินดีได้ที่ 1 ของอินเดีย ได้รับทุนการศึกษาจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่ออายุเพียง 18 ปี [2] และเริ่มเขียนข่าวและบทความ ส่งมาตีพิมพ์ในประเทศไทย ในวารสาร ธรรมจักษุ พุทธศาสนา และ ประชาชาติ ใช้นามปากกา "สามเณรไทยในสารนาถ" จากนั้นได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวิศวภารติในเมืองศานตินิเกตัน รัฐเบงกอลตะวันออก เมื่อ พ.ศ. 2482

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สามเณรกรุณาถูกจับเป็นเชลยศึก เนื่องจากเป็นพลเมืองไทยซึ่งเป็นประเทศคู่สงครามกับอังกฤษในฐานะบริติชราช และถูกจองจำในค่ายกักกันที่นิวเดลีพร้อมทั้งพระโลกนาถและเฟื้อ หริพิทักษ์ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ในขณะนั้น กรุณาได้ลาสิกขาบท และพบรักกับโยโกะ โมริโมโตะ เชลยชาวญี่ปุ่นในค่ายเดียวกัน แต่ทั้งคู่ได้แยกจากกันหลังสงครามสงบ [3]

หลังสงคราม กรุณาเดินทางกลับประเทศไทย โดยไม่ศึกษาต่อให้จบ และทำงานเป็นครูสอนภาษาสันสกฤตและภาษาไทย ที่อาศรมวัฒนธรรมไทย–ภารต จากนั้นได้เป็นล่าม พนักงานแปล และเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ประจำสถานกงสุลอินเดีย (ต่อมาเป็นสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย) และเป็นผู้บรรยายวิชาธรรมภาคภาษาอังกฤษ ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ขณะทำงานอยู่ที่สถานทูตอินเดีย กรุณา กุศลาศัย เคยเป็นผู้แทนของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อเดินทางไปสร้างความสัมพันธ์กับประเทศจีน และเมื่อทำงานหนังสือพิมพ์ก็ได้เดินทางไปกับคณะผู้แทนการค้า ร่วมคณะกับสุวัฒน์ วรดิลก, กุหลาบ สายประดิษฐ์ และเพ็ญศรี พุ่มชูศรี แต่ครั้งหลัง เมื่อเดินทางกลับมาในปี พ.ศ. 2501 ภายหลังจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ทำการรัฐประหารในปีนั้น กรุณาถูกจับและคุมขังที่เรือนจำลาดยาว ด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พร้อมกับสังข์ พัธโนทัย และอารีย์ ภิรมย์ กรุณาต้องติดคุกอยู่เป็นเวลา 9 ปี จึงได้รับอิสรภาพ หลังจากล้มป่วยด้วยอาการทางสมอง และศาลอนุญาตให้ประกันตัว เพื่อไปรักษาตัวที่บ้าน และได้รับการถอนฟ้อง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2512 [3]

กรุณา กุศลาศัย สมรสกับ เรืองอุไร กุศลาสัย (สกุลเดิม: หิญชีระนันท์) เมื่อ พ.ศ. 2492 และเริ่มสร้างผลงานร่วมกันในนามปากการ่วม "กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย"

กรุณา กุศลาศัย ล้มป่วยด้วยโรคพาร์คินสัน และมีอาการของโรคสมองเสื่อม [4] จนกระทั่งเสียชีวิตด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลาประมาณ 17.00 น. สิริอายุ 89 ปี โดยบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาให้กับภาควิชากายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช รวมถึงได้กำชับไม่ให้นำร่างขนย้ายมาประกอบพิธีศพแต่ให้ใช้รูปถ่ายตนตั้งแทนหีบศพและไม่ให้พิธียาวเกิน 3 วัน และได้ขอให้ลงแจ้งความข่าวการเสียชีวิตในหนังสือพิมพ์รายวันเป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน ทั้งหมดนี้กรุณาระบุไว้ในจดหมายที่ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2529

ผลงานหนังสือ

แก้

ผลงานชิ้นสำคัญ เช่น

  • ภารตวิทยา: ความรู้เรื่องอินเดียทางวัฒนธรรม (2510)
  • มหากาพย์มหาภารตะ (2525, แปลจาก มหาภารตะ)
  • อินเดียในสมัยพุทธกาล (2532)
  • วัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-อินเดีย (2537)
  • พบถิ่นอินเดีย (2537, แปลจากงานเขียนของชวาหะร์ลาล เนห์รู)
  • อโศกมหาราชและข้อเขียนคนละเรื่องเดียวกัน (2539)
  • เหมือนหนึ่งนกที่จากรัง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

รายการต่อไปนี้ยังไม่สมบูรณ์ ท่านสามารถช่วยเพิ่มเติมได้

อ้างอิง

แก้
  1. กระทรวงมหาดไทย; กระทรวงศึกษาธิการ; คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ; กรมศิลปากร (1999). "บทที่ ๖ บุคคลสำคัญของจังหวัดนครสวรรค์". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. pp. 281–284. ISBN 974-419-287-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
  2. "คำเชิดชูเกียรติ นายกรุณา กุศลาสัย ศิลปินแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2008.
  3. 3.0 3.1 "กองทุนศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 เมษายน 2008. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2008.
  4. หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2550. ISSN 1686-8218.
  5. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (ศิลปินแห่งชาติ) เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๔ ข ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ หน้า ๑๖๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคลพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพิเศษ:ค้นหาพุ่มพวง ดวงจันทร์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปพระสุนทรโวหาร (ภู่)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลอสมทหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวสไปร์ท (แร็ปเปอร์)ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467อันดับโลกเอฟไอวีบีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคลศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลราชวงศ์จักรีอีดิลอัฎฮารัชทายาทโดยสันนิษฐานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย