วิธีการ แก้ปัญหาหูฟังหลุดออกจากหู

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

หูฟังเป็นอุปกรณ์ที่ให้คุณสามารถฟังเพลงโปรดหรือรับชมสื่อต่างๆ ได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างการเดินทาง ขณะออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งเมื่อคุณไม่ต้องการให้เสียงดังรบกวนคนรอบข้าง อย่างไรก็ตาม การใช้หูฟังอาจสร้างความหงุดหงิดใจในบางครั้งเมื่อคุณต้องคอยนำหูฟังที่หลุดออกจากหูใส่กลับเข้าไปดังเดิม แน่นอนว่าหูของคนเรามีขนาดที่แตกต่างกันและคุณอาจจำเป็นต้องหาซื้อหูฟังใหม่สักอันหนึ่งที่มีขนาดพอดีกับรูหูของคุณ แต่ก่อนที่คุณจะลงทุนซื้อหูฟังอันใหม่ ลองทำตามเคล็ดลับง่ายๆ เหล่านี้เพื่อไม่ให้หูฟังอันเดิมของคุณหลุดออกจากหูเป็นประจำอย่างเคย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

แก้ปัญหาหูฟังไม่พอดีกับหู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คล้องสายหูฟังไว้เหนือใบหู.
    แทนที่จะปล่อยให้สายหูฟังห้อยลงมาจากรูหูตามปกติ ลองใส่หูฟังแบบ “คว่ำลง” และคล้องสายหูฟังไปทางด้านหลังใบหูของคุณแทน
    • คุณอาจรู้สึกแปลกๆ ในช่วงแรกหากคุณไม่เคยชินกับการใส่หูฟังแบบนี้ แต่วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้หูฟังหลุดออกจากหูทุกครั้งเมื่อสายหูฟังถูกดึงหรือกระตุก[1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดันหูฟังเข้าไปในรูหูให้แนบสนิทขึ้น.
    หูฟังที่คุณใช้ควรกระชับเข้ากับหูของคุณอย่างพอดี แต่หากหูฟังมีขนาดไม่พอดีกับหูเท่าไรนัก คุณอาจต้องลองดันหูฟังเข้าไปในช่องหูให้แนบสนิทขึ้น
    • ใช้มือข้างหนึ่งดึงติ่งหูลงมาเบาๆ เพื่อเปิดรูหูให้กว้างขึ้นในขณะที่ใส่หูฟังเข้าไป จากนั้นปล่อยมือเพื่อให้รูหูปรับรูปทรงให้เข้ากับหูฟังได้อย่างพอดีและแนบสนิท[2]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เปลี่ยนจุกหูฟังที่มาพร้อมกันในชุด.
    อย่ามองข้ามจุกหูฟังฟองน้ำหรือซิลิโคนที่มาพร้อมกันในชุด ทดลองใส่จุกหูฟังขนาดต่างๆ เพื่อหาอันที่มีขนาดพอดีกับช่องหูของคุณที่สุด ซึ่งคุณอาจจำเป็นต้องใช้จุกหูฟังทั้งสองข้างที่มีขนาดแตกต่างกันหากหูข้างหนึ่งของคุณมีขนาดที่ใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่งเล็กน้อย[3]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หาซื้อจุกหูฟังที่ออกแบบพิเศษ.
    คุณสามารถหาซื้อจุกหูฟังที่ออกแบบพิเศษเพื่อปรับขนาดหูฟังอันเดิมของคุณให้พอดีกับรูหูมากขึ้น โดยจุกหูฟังเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงที่แนบสนิทกับช่องหูมากกว่าเมื่อเทียบกับจุกหูฟังทรงกลมธรรมดาที่มาพร้อมกันในชุด หนึ่งในจุกหูฟังที่ได้รับความนิยมคือยี่ห้อ Yurbuds ซึ่งมีเนื้ออ่อนนุ่มและถูกออกแบบมาให้กระชับพอดีกับรูหูมากกว่าจุกหูฟังทั่วไป ทั้งยังสามารถสั่งทำเป็นพิเศษเพื่อให้มีขนาดที่พอดีกับช่องหูของคุณโดยเฉพาะ[4]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 งดการทำความสะอาดหูด้วยก้านสำลี.
    การสะสมของขี้หูเป็นสาเหตุทำให้หูฟังไม่แนบสนิทกับช่องหูของคุณและหลุดออกจากหูอยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ตาม การใช้ก้านสำลีในการกำจัดขี้หูกลับทำให้ขี้หูถูกดันลึกเข้าไปถึงเยื่อแก้วหูจนส่งผลให้เกิดการอุดตันและอาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายในขณะใส่หูฟัง ดังนั้นหลีกเลี่ยงการใช้ก้านสำลีและปรึกษาแพทย์หากคุณคิดว่าอาจมีการอุดตันของขี้หูเกิดขึ้น[5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

หาซื้อหูฟังที่พอดีกับหูของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เลือกใช้หูฟังที่มาพร้อมก้านคล้องหูสำหรับออกกำลังกาย....
    เลือกใช้หูฟังที่มาพร้อมก้านคล้องหูสำหรับออกกำลังกาย. หากคุณต้องการใช้หูฟังในระหว่างการออกกำลังกาย การใช้หูฟังรูปทรงกลมทั่วไปอาจไม่เหมาะสมเท่าไรนักแม้จะมีขนาดที่พอดีกับหูของคุณก็ตาม ดังนั้นลองลงทุนซื้อหูฟังสำหรับออกกำลังกายโดยเฉพาะที่มาพร้อมกับก้านคล้องหูและสายคาดศีรษะแบบโอบรอบ จึงช่วยให้คุณสามารถฟังเพลงในระหว่างการออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัยและไร้ปัญหาหูฟังหลุดออกจากหู
    • แม้ว่าหูฟังที่มาพร้อมกับก้านคล้องหลังใบหูจะได้รับความนิยมในหมู่ผู้ออกกำลังกาย ผู้ใช้บางคนอาจพบปัญหาการเสียดสีจนเกิดการถลอกที่ผิวหนังเมื่อใส่หูฟังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากคุณประสบปัญหาดังกล่าว ลองมองหาตัวเลือกอื่นๆ อย่างหูฟังที่มีขนาดพอดีกับหูที่เสริมด้วยเอียร์ฟินอันเล็กๆ หรือหูฟังไร้สายแทน[6]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 มองหาหูฟังแบบกันเหงื่อสำหรับออกกำลังกาย.
    หากคุณใส่หูฟังในขณะการออกกำลังกายอย่างหนักหรือในสภาพอากาศที่ร้อน เหงื่อที่ไหลออกมาอาจทำให้หูฟังลื่นหลุดออกจากหูได้ ลองมองหาหูฟังที่ระบุไว้บนกล่องว่า “Sweat-proof” หรือ “กันเหงื่อ” หากคุณคาดว่าอาจมีเหงื่อออกมากในระหว่างการใส่หูฟัง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เลือกซื้อหูฟังแบบกันน้ำสำหรับใช้ในทุกสภาพอากาศ....
    เลือกซื้อหูฟังแบบกันน้ำสำหรับใช้ในทุกสภาพอากาศ. หากหูฟังของคุณอาจมีโอกาสสัมผัสถูกน้ำ เช่น ในระหว่างการวิ่งระยะไกลหรือการเล่นกีฬาฤดูหนาว ควรเลือกซื้อหูฟังแบบกันน้ำเพื่อให้แน่ใจว่าหูฟังของคุณจะไม่หลุดออกจากหูจากความชื้นที่เกิดขึ้น
    • ลองเช็คดูระดับ IP (International Protection) หรือมาตรฐานการป้องกันระดับสากลที่ระบุไว้บนกล่องเพื่อให้แน่ใจว่าหูฟังของคุณได้รับการรับรองว่ามีคุณสมบัติกันน้ำหรือกันเหงื่อ เนื่องจากหูฟังบางยี่ห้ออาจมีการกล่าวอ้างคุณสมบัติดังกล่าวเกินจริง ตัวอย่างเช่น IPX4 เป็นระดับมาตรฐานของหูฟังสำหรับออกกำลังกายที่สามารถกันเหงื่อได้ (แต่ไม่กันน้ำ)
    • คุณยังสามารถเลือกซื้อหูฟังที่ใส่ได้แม้ในขณะว่ายน้ำซึ่งมีระดับการป้องกันน้ำสูงถึง IPX8
  4. How.com.vn ไท: Step 4 มองหาหูฟังไร้สายหากพบปัญหาการกระชากของสายหูฟัง....
    มองหาหูฟังไร้สายหากพบปัญหาการกระชากของสายหูฟัง. หากปัญหาหูฟังหลุดออกจากหูเกิดจากการที่สายหูฟังถูกดึงหรือเกี่ยวกับเสื้อผ้าหรือสิ่งของอื่นๆ คุณอาจลองเปลี่ยนไปใช้หูฟังไร้สายแทน แม้ว่าหูฟังไร้สายจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่หากคุณใช้หูฟังเป็นประจำ การตัดสินใจซื้อหูฟังไร้สายสักอันหนึ่งก็อาจเป็นการเป็นลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับคุณ ซึ่งในปัจจุบันมีหูฟังบลูทูธไร้สายให้เลือกซื้อหลายรุ่นหลายยี่ห้อตามความชื่นชอบของคุณ[7]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หาซื้อหูฟังที่ออกแบบสำหรับผู้ที่มีหูขนาดเล็ก....
    หาซื้อหูฟังที่ออกแบบสำหรับผู้ที่มีหูขนาดเล็ก. หากคุณลองทำตามทุกวิธีแล้วแต่ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาหูฟังหลุดออกจากหูได้ อาจเป็นเพราะว่าคุณมีรูหูที่เล็กกว่าปกติ ซึ่งในกรณีนี้คุณอาจจำเป็นต้องหาซื้อหูฟังที่ออกแบบสำหรับผู้ที่มีหูขนาดเล็กโดยเฉพาะ
    • สาวๆ โดยส่วนใหญ่มักมีหูที่มีขนาดเล็กกว่าคนทั่วไปซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้หูฟังไม่สามารถใส่เข้าไปในช่องหูได้อย่างแนบสนิทเต็มที่ ดังนั้นจึงมีหูฟังหลายยี่ห้อที่มาพร้อมกับจุกหูฟังขนาดเล็กพิเศษหรือกระทั่งระบุว่าออกแบบมาสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ[8]
    • หูของบางคนอาจไม่มีกระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่รอบหูฟัง ซึ่งในบางครั้งอาจเรียกความผิดปกตินี้ว่า Ear Cartilage Deficiency Syndrome ดังนั้นหากคุณมีปัญหาในการใส่หูฟังอยู่เสมอ คุณอาจจำเป็นต้องตรวจสอบดูหูของคุณอย่างละเอียดเพื่อดูว่ามีความผิดปกติดังกล่าวหรือไม่และหาซื้อหูฟังที่มีอุปกรณ์เสริมพิเศษอย่างเช่นก้านคล้องหู[9]
    โฆษณา

คำเตือน

  • หลีกเลี่ยงการฟังเพลงผ่านหูฟังด้วยระดับเสียงที่ดังจนเกินไปหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะไม่ว่าหูฟังจะมีขนาดที่พอดีหรือคุณภาพที่ดีเพียงใด แต่การใช้งานหูฟังมากจนเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการได้ยินหรือกระทั่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียความสามารถทางการได้ยินได้[10]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 35,321 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,321 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา