ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ทัศนคติในการทำงานมีบทบาทสำคัญต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการปฏิบัติงาน ทัศนคติเชิงบวกช่วยให้ประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน แต่ทัศนคติเชิงลบนั้นให้ผลตรงข้าม เพื่อนร่วมงานและลูกค้าไม่อยากร่วมงานกับพนักงานที่มีทัศนคติแย่ การมีทัศนคติเชิงบวกสามารถทำให้เราสนุกกับการทำงานมากขึ้น และรู้สึกดีขึ้นกับตนเอง ฉะนั้นถ้าไม่มีทัศนคติเชิงบวก ลองเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อพัฒนาประสบการณ์การทำงานดูสิ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

หาสาเหตุให้พบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาให้พบว่าทัศนคติแย่ๆ นี้เริ่มมีขึ้นเมื่อไร....
    หาให้พบว่าทัศนคติแย่ๆ นี้เริ่มมีขึ้นเมื่อไร. มีทัศนคติแย่ๆ ต่อการทำงานเสมอไหม บางทีทัศนคติอาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไม่นานมานี้ ทัศนคติอาจเปลี่ยนเมื่อเพิ่งเริ่มงานหรือตำแหน่งใหม่ เมื่อหน้าที่การงานเกิดเปลี่ยนแปลง เมื่อมีผู้จัดการคนใหม่เข้ามา เมื่อเพื่อนร่วมงานที่เราชื่นชอบออกจากงาน เมื่อเรารู้สึกเหมือนตนเองไร้ญาติขาดมิตรในที่ทำงาน หรือเมื่อบริษัทของเราจัดระบบองค์กรใหม่ และเราปรับตัวไม่ทัน การรู้ว่าทัศนคติแย่ๆ เกิดขึ้นเมื่อไรช่วยเราหาสาเหตุได้
    • ถ้าไม่เคยมีทัศนคติแย่ๆ ต่อการทำงานเลย อาจเป็นไปได้ว่าปัญหานี้ไม่ได้เกิดเพราะเราฝ่ายเดียว ไม่มีใครไม่เคยติดต่อพูดกับผู้คนหรอก คนอย่างหัวหน้าที่ชอบข่มแหงลูกน้องและเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดีก็มีอิทธิพลต่อทัศนคติการทำงานมากทีเดียว
    • ถ้าเคยสนุกกับการทำงาน แต่ตอนนี้รู้สึกไม่ดีกับมัน ลองคิดสิว่ามีอะไรเปลี่ยนไป เราถูกย้ายไปทำงานตำแหน่งใหม่หรือเปล่า จึงอาจรู้สึกว่าตนเองยังไม่เหมาะกับหน้าที่ใหม่นี้ เราไม่เหมือนเดิมหรือเปล่า ตัวอย่างเช่น ตอนเป็นวัยรุ่นอาจสนุกกับงานขายปลีก แต่พอทำไปได้สิบปีก็อยากหางานที่ให้อะไรเรามากกว่างานขายปลีกที่ทำอยู่นี้ การรู้สึกไม่พอใจหรือไร้จุดหมายก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการทำงานเช่นกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 บันทึกความคิดที่เข้ามาแต่ละเวลา.
    หมั่นเขียนบันทึกเรื่องทัศนคติต่อการทำงาน บันทึกความคิดที่เข้ามาแต่ละเวลาตลอดวัน บันทึกทุกสองสามชั่วโมง หรือราวๆ นั้น สังเกตเห็นแนวโน้มอะไรไหม เรามักจะมีทัศนคติที่ไม่ดีในตอนเช้าหรือตอนบ่าย เมื่อรู้สึกเหนื่อยไหม ทัศนคติเราเปลี่ยนตามคนที่เราประชุมด้วยไหม ทัศนคติของเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ มีผลกระทบต่อเราเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าทุกบ่ายมีประชุมกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี คนพวกนี้อาจมีผลกระทบต่อทัศนคติของเรา การรู้ตัวว่าอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแต่ละวันสามารถช่วยเราหาว่าทัศนคติที่ไม่ดีเกิดขึ้นตอนไหนและกับใคร
    • ถ้าเกิด “หมดพลังตอนกลางวัน” และอารมณ์ไม่ดี มีทางแก้ไขอย่างง่ายๆ คือลุกขึ้นไปเดินเล่นสักพัก หรือกินของว่างที่ดีต่อสุขภาพ
    • ถ้าสังเกตเห็นว่าตนเองรู้สึกแย่บ่อยๆ หลังพูดคุยกับคนคนหนึ่ง อย่างเช่น เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงาน แสดงว่าเราจะต้องเอาใจใส่กับปัญหานี้เสียแล้ว การลงมือทำโดยคำนึงถึงอิทธิพลด้านลบในที่ทำงานช่วยเราให้รู้สึกมีความสุข และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น[1]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใคร่ครวญความรู้สึกตนเอง.
    คราวนี้รู้แล้วว่าทัศนคติที่ไม่ดีเริ่มเกิดขึ้นเมื่อไร และเกิดขึ้นบ่อยตอนไหน ลองคิดสิว่าช่วงเวลาที่เกิดทัศนคติที่ไม่ดีเหล่านี้ เรารู้สึกอย่างไร เขียนลงไปว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อเกิดทัศนคติเชิงลบ อาจกำลังรู้สึกหงุดหงิด เหนื่อย เบื่อหน่าย หรือต่ำต้อย การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกตนเองเป็นกุญแจสำคัญลงมือในการแก้ปัญหา
    • ตัวอย่างเช่น ลองนึกภาพเราอ่านข้อความที่บันทึกไว้ว่า “หัวหน้าตวาดฉันที่ส่งงานล่าช้า ฉันรู้สึกพูดไม่ออกเลยและรู้สึกว่าตนเองโง่เง่า” เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าเราควรพูดกับหัวหน้า ขอให้เขาพูดกับเราดีกว่านี้ และยังควรจำไว้ด้วยว่าการทำอะไรผิดพลาดบางครั้งไม่ได้หมายความว่าเราโง่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

ปลดปล่อยทัศนคติเชิงลบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รับผิดชอบทัศนคติของตน.
    ถึงแม้สถานการณ์ที่เราประสบมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเรา แต่เราก็สร้างทัศนคติจากวิธีการที่เราใช้แก้ไขสถานการณ์ได้ เราเป็นคนเดียวที่จะตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ประสบอย่างไร จงระลึกไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นจากตนเองเป็นก้าวแรกที่จะปรับปรุงทัศนคติของตนเอง[2]
    • ตัวอย่างเช่น ถึงแม้เราจะมีหัวหน้าที่แย่ หรือเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี แต่เราก็ยังสามารถเลือกที่จะตอบสนองในทางที่ดีหรือไม่ดีได้ เราจะเพิ่มปัญหา หรือจะลงมือแก้ปัญหา
    • ทัศนคติเชิงลบสามารถแพร่จากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งได้[3] อย่าปล่อยให้ตนเองเป็นคนแพร่เชื้อ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดวามรู้สึกด้านลบ....
    หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดวามรู้สึกด้านลบ. เรามักเกิดความรู้สึกไม่ดีเมื่ออ่านหนังสือพิมพ์แล้วเจอข่าวร้าย การดูข่าวอุบัติเหตุในตอนเช้าทำให้เรารู้สึกแย่ เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดี ลองค่อยๆ ออกห่างจากสิ่งเหล่านี้[4]
    • ถ้าไม่สามารถออกห่างจากสิ่งที่ก่อให้เกิดทัศนคติเชิงลบได้ ให้เปลี่ยนปฏิกิริยาที่มีต่อสิ่งเหล่านี้ เมื่อเราได้ดูข่าวร้ายอย่างเกิดภัยพิบัติในต่างประเทศ ให้คิดว่าจะช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างไรแทน เราสามารถบริจาคเงิน เสื้อผ้า อาหาร หรือสละเวลาไปช่วยเหลือพวกเขาได้ไหม ใช้การกระทำที่ก่อให้เกิดผลดีตอบสนองต่อสิ่งที่ก่อให้เกิดทัศนคติเชิงลบ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ลดการปฏิสัมพันธ์กับคนที่ให้ก่อให้เกิดทัศนคติเชิงลบ....
    ลดการปฏิสัมพันธ์กับคนที่ให้ก่อให้เกิดทัศนคติเชิงลบ. ถ้าเรามีเพื่อนร่วมงานที่มักจะทำให้เราทุกข์ใจ ให้ลองถอยห่างจากเขาเสีย[5] ถ้าหลีกเลี่ยงการพบเจอไม่ได้ ลองตั้งคำถามที่ก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวกกับเขา ถามเขาว่างานวันนั้นดำเนินไปด้วยดีไหม ชอบหนังเรื่องอะไร พยายามชักนำการสนทนาให้พูดแต่เรื่องดีๆ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พูดดีๆ.
    ถึงแม้อยากจะดุด่าว่ากล่าวเสียเหลือเกิน เมื่อต้องพูดคุยกันเรื่องปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะถ้าเรื่องที่พูดเป็นปัญหาร้ายแรงด้วยแล้ว แต่การพูดจาไม่ดียิ่งทำให้เรื่องราวร้ายแรงขึ้นไปอีก ลองใช้วิธีดังต่อไปนี้แทน[6]
    • แทนที่จะพูดว่า “ไม่เข้าท่า ไม่ได้ผลหรอก” ให้พูดว่า “ฉันมีเรื่องอยากคุยด้วย ช่วยรับฟังหน่อยนะ”
    • แทนที่จะใช้การดื้อเงียบ คือพูดอ้อมค้อม หรือพูดจาเหน็บแหนม ลองพูดตรงๆ ไปเลย ตัวอย่างเช่น อย่าพูดว่า “ให้ตายเถอะ ทำไมฉันถึงต้องมาเจอปัญหานี้นะ” ถ้าเราหงุดหงิด ให้พูดว่า “ฉันยอมรับว่าไม่พอใจสิ่งที่เธอพูดต่อหน้าเพื่อนร่วมงานฉัน มาพูดคุยกันแบบเปิดอกดีไหม”
    • เรื่องซุบซิบนินทาในที่ทำงานเป็นปัญหาใหญ่ที่มีส่วนก่อให้เกิดทัศนคติเชิงลบ อย่าไปเข้าร่วมวงซุบซิบเลย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรากฏตัวด้วยความสดใสร่าเริง.
    ทักทายผู้คนด้วยความร่าเริงสดใส และถึงแม้กำลังประสบกับวันที่เลวร้าย ก็พยายามอย่าเอาความสลดหดหู่มาแพร่ที่ทำงาน รู้จักระวังคำพูด อะไรที่เราพูดจะสะท้อนความรู้สึกและความเชื่อของเราออกมา ปรับคำพูดของเราให้เป็นคำพูดที่เสริมสร้างกำลังใจในที่ทำงาน จงยิ้ม ชมเชย และช่วยเหลือคนอื่น [7]
    • ถ้าเรากำลังประสบกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก หรือกำลังประสบกับเหตุการณ์ที่น่าเศร้าใจ ให้คุยกับหัวหน้าหรือเพื่อร่วมงานที่เราไว้ใจเพื่อให้เขารู้ว่าเราอาจต้องการความช่วยเหลือ [8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เข้าหาเพื่อนร่วมงานที่มีปัญหา.
    ถ้าทัศนคติเชิงลบของเพื่อนร่วมงานทำให้เราทุกข์ใจ ลองเข้าหาเขาอย่างมีไมตรี การกระทำของเขาอาจทำให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นไม่สบายใจเช่นกัน แต่ไม่มีใครสะดวกใจที่จะพูดปัญหานี้ [9]
    • หมั่นใช้คำพูดโดยเน้นคำว่า “ฉัน” อย่างเช่น “ฉันอยากพูดอะไรกับเธอสักอย่างหน่อย ฉันสังเกตเห็นว่าช่วงหลังๆ มานี้เธอเอาแต่บ่นเรื่องลูกค้า ฉันรู้ว่าเราต่างก็หงุดหงิดเรื่องลูกค้า แต่การพูดแต่เรื่องที่ไม่ดีทำให้ฉันคิดอะไรดีๆ ไม่ออก และหมดเรี่ยวแรงทำงาน เธออยากเล่าให้ฉันฟังไหมว่าเกิดอะไรขึ้น” การใช้ถ้อยคำที่เน้นคำว่า “ฉัน”เป็นการหลีกเลี่ยงการกล่าวโทษหรือการตัดสินการกระทำคนอื่น และป้องกันไม่ให้เพื่อนร่วมงานหาข้ออ้างมาแก้ตัว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ฟังว่าเพื่อนร่วมงานพูดว่าอะไร.
    เราไม่รู้ว่าเกิดเรื่องอะไรขึ้นกับเพื่อนร่วมงานของเรา ฉะนั้นฟังเขาอธิบาย แม่ของเพื่อนอาจล้มป่วย จึงยิ่งทำให้เขากังวล เขาอาจกำลังกังวลเรื่องทำงานได้ต่ำกว่าที่กำหนด หรือไม่รู้สึกว่าตนเองมีค่าในฐานะสมาชิกของทีม การเข้าใจที่มาของทัศนคติเชิงลบช่วยให้เราทำงานร่วมกันเพื่อลดทัศนคตินี้ให้ต่ำลง ในหลายกรณี เพื่อนร่วมงานของเราอาจดีใจเสียด้วยซ้ำที่มีใครรับฟังเขา[10]
    • ใช้ถ้อยคำแสดงความเห็นอกเห็นใจ อย่างเช่น “ดูท่าเธอจะเจอเรื่องยากลำบากมาสินะ ” หรือ “ฉันเห็นใจเธอนะที่ต้องมาประสบพบเจอเรื่องแบบนี้”
    • ถึงแม้การพูดคุยกันจะไม่ราบรื่น แต่เราก็ได้พยายามแก้ปัญหาแล้ว ถ้าเราต้องนำเรื่องนี้ขึ้นไปที่ฝ่ายบุคคล หรือเจ้านาย เราก็สามารถพูดได้ว่าพยายามทำงานร่วมกับคนอื่นแล้ว แต่ไม่สำเร็จ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รู้ว่าหัวหน้าเป็นคนชอบข่มแหงหรือเปล่า.
    ทุกคนอาจพบเจอกับวันที่เลวร้ายบ้าง เราอาจพบคนที่เป็นอันธพาลในที่ทำงาน ถ้าเจ้านายเป็นคนชอบข่มแหง หรือวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ไม่เป็นเลย ก็ยิ่งทำให้เรามีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานได้ยาก
    • พฤติกรรมข่มแหงซึ่งไม่อาจยอมรับได้ คือ ข่มขู่ คุกคาม พูดเท็จ เหยียดหยาม วิจารณ์ส่วนบุคคล หรือด่าว่า และก้าวร้าว ถ้าพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเสมอ รุนแรงมากถึงขั้นเอารัดเอาเปรียบ เราอาจต้องฟ้องร้อง [11]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเจ้านายวิจารณ์งานของเราด้วยการบอกว่า “เขียนได้แย่มาก! ยายฉันยังเขียนรายงานได้ดีกว่าเลย!” ให้รู้ไว้ว่านี้เป็นการแสดงพฤติกรรมข่มแหง แต่การพูดแค่นี้ไม่เพียงพอที่จะฟ้องร้องได้
    • บางครั้งหัวหน้าก็ไม่มีทักษะในการสื่อสารเอาเสียเลย ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวหน้าของเราวิจารณ์งานว่า “เขียนแย่นะ แก้ซะ” การกล่าวแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นพฤติกรรมข่มแหงก็ได้ แต่ก็ไม่มีประโยชน์อยู่ดี อีกทั้งทำให้รู้สึกไม่ดีต่อตนเองด้วย ถ้าคิดว่าการสื่อสารแบบหัวหน้าอาจเป็นประโยชน์กับงานบางงาน การเข้าหาหัวหน้าเพราะเห็นประโยชน์ข้อนี้ก็เป็นความคิดที่ดีเหมือนกัน[12]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 พูดคุยกับหัวหน้า.
    การมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก ถ้าหัวหน้าชอบข่มแหงเราหรือคนอื่น เราอาจกลัวที่จะเข้าไปหาหัวหน้า อีกทั้งหัวหน้าที่ไม่ดีนั้นทำให้เรามีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และทำให้เราวิตกกังวล[13] ตั้งสติเพื่อให้มีพลังเมื่อต้องเข้าพบหัวหน้า จงสุภาพ รู้จักกาลเทศะ และเอาใจเขามาใส่ใจเรา
    • ร่วมมือกันแก้ปัญหา[14] จำไว้ว่าหัวหน้าของเราอาจไม่รู้ตัวว่าเธอมีปัญหา และอาจไม่ตั้งใจทำร้ายใคร ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “ฉันมีปัญหาด้านการทำงาน ขอเข้าพบหัวหน้าเพื่อพูดคุยถึงทางการแก้ปัญหาได้ไหม”
    • หาสิ่งที่เห็นตรงกัน ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า“ฉันทราบว่าเราก็ต่างอยากให้งานออกมาดีที่สุด” หัวหน้าจะได้รู้ว่าทั้งเราและเขาต่างก็มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเดียวกัน [15]
    • พูดตรงๆ ด้วยความเคารพยำเกรง ให้ใช้คำพูดที่เน้นคำว่า “ฉัน” อาจพูดว่า “ฉันสามารถทำงานที่มีความเห็นชัดเจนและเป็นรูปธรรมได้ดีกว่างานที่มีความเห็นกว้างๆ หัวหน้าจะช่วยให้คำแนะนำเรื่องรายงานของฉันแบบเจาะจงลงไปมากกว่านี้ได้ไหม ฉันจะได้นำคำแนะนำนั้นไปใช้เป็นแนวทางเขียนรายงานออกมาให้ดีที่สุด”
    • พูดออกไปตรงๆ ถ้าหัวหน้าพูดจาดูถูก พูดจาหาเรื่อง หรือพูดจาทำร้ายจิตใจ ให้ฟังไว้ อย่าเพิ่งไปตัดสิน ตัวอย่างเช่น อาจลองพูดว่า “ฉันรู้สึกเจ็บปวดจริงๆนะ ที่หัวหน้าตวาดฉันต่อหน้าเพื่อนร่วมงานสัปดาห์ที่แล้ว ถ้าหัวหน้าจะช่วยพูดเรื่องที่ฉันควรปรับปรุงเป็นการส่วนตัว จะช่วยได้มากเลย” พูดความรู้สึกของเราออกมาตรงๆ ชัดเจน แต่สุภาพ การพูดแบบนี้อาจช่วยให้หัวหน้าเราปฏิบัติตัวกับเราได้ดีขึ้น
    • ไม่ทำพฤติกรรมดื้อเงียบ ถึงแม้ผลการศึกษาชี้ว่าการดื้อเงียบก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยก็ตาม แต่พฤติกรรมดื้อเงียบไม่ทำให้เราสามารถสื่อสารความต้องการและความปรารถนาในใจให้หัวหน้ารับรู้ได้ [16]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ขอโทษคนอื่น.
    ถ้าทัศนคติเชิงลบของเรามีผลกระทบต่อสมาชิกในทีม ให้ขอโทษพวกเขา เล่าให้สมาชิกฟังว่าเรากำลังอยู่ในช่วงที่ยากลำบาก แต่ก็พยายามทำให้ดีขึ้นอยู่ ขอความร่วมมือจากผู้อื่น เมื่อพวกเขาได้ฟังเรื่องราวที่ก่อให้เกิดทัศนคติเชิงลบจากเรา เขาจะได้หยุดเราได้
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “สวัสดี ทุกๆ คน พวกคุณคงเห็นว่าช่วงนี้ฉันเอาแต่บ่นเรื่องบริษัทและเรื่องชั่วโมงการทำงานของเราตลอด ขอโทษที่ทำให้ทุกคนหมดกำลังใจ จริงๆ แล้วฉันก็รู้ว่าบริษัทของเราคำนึงถึงผลประโยชน์ของพนักงานมาก และคอยช่วยเหลือเรา ฉันเองก็รู้สึกซาบซึ้งใจเรื่องนี้ ฉันจะพยายามมองอะไรในแง่ดีมากขึ้นตั้งแต่นี้ไป!”
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

พยายามสร้างทัศนคติเชิงบวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ระดมสมองหาวิถีทางต่างๆ.
    เมื่อพบว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดทัศนคติเชิงลบแล้ว ก็หาวิถีทางที่เราทำได้เพื่อแก้ไขสาเหตุนั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดทัศนคติเชิงลบเพราะรู้สึกเหนื่อย ลองงีบหลับตอนช่วงอาหารกลางวันหรือช่วงพัก ถ้างานของเราไม่ท้าทายพอและรู้สึกเบื่อ ขอให้หัวหน้ามอบหมายงานใหม่ๆ ให้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาทางสร้างกรอบความคิดเชิงบวก.
    สิ่งที่คิดสะท้อนความรู้สึก ถ้าอยากควบคุมทัศนคติ ให้ระวังสิ่งที่คิด [17] คิดถึงแต่สิ่งที่ดี ขจัดความคิดเชิงลบด้วยการพยายามสร้างเสียงภายในใจที่อยู่พูดแต่สิ่งดีๆ [18]
    • ตัวอย่างเช่น เมื่อรู้สึกหงุดหงิดเพราะมีคนนั่งกินที่บนรถไฟใต้ดิน ให้คิดว่าโชคดีแล้วที่ได้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ คิดว่าโชคดีแล้วที่ไม่ต้องขับรถฝ่าฝน หรือประสบปัญหารถติดตอนไปทำงาน
    • เตือนตนเองให้คิดบวกช่วงที่เครียดในแต่ละวัน ตัวอย่างเช่น ก่อนเริ่มเดินทางไปทำงาน หรือก่อนเริ่มประชุมใหญ่ ให้คิดว่าทุกอย่างจะเป็นไปอย่างราบรื่น ระวังความคิดลบอย่างเช่น “เฮ้อ! ฉันไม่อยากเข้าประชุมเลย คุณอลิสาคิดหาเรื่องติฉันอยู่เรื่อย” ลองเปลี่ยนเป็นคิดว่า “ฉันอยากได้ยินว่าคุณอลิสาจะพูดอะไรเรื่องการนำเสนองานของฉัน ฉันคิดว่าความเห็นของเธอน่าจะเป็นประโยชน์ได้นะ”
    • ต้องฝึกคิดบวกบ่อยๆ อย่าหงุดหงิดถ้าเกิดบางครั้งวกกลับไปคิดลบอีก
    • การไม่แสดงความยินดียินร้ายเสริมสร้างการคิดบวก แต่ก็ทำให้เราเห็นภาพเหตุการณ์กรณีที่เลวร้ายที่สุดเมื่อเราตกอยู่ในช่วงคิดลบ ปกติแล้วเราสามารถรับมือได้มากกว่าที่คิด ลองอ่านเทคนิคการไม่แสดงความยินดียินร้ายดูสิ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แสดงการขอบคุณ.
    ลองเขียนสิ่งที่เราอยากขอบคุณ เขียนลักษณะบุคลิกภาพที่เป็นข้อดีของเราและเพื่อนที่เราอยากขอบคุณ เน้นเขียนสิ่งที่เราอยากขอบคุณ[19]บอกคนอื่นออกมาดังๆ ลองเขียนดูก่อนนอน คิดถึงสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในวันนั้น[20]
    • เปลี่ยนทัศนคติที่ไม่ดีด้วยการหาสิ่งดีๆ ที่อยู่ในนั้น เมื่อมาไม่ทันประชุมเพราะมีการสร้างถนน ให้เปลี่ยนทัศนคติเสีย แทนที่จะหงุดหงิดเพราะรถติด ให้ลองหาข้อดีของการรถติด สำรวจสิ่งรอบตัว และคิดถึงข้อดีของสิ่งเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น เราอาจคิดว่าตนเองโชคดีที่มีสุขภาพดี มีภาวะที่เป็นสุขทางใจ มีร่างกายที่แข็งแรง มีเพื่อนที่รู้ใจ และครอบครัวที่อบอุ่น หรือโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม [21]
    • รู้ว่าตัวเราต่ำต้อยเพียงใดและการมีชีวิตนั้นมหัศจรรย์แค่ไหน คิดว่าชีวิตเป็นของขวัญมากกว่าคิดว่าชีวิตเป็นสิทธิที่ควรได้[22]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กล่าวสิ่งดีๆ กับตนเอง.
    เรียบเรียงความคิดตนเองใหม่ตลอดวันด้วยการพูดสิ่งดีๆ กับตนเอง สร้างประโยคที่กล่าวถึงจุดแข็งของตนเอง สร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจให้ตนเอง ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “วันนี้ฉันจะใช้ความรู้ด้านไอทีพัฒนาเว็บไซต์ของเรา ฉันต้องมานะบากบั่นเพื่อทำให้งานออกมาดีที่สุด” ถ้าเราพูดกับตนเองหลายครั้งทุกวัน เราก็สามารถฝึกจิตใต้สำนึกให้คิดบวก ส่งการตอบสนองเชิงบวกถึงจิตใต้สำนึก เราจะกระตุ้นความรู้สึกเชิงบวกที่ผลักดันให้เกิดการกระทำ
    • หมั่นพูดแต่สิ่งที่เราควบคุมได้ ถ้าพูดเรื่องดีๆ กับตนเอง แต่เป็นเรื่องที่ต้องให้ผู้อื่นเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้สนอง วิธีการนี้ก็อาจไม่ได้ผล เพราะเราไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมคนอื่นได้นอกจากพฤติกรรมตัวเราเอง[23]
    • ตัวอย่างการพูดกับตนเองแบบไม่ช่วยอะไรเลยเช่น “ทุกอย่างต้องเป็นไปอย่างดีเยี่ยมแน่วันนี้!” เราควบคุมทุกอย่างไม่ได้ เพื่อนร่วมงานของเราอาจกำลังพบวันที่เลวร้าย อาจเปิดไฟล์งานสำคัญไม่ได้ เราอาจเผลอบ้วนอาหารใส่ตนเอง แต่ถ้าเราพูดกับตนเองว่า “วันนี้ฉันเข้มแข็งพอที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งวัน” ให้เราเน้น “ตนเอง”เป็นหลักในเรื่องที่เราทำได้ จะมีประโยชน์กว่า
    • สำหรับบางคน การขจัดความคิดด้านลบอาจไม่เป็นผลดีเลย ถ้าเกิดกรณีแบบนี้ ให้รับรู้ความคิดด้านลบนั้นและก้าวเดินต่อไป รู้ตัวว่าไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ยังเป็นคนที่มีข้อดี
  5. How.com.vn ไท: Step 5 นึกภาพว่าตนเองมีทัศนคติที่ดีขึ้น.
    ตนเองดูเป็นอย่างไร กำลังยิ้ม หรืออยากผูกไมตรีกับผู้อื่นใช่ไหม การศึกษาทางจิตวิทยาเรื่องความสามารถที่แสดงออกมาได้ดีที่สุดชี้ให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จ อย่างเช่น เนลสัน แมนเดลา ใช้การนึกภาพเพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถ นึกภาพว่าตนเองมีทัศนคติที่ดี ก็จะทำให้ตนเองเชื่อว่าเรามีทัศนคติที่ดีเช่นกัน[24]
    • นึกภาพให้ละเอียดมากเท่าที่จะเป็นไปได้ ยิ่งละเอียดเราก็ยิ่งจะใช้ภาพนั้นขับเคลื่อนตนเองไปสู่เป้าหมายได้
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

นำทัศนคติมาใช้ในที่ทำงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นำมาใช้ทำงานจริง.
    มีภาพในใจชัดเจนว่าการทำงานควรจะเป็นอย่างไร ยอมรับว่างานบางงานอาจน่าทำน้อยกว่างานอื่น ตั้งเป้าหมายทำงานเหล่านี้ด้วยทัศนคติเชิงบวก ให้รางวัลตนเองเป็นกาแฟสักถ้วย หรือให้รางวัลตนเองหลังจากทำงานที่น่าเบื่อหน่ายแต่ต้องใช้เวลานานเสร็จแล้ว
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตั้งเป้าหมายให้ตนเอง.
    คำนึงถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง เน้นทำงานที่เหมาะกับรูปแบบการทำงานของตนเองให้สำเร็จ ถ้ามีเป้าหมายทำโครงการใหญ่ให้สำเร็จ แตกเป้าหมายใหญ่เป็นเป้าหมายย่อย เมื่อทำเป้าหมายย่อยสำเร็จสักหนึ่งอย่าง ก็จะรู้สึกว่าตนเองบรรลุเป้าหมายสักอย่างแล้ว จนสุดท้ายก็จะเห็นว่าเป้าหมายของเราที่ตั้งไว้ออกผลที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อทัศนคติการทำงานของเราได้
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีโครงการใหญ่ที่ต้องทำให้สำเร็จและรู้สึกเครียด ลองแบ่งงานใหญ่นั้นเป็นงานย่อย อย่างเช่น ค้นคว้าข้อมูลทางการตลาดวันจันทร์ ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำการทำธุรกิจขนาดเล็กวันอังคาร เขียนเค้าโครงวันพุธ เขียนร่างแรกวันพฤหัสบดี และแก้ไขวันศุกร์ การตั้งเป้าหมายย่อยที่ทำได้จะทำตามเป้าหมายได้สำเร็จมากกว่าตั้งเป้าหมายใหญ่เป้าหมายเดียว และทำให้เรารู้สึกประสบความสำเร็จเมื่อทำงานย่อยแต่ละงานสำเร็จ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พบหัวหน้างาน.
    บอกว่าเราหาวิถีทางที่ใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานได้แล้ว ของานใหม่ๆ ทำ บอกว่าเราอยากทำงานออกมาให้ดีที่สุด พูดคุยเรื่องแบบแผนการทำงานหรือตารางงานต่างๆ บริษัทของเราอาจอาสาเป็นผู้ริเริ่มงานใหม่ๆ ก่อน ขอหัวหน้างานให้เราเข้าไปมีส่วนร่วม
    • เมื่อเข้าพบหัวหน้างาน เราจะได้พัฒนาความสัมพันธ์ และประกาศตนเองเป็นผู้รับผิดชอบงานรวมทั้งลงมือทำอย่างจริงจัง เราจะสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์ที่ได้จากการทำงานได้
    • ขอทำงานกับคนที่ทำให้เรามีแรงบันดาลใจ ถ้ามีคนซึ่งมีทัศนคติที่ดี เราสามารถเรียนรู้การมีทัศนคติเชิงบวกจากการทำงานร่วมกับเขาได้
    • ถามหัวหน้างานว่าสามารถมอบหมายงานที่เรารู้สึกว่าท้าทายความสามารถเพื่อจะสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงานได้ไหม ถ้าเป็นไปได้ให้ลองเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะกับจุดแข็งและเป้าหมายทางอาชีพมากขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทบทวนบทบาทตนเองใหม่.
    ถึงแม้หน้าที่จะไม่เปลี่ยน แต่ก็ลองทบทวนว่าคิดอย่างไรกับตนเอง แทนที่จะคิดถึงตำแหน่ง ให้คิดว่าตนเองทำอะไรได้ดี ทบทวนว่าตนเองคิดอย่างไรกับงานประจำวัน ถ้าเราทำงานเป็นผู้ช่วยผู้บริหาร และใช้เวลาส่วนใหญ่ตอบอีเมลกับตอบโทรศัพท์ ก็ให้ลองนึกว่าตนเองเป็นบุคคลที่สามารถทำให้นักธุรกิจติดต่อกันได้และทำให้การดำเนินธุรกิจที่สำคัญเสร็จสิ้น แล้วจะเห็นว่างานของเราเป็นส่วนประงานที่สำคัญมากกว่าเป็นงานที่ทำไปวันๆ [25]
    • ไม่เปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นที่สนุกกับงานที่เขาทำเพราะนั้นอาจเป็นงานที่เราทำแล้วไม่สนุกก็ได้ ในทางกลับกันบางครั้งเพื่อนร่วมงานเราก็ไม่สนุกกับงานที่เราชอบทำเหมือนกัน
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Lindsay Gordon
ร่วมเขียน โดย:
โค้ชด้านอาชีพ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Lindsay Gordon. ลินด์เซย์ กอร์ดอน เป็นโค้ชด้านอาชีพ และเจ้าของ Life of Options บริการการโค้ชด้านอาชีพเพื่อให้คนมีความคิดวิเคราะห์ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 7 ปี เธอเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือบุคคลที่รู้สึกไร้จุดหมายหรือไม่พอใจกับงานให้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ถูกต้องสำหรับตนเอง ลินด์ซีย์ยังได้รับการกล่าวถึงในสื่อสิ่งพิมพ์มากมาย เช่น Business Insider, Thrive Global และพอดคาสต์ How to Be Awesome at Your Job ลินด์ซีย์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมชีวภาพ จากวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แฟรงคลิน ดับเบิลยู. โอลิน และประกาศนียบัตรการโค้ชด้านการหาจุดแข็งหลัก จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานฟรานซิสโก บทความนี้ถูกเข้าชม 33,390 ครั้ง
หมวดหมู่: การพัฒนาผลงาน
มีการเข้าถึงหน้านี้ 33,390 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา