ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเมารถ คุณคงจะเกลียดการเดินทางไกลทุกเที่ยวน่าดู มันอาจส่งผลในด้านลบต่อการต้องไปไหนมาไหนของคุณหรือทำลายกิจกรรมแสนสนุกที่ควรมีร่วมกับเพื่อนๆ ได้ อาการเมารถนั้นเป็นอาการเมาจากเหตุเคลื่อนไหวรูปแบบหนึ่ง (หรือ kinetosis) ที่จะเกิดกับบางคนในระหว่างการนั่งรถ อาการทั่วไปก็คือ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย มีเหงื่อเย็น และคลื่นไส้[1] งั้นเราจะป้องกันการเมารถตั้งแต่แรกได้อย่างไร ใช้เคล็ดลับง่ายๆ ต่อไปนี้เพื่อสนุกกับการเดินทางโดยไม่ต้องอยู่ในสภาพป่วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เปลี่ยนวิธีการเดินทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นั่งที่เบาะโดยสารหน้า.
    แพทย์เชื่อว่าอาการเมาจากเหตุเคลื่อนไหวนั้นเกิดจากความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่สายตาเห็นกับการที่ร่างกายตึวามหมายการเคลื่อนที่ของพาหนะ ซึ่งใช้สัญญาณที่มีจุดกำเนิดอยู่ในหูชั้นในมากำหนดความสมดุล[2] ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสายตาคุณเห็นเบาะโดยสารหน้าแต่ร่างกายรู้สึกถึงการเข้าโค้งและความเร็วที่แล่นไปตามถนน หูชั้นในของคุณอาจถูกเหวี่ยงไปมา มันจะทำให้เกิดอาการเวียนหัวคลื่นไส้ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของการเมารถ[3] การจะหลีกเลี่ยงความรู้สึกเช่นนี้ พยายามให้สายตาเพ่งไปที่ท้องถนนเบื้องหน้าเพื่อที่สายตากับร่างกายได้ตีความข้อมูลออกมาเหมือนกัน การนั่งที่เบาะโดยสารหน้าจึงทำให้คุณมีโอกาสน้อยที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างสิ่งที่เห็นกับการที่ร่างกายตีความการเคลื่อนไหว
    • การขับรถด้วยตัวเองมีประโยชน์เสริมในการให้คุณได้มีอะไรไว้เพ่งมอง ซึ่งจะดึงความสนใจคุณไปจากการเมารถได้[4]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เพ่งสายตาไปที่ขอบฟ้า.
    การมีจุดรวมภาพที่คงที่เบื้องหน้าคุณจะช่วยให้สายตา หูชั้นใน และเส้นประสาทได้ตรวจสอบสัมพันธ์กัน[5] มองออกไปทางกระจกหน้าและหาจุดที่นิ่งอยู่กับที่ตรงขอบฟ้า ที่ไหนก็ได้ที่อยู่ห่างไกลออกไป จุดที่ว่าอาจเป็นภูเขา ต้นไม้ ตึก หรือเป็นแค่จุดในอากาศ รวบรวมความสนใจในทางภาพจับอยู่ที่จุดนี้ จับจ้องตลอดไม่ว่าจะมีหลุมบ่อ โค้ง และเนิน พยายามห้ามใจไม่มองไปทางกระจกด้านข้าง: ให้มองออกไปเฉพาะทางกระจกหน้า
    • ถ้าคุณเป็นคนควบคุมรถ ให้แน่ใจว่าคุณใส่ใจดูถนนและรถรอบข้างพอๆ กับขอบฟ้าเบื้องหน้าคุณ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทำให้อากาศเย็น.
    การมีบรรยากาศที่เย็นถ่ายเทดีนั้นช่วยบรรเทาอาการเมารถและลดอาการอย่างเช่นเหงื่อไหลท่วมกับคลื่นไส้ลงไปได้ ถ้าเป็นไปได้ให้คุณไขกระจกลงเพื่อรับลมเย็นภายนอก หรืออีกทางเลือกคือเปิดแอร์ ปรับช่องแอร์ให้ชี้ใส่หน้าเพื่อประโยชน์สูงสุด[6]
    • การระบายอากาศยังช่วยลดกลิ่นอาหารที่ค้างในรถ อาการเมารถนั้นสามารถหนักขึ้นจากกลิ่นแรงของอาหารได้[7]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รักษาศีรษะให้คงที่.
    บางทีมันก็ยากจะจับจ้องไปที่จุดใดจุดหนึ่งตลอดในขณะที่รถมันโยกเยกไปมา เพื่อให้ภาพที่เห็นคงความเสถียร ก็ให้แน่ใจว่าศีรษะคุณควรเสถียรไปด้วย พิงศีรษะกับพนักเพื่อไม่ให้มันสะบัดไปมา หมอนรองคอก็อาจช่วยประคองศีรษะให้มั่นคง และภาพที่เห็นก็จะคงที่ตาม[8]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 พักบ่อยๆ.
    ออกจากรถไปยืดเส้นยืดสาย นั่งบนม้านั่งหรือใต้ต้นไม้แล้วสูดลมหายใจลึกๆ เข้าทางปากเพื่อช่วยผ่อนคลาย มันจะจำเป็นมากในระหว่างการเดินทางอันยาวไกลไปตามเส้นทางคดเคี้ยว ไม่เพียงแต่การหยุดพักบ่อยๆ จะช่วยบรรเทาอาการเมารถลง ยังเป็นการดีต่อคนขับให้ได้พักตลอด กลับมาขับรถก็ต่อเมื่อคุณรู้สึกตื่นตัวและอาการเวียนศีรษะคลื่นไส้หายไปแล้ว
  6. How.com.vn ไท: Step 6 พยายามงีบหลับ.
    การนอนหลับในระหว่างที่มีอาการเมาจากเหตุเคลื่อนไหวช่วยคนที่โดยสารไปกับรถได้อย่างมาก คุณจะไม่ได้ตระหนักในความแตกต่างระหว่างข้อมูลทางภาพที่เห็นกับสัญญาณที่ร่างกายส่งออกมาเพราะตาคุณปิดอยู่ หลายคนพบว่าการนอนหลับเป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าจะต้องเดินทางไกลโดยไม่เกิดเมารถ
    • หากคุณมีปัญหาการงีบหลับในรถ ลองคิดใช้ยานอนหลับ กระนั้น ถ้าคิดจะใช้มันจริงๆ ก็ต้องแน่ใจว่าคุณไม่จำเป็นต้องกลายเป็นคนขับรถในช่วงหนึ่งช่วงใดของการเดินทาง
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เบนความสนใจไปเรื่องอื่น.
    การเบี่ยงเบนความสนใจไปวิธีที่เข้าท่าสำหรับมาใช้ลดการเมารถ ดดยเฉพาะสำหรับโกหรือคนโดยสารที่นั่งตรงเบาะหลัง ให้พาใจหลุดไปจากการคิดถึงอาการคลื่นไส้เวียนศีรษะโดยการฟังเพลง ร้องเพลง หรือเล่นเกม 20 คำถามกับคนที่นั่งไปด้วยกัน[9]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 วางหนังสือ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ต่างๆ...
    วางหนังสือ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ต่างๆ ลง. อาการเมารถจะยิ่งแย่ลงถ้าคุณไปใส่ใจกับการจับจ้องวัตถุในรถแทนที่จะมองออกไปนอกรถ การอ่านหนังสือ เล่นเกมในโทรศัพท์ อ่านคินเดิลหรือแท็บเล็ตล้วนแล้วแต่เพิ่มความไม่สัมพันธ์กันระหว่างสายตากับส่วนอื่นของร่างกาย เพื่อป้องกันอาการเมารถจึงต้องแน่ใจว่าได้จับจ้องสายตามองออกไปแต่ภายนอกรถ ไปยังขอบฟ้าเบื้องหน้าคุณ[10]
    • มีผู้คนมากมายที่จะเมารถเฉพาะเวลาอ่านหนังสือในรถ ให้แน่ใจว่ามันจะไม่เกิดกับคุณ!
    • การเปิดแผ่นหนังสือเสียง เปิดวิทยุ และฟังซีดีเป็นวิธีสร้างความบันเทิงในรถที่ดีโดยไม่ทำให้เมารถ
  9. How.com.vn ไท: Step 9 สูดลมหายใจลึกๆ.
    อาการเมารถจะหนักขึ้นเมื่อรู้สึกกังวลกระวนกระวาย เทคนิคการผ่อนคลายอย่างการหายใจช้าๆ ลึกๆ จะช่วยผ่อนอัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลงและทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย จึงมีผลให้คุณมีอาการเมารถได้น้อยลง[11]
  10. How.com.vn ไท: Step 10 หลีกเลี่ยงเส้นทางขรุขระ.
    ยิ่งทางราบเรียบแค่ไหน โอกาสเมารถก็น้อยลงตาม วิธีขับรถให้ราบรื่นก็อย่างการเลือกใช้เส้นทางหลวงแทนถนนสายรองและให้แน่ใจว่ารถคุณมีระบบกันสะเทือนที่ทันสมัย[12] คุณยังอาจวางแผนเส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงทางขึ้นเขาโดยการขับอ้อมแทน พยายามหาเส้นทางบนพื้นราบเท่าที่จะเป็นไปได้
    • การขับนอกช่วงเวลาเร่งด่วนก็อาจช่วยไม่ให้ต้องไปติดแหง็กในการจราจรแบบไปๆ หยุดๆ ได้
  11. How.com.vn ไท: Step 11 ซื้อสายรัดข้อมือกันเมารถ.
    สายรัดข้อมือกันเมารถนั้นจะมีแรงกดเบาๆ ไปที่ปลายแขนของคุณราวหนึ่งนิ้วจากข้อมืออยู่ตลอดเวลา แรงกดนี้เชื่อว่าจะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้จากการเมารถได้ แม้สายรัดข้อมือที่ว่านี้จะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าช่วยได้จริง แต่มันก็ราคาถูกมากและไม่ได้มีผลข้างเคียงอะไรสักหน่อย[13] คุณสามารถลองใช้ดูว่าได้ผลหรือไม่[14]
    • หากคุณไม่มีสายรัดข้อมือกันเมารถ คุณสามารถกดจุดหยุดคลื่นไส้ได้โดยกดเบาๆ ที่ปลายแขน (ระหว่างเส้นเอ็นสองเส้น) ราว 3 ซม. (ประมาณหนึ่งนิ้ว) ขึ้นมาจากตรงข้อมือ
  12. How.com.vn ไท: Step 12 ลองคิดถึงการใช้พาหนะรูปแบบอื่น.
    บางคนที่ชอบเมารถจะเมาพาหนะอื่นด้วย ทั้งรถไฟ รถเมล์ และเครื่องบิน กระนั้นบางคนจะเมาแค่รถ ดังนั้นรถไฟ รถเมล์และเครื่องบินจึงอาจเป็นตัวเลือกสำหรับเดินทางก็ได้ พาหนะเหล่านี้อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเสียด้วยซ้ำเพราะมันไปได้ราบรื่นกว่า ไม่ค่อยทำให้สายตามึนงงนัก และยอมให้คุณนั่งยืดตัวสูงขึ้นบนที่นั่งได้
    • จะยิ่งช่วยได้เยอะถ้าคุณหาที่นั่งซึ่งมั่นคงที่สุดในพาหนะรูปแบบอื่นๆ เหล่านี้ ให้แน่ใจว่าเบาะที่นั่งหันไปทางเดียวกับตัวพาหนะ (อย่าเลือกที่นั่งแบบหันหลังให้) นั่งบริเวณตอนหน้าของรถไฟกับรถเมล์ เลือกที่นั่งบริเวณปีกของเครื่องบิน ที่นั่งเหล่านี้จะไม่ค่อยสะเทือนหรือโคลงเคลงเท่าไหร่[15]
    • สำหรับเส้นทางใกล้ๆ เดินไปหรือถีบจักรยานไปอาจช่วยคุณเลี่ยงการนั่งรถได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ กับแอลกอฮอล์ก่อนการเดินทาง....
    หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ กับแอลกอฮอล์ก่อนการเดินทาง. อาหารมันๆ ทำให้ร่างกายเกิดอาการคลื่นไส้จะอาเจียนได้ง่าย[16] และแอลกอฮอล์ก็อาจทำให้เกิดอาการเมาค้างซึ่งทำให้อาการเมารถแย่ลงไปอีก อย่างเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และเหงื่อออก[17] ถ้ารู้ว่าจะต้องเดินทางโดยรถยนต์ ให้คุณเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อจะได้ไม่เมารถ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทานอาหารมื้อย่อยแต่บ่อยครั้ง.
    อาหารมื้อใหญ่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ได้ง่าย ถ้าคุณต้องนั่งในรถ โดยเฉพาะถ้าต้องเดินทางไกล ทานอาหารมื้อเล็กที่ไขมันต่ำและดีต่อสุขภาพเพื่อจะได้ทานบ่อยๆ ถ้าสามารถหาอาหารที่ไขมันต่ำแต่โปรตีนสูงได้ นี่แหละคืออาหารในอุดมคติของการแก้เมารถเลย[18]
    • ตัวอย่างเช่น อย่าทานแฮมเบอร์เกอร์ในระหว่างเดินทาง ซื้อสลัดไก่อบดีกว่า อย่าดื่มมิลค์เชคในการเดินทาง เลือกสมูทตี้โยเกิร์ตไขมันต่ำเติมผงโปรตีนแทน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 มีขนมเป็นแป้งจืดๆ ติดรถ.
    ขนมขบเคี้ยวพื้นๆ ไม่มีรสชาติสามารถช่วยท้องไส้ที่กำลังปั่นป่วนให้ดีขึ้นได้ ขนมอย่างขนมปังปิ้ง แครกเกอร์เค็ม กับเพร็ตเซลสามารถช่วยดูดซึมกรดในกระเพาะอาหารและทำให้ท้องรู้สึกนิ่งขึ้น มันยังเป็นตัวเลือกที่ดีในการขจัดความหิซโดยไม่ทำให้ท้องอืด[19]
    • ของว่างเหล่านี้ไม่ค่อยมีกลิ่นด้วย ซึ่งช่วยได้เพราะกลิ่นกับรสชาติอาหารที่แรงจะไปเร่งการเมารถ[20]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ห้ามขาดน้ำ.
    อาการขาดน้ำจะทำให้ยิ่งเมารถหนัก ให้แน่ใจว่าคุณดื่มน้ำจนเพียงพอก่อนและระหว่างการเดินทางเพื่อเลี่ยงอาการไม่สบาย[21] ในขณะที่น้ำเป็นวิธีดีที่สุดสำหรับแก้กระหาย เครื่องดื่มที่เติมรสชาติอาจช่วยในการทำหน้าที่เบี่ยงเบนความสนใจไปจากความรู้สึกเวียนศีรษะคลื่นไส้ ฉะนั้นดื่มน้ำอัดลมที่ไม่เติมคาเฟอีนได้เลยโดยไม่ต้องรู้สึกผิด อย่างจิงเจอร์เอลเป็นต้น
    • เครื่องดื่มที่มีโปรตีนสูงก็มีหลักฐานว่าช่วยลดอาการคลื่นไส้เหมือนกัน[22]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ทานขิงเยอะๆ.
    ขิงพิสูจน์แล้วว่าช่วยบรรเทาอาการเมารถกับการเมาเหตุเคลื่อนไหวอื่นๆ[23] คุณสามารถกิน (หรือดื่ม) ขิงได้หลายรูปแบบ มีทั้งอมยิ้มรสขิง ยาอมขิง ชาขิง จิงเจอร์เอล ขิงอัดเม็ด ลูกอมรสขิง และคุกกี้ขิง[24] ไม่ว่าจะแบบไหนล้วนช่วยท้องไส้ให้หายปั่นป่วน แค่ให้แน่ใจว่าของว่างนั้นทำมาจากขงจริงๆ ไม่ใช่แค่สังเคราะห์รสเลียนแบบ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 มีหมากฝรั่งและลูกอมมินต์ติดตัว.
    เปปเปอร์มินต์ก็เหมือนขิงที่เป็นการรักษาอาการคลื่นไส้โดยธรรมชาติ หมากฝรั่งกับลูกอมรสมินต์จะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำลายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้กรดในท้องเป็นกลาง ยิ่งไปกว่านั้น รสชาติเหล่านี้ยังช่วยเบนความสนใจในเวลาที่คุณคิดถึงแต่อาการเมารถ[26] อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งรสเปปเปอร์มินต์เพื่อช่วยท้องไส้สงบและโฟกัสไปที่เรื่องอื่น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้วิธีการรักษาด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปรึกษาแพทย์เรื่องเมารถ.
    เกือบทุกกรณีของการเมารถนั้นสามารถจัดการได้โดยการเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือใช้ยาสามัญประจำบ้าน อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งการเมารถก็อาจเข้ามารบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ในกรณีเช่นนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์ถึงการรักษาที่เป็นไปได้ เช่นใช้ยาที่หาซื้อได้ตามร้านหรือยาที่ต้องให้แพทย์สั่งจ่าย
    • คุณยังควรปรึกษาแพทย์ถ้าคุณ (หรือลูก) ยังคงมีอาการต่อเนื่องแม้ลงมาจากรถ ไม่ว่าจะปวดศีรษะอย่างรุนแรง ประสิทธิภาพการมองเห็นหรือได้ยินลดลง และเดินเหินลำบาก ทั้งหมดนี้บ่งชี้ถึงประเด็นที่อาจรุนแรงกว่าแค่การเมารถทั่วไปได้[27]
    • การเมารถได้ง่ายนั้นเกี่ยวข้องกับอายุ เชื้อชาติ เพศ ปัจจัยด้านฮอร์โมน อาการป่วยทางประสาท และไมเกรน ให้สอบถามแพทย์ดูว่าคุณมีความเสี่ยงเกิดอาการเมาจากเหตุเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นไหม[28]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทานยาแก้แพ้ 30 – 60 นาทีก่อนขึ้นรถ.
    มียาทั้งแบบวางขายทั่วไปหรือประเภทต้องใช้ใบสั่งจ่ายยาที่มีประสิทธิภาพในการแก้เมารถ ส่วนใหญ่แล้วจะมีส่วนผสมของไดเมนไฮดริเนท (dimenhydrinate) หรือช่อการค้าว่า ดรามามีน (dramamine) หรือมีไคลซีน (meclizine)[29] ยี่ห้อที่แพร่หลายก็คือ Dramamine กับ Bonine/Antivert บางยี่ห้อมีจำหน่ายในรูปแบบแผ่นแปะด้วย ซึ่งอาจช่วยได้มากเพราะมันสามารถปล่อยตัวยาออกมาได้เรื่อยๆ ยาแก้แพ้สามารถป้องกันอาการคลื่นไส้จากการเมาเหตุเคลื่อนไหวได้โดยการทำให้ตัวรับรู้การเคลื่อนไหวของหูชั้นในมีอาการชา ถ้าจะให้มันออกฤทธิ์ได้ผล ควรจะทานยา 30-60 นาทีก่อนจะขึ้นรถ[30]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สอบถามแพทย์เรื่องการจ่ายยาสโคโพลามีน.
    ยาสโคโพลามีน (scopolamine) จะปลอดภัยเฉพาะใช้กับผู้ใหญ่ มันไม่ใช่ยาสำหรับเด็ก[32] ยาตัวนี้ต้องได้รับการสั่งจ่ายและใช้แปะหลังใบหู คุณจะต้องแปะยาล่วงหน้า 4 ชั่วโมงก่อนเริ่มเดินทาง ถึงแม้ผลข้างเคียงของยาอาจรุนแรง (ภาพเบลอและปากแห้ง) แต่มันมีประสิทธิภาพมากในการตอบโต้อาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมารถ[33] ปรึกษาแพทย์ว่ามันเหมาะจะใช้กับคุณไหม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเมารถโดยการหาเบาะรองหนุนมาใช้เพื่อให้เขาสามารถมองเห็นภาพภายนอกรถ และหาเกมมาเล่นที่จะกระตุ้นให้เขามองออกไปข้างนอก อย่าปล่อยให้เด็กดูหนังในรถ เพราะมันทำให้เมาได้ง่าย
  • คนที่เป็นไมเกรน หญิงมีครรภ์ และเด็กอายุระหว่าง 2-12 ปีนั้นเป็นพวกที่จะเมารถได้ง่าย ในหลายๆ กรณีนั้นอาการเมารถจะเกิดเพียงชั่วคราวและหายไปเอง
  • มีสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจติดไว้ในรถมากๆ แต่ให้แน่ใจว่าไม่มีชิ้นไหนที่ต้องให้คุณอ่านหรือจับจ้องที่หน้าจอ หาเพลงสนุกๆ หนังสือในรูปแบบซีดีเสียง หรือเกมที่สามารถเล่นกับเพื่อนในรถได้อย่างปลอดภัย
  • ให้ภายในรถเย็นและอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ให้แน่ใจว่ารถคุณมียางกับระบบกันสะเทือนทันสมัย เพราะคูรต้องการให้การเดินทางราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • จอดรถระหว่างทางเพื่อพักเดินสักสองสามนาที อาการเมารถจะหายไปหลังคุณได้เดินบนพื้น
  • หากคุณเมารถบ่อยๆ ให้เตรียมถุงอาเจียนไว้ใกล้มือ เผื่อในกรณีที่ไม่อาจหยุดรถได้ทันเวลา
  • ลองเคี้ยวหมากฝรั่ง เปลี่ยนรสอื่นถ้ามันเริ่มไร้รสชาติแล้ว เพราะหมากฝรั่งที่ไม่มีรสชาติอาจทำให้อาการเมารถแย่ลง
  • มองออกไปไกลๆ ข้างนอกแล้วมันอาจทำให้หายจากการเมาได้
โฆษณา

คำเตือน

  • แพทย์เคยเชื่อว่าการเดินทางโดยให้ท้องว่างจะช่วยบรรเทาอาการเมารถ ปัจจุบันเรารู้แล้วว่ามันไม่เป็นความจริง ให้มีอะไรตกท้องดีกว่าแต่ไม่ต้องถึงขั้นอิ่มแปร้ การทานของว่างเบาๆ หรือทานมื้อย่อยจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาหรือสมุนไพรสำหรับอาการเมารถ/เมาเหตุเคลื่อนไหว ยาแก้แพ้ ขิง กับเปปเปอร์มินต์อาจไม่ได้ปลอดภัยสำหรับทุกๆ คน จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/expert-answers/car-sickness-in-children/faq-20057876
  2. http://www.medicinenet.com/tips_to_prevent_motion_sickness/views.htm
  3. http://www.nytimes.com/2012/12/23/travel/fighting-motion-sickness-the-taming-of-the-stomach.html?_r=0
  4. http://www.wsj.com/articles/SB10001424127887324049504578545902289940538
  5. http://www.nhs.uk/conditions/motion-sickness/pages/introduction.aspx
  6. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  7. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/features/how-to-beat-motion-sickness?page=2
  8. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  9. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  10. http://www.everydayhealth.com/digestive-health/easy-ways-to-keep-from-getting-seasick.aspx
  11. http://www.medicinenet.com/tips_to_prevent_motion_sickness/views.htm
  12. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2016/the-pre-travel-consultation/motion-sickness
  13. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/features/how-to-beat-motion-sickness?page=2
  14. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  15. http://www.nhs.uk/conditions/motion-sickness/pages/introduction.aspx
  16. http://www.nhs.uk/conditions/motion-sickness/pages/introduction.aspx
  17. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2016/the-pre-travel-consultation/motion-sickness
  18. https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/head-neck-nervous-system/Pages/Car-Sickness.aspx
  19. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/features/how-to-beat-motion-sickness
  20. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-motion-sickness/basics/art-20056697
  21. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-motion-sickness/basics/art-20056697
  22. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-motion-sickness/basics/art-20056697
  23. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-motion-sickness/basics/art-20056697
  24. http://www.nytimes.com/2012/12/23/travel/fighting-motion-sickness-the-taming-of-the-stomach.html?_r=0

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Chris M. Matsko, MD
ร่วมเขียน โดย:
อายุรแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Chris M. Matsko, MD. ดร.แมทสโกเป็นแพทย์เกษียณในเพนซิลเวเนีย เขาได้รับปริญญาจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทมเพิลในปี 2007 บทความนี้ถูกเข้าชม 2,590 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,590 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา