กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (อังกฤษ: International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ ICCPR เป็นสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 สนธิสัญญานี้ให้คำมั่นสัญญาว่าภาคีจะเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของบุคคล ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการชุมนุม สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 กติการะหว่างประเทศนี้มีประเทศลงนาม 72 แห่งและภาคี 165 แห่ง[1]

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ภาคีและผู้ลงนามใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
  รัฐสมาชิก
  รัฐสมาชิกที่ลงนามแต่ไม่ได้ให้สัตยาบัน
  รัฐสมาชิกที่ถอนตัว
  รัฐที่ไม่ได้ลงนามและไม่ได้ให้สัตยาบัน
ประเภทข้อยุติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
วันร่าง1954
วันลงนาม16 ธันวาคม ค.ศ.1966[1]
ที่ลงนามสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ, นิวยอร์ก
วันมีผล23 มีนาคม ค.ศ.1976[1]
ผู้ลงนาม74[1]
ภาคี172[1]
ผู้เก็บรักษาเลขาธิการสหประชาชาติ
ภาษาฝรั่งเศส, อังกฤษ, รัสเซีย, จีน, สเปน[2]
วิกิซอร์ซ

ICCPR เป็นส่วนหนึ่งของ "ร่างกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ" ร่วมกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights หรือ ICESCR)[3]

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนี้ติดตามตรวจสอบโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee) (หน่วยงานต่างหากจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) ซึ่งได้แทนที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on Human Rights) ภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติใน พ.ศ. 2549) ซึ่งตั้งขึ้นอย่างถาวร เพื่อพิจารณารายงานตามกำหนดเวลา ที่ส่งเข้ามาโดยรัฐสมาชิกตามข้อตกลงในสนธิสัญญา สมาชิกของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนนั้นจะคัดเลือกโดยรัฐสมาชิก แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐใด ๆ

ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540[4]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "UN Treaty Collection: International Covenant on Civil and Political Rights". UN. 2009-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-12.
  2. Article 53 of the ICCPR
  3. "Fact Sheet No.2 (Rev.1), The International Bill of Human Rights". UN OHCHR. June 1996. สืบค้นเมื่อ 2008-06-02.
  4. ศัพท์นักการทูต เก็บถาวร 2007-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ รัฐบาลไทย

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: โฉมฉาย ฉัตรวิไลหน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024อสมทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตรฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024กัลย์กมล จิรชัยศักดิ์เดชาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอันดับโลกเอฟไอวีบีราชวงศ์จักรีมัณฑนา หิมะทองคำพระอภัยมณีทรีจี (วงดนตรี)ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลดราก้อน ไฟว์แกเร็ท เซาท์เกตพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโกปาอาเมริกาประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอริยสัจ 4อาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโกปาอาเมริกา 2024วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ประวัติศาสตร์ไทยนิราศภูเขาทองตารางธาตุวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2023ทวีปยุโรป