ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

สมัยนี้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่แยกแทบไม่ออกไปซะแล้ว ถึงจะเป็นสุดยอดฐานข้อมูล แต่ก็เป็นแหล่งรวมมิจฉาชีพและอันตรายต่างๆ ไว้เหมือนกัน บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการท่องเน็ตอย่างปลอดภัยให้คุณเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ปกป้องข้อมูลส่วนตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ตั้งรหัสผ่านให้แน่นหนา.
    รหัสผ่านก็เหมือนกุญแจสู่บัญชีของคุณ ใครมีกุญแจ คนนั้นก็ไขเข้าไปได้ทุกเมื่อ เวลาตั้งรหัสผ่านจึงต้องเลือกที่ไม่เหมือนใคร คนอื่นเดายาก แต่ตัวเองจำง่าย โดยรหัสผ่านควรประกอบด้วยตัวอักษรทั้งพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ หมายเลข และอักขระพิเศษ[1]
    • ใครใช้ password หรือ 1234 เป็นรหัสผ่านนี่เชยมาก เจาะง่ายเป็นที่สุด กระทั่งวันเกิดของคนใกล้ตัว (หรือของตัวเอง) ก็ยังอันตราย ยิ่งรหัสผ่านยาวคนก็ยิ่งเดายาก อาจจะละตัวอักษรไหนไว้ หรือใช้ตัวเลขแทนตัวอักษรในคำก็เดายากดี ถ้าสะกดถูกเป๊ะจะเดาง่ายกว่าจงใจพิมพ์ให้ผิดหรือใช้ตัวเล็กแทนบางอักษร
    • ตั้งรหัสผ่านเป็นวลีหรืออะไรที่สำคัญ มีความหมายสำหรับคุณ เช่น ชื่อปลาทองแสนรักตอนเด็กอย่าง Thongdee หรือผสมตัวอักษรกับตัวเลขให้ได้คำธรรมดาที่ไม่ธรรมดา เช่น คำว่า "พอใจ" ก็เป็น W0jai แบบที่คุณเข้าใจอยู่คนเดียว
    • เลือกรหัสผ่านที่ตัวเองจำง่าย จะจดไว้ก็ได้แต่ต้องเก็บไว้ในที่ลับตาคน ห้ามเก็บไว้ที่โต๊ะคอมเด็ดขาด
    • แต่ละบัญชีห้ามใช้รหัสผ่านเดียวกันหมด ถ้าขี้เกียจคิดแถมมานั่งจำรหัสผ่านที่ต่างกันเป็นสิบๆ รหัส ก็ต้องมีรหัสผ่านตั้งต้น (เช่น W0jai เมื่อกี๊) แล้วเติมส่วนขยายตามแต่ว่าเป็นบัญชีของอะไร เช่น Amazon ก็เป็น amznW0jai ถ้า Gmail ก็เป็น gmailW0jai หรือ Twitter ก็เป็น twittW0jai เป็นต้น
    • พยายามเปลี่ยนรหัสผ่านทุก 2 - 3 เดือน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 จะติดตั้งโปรแกรมใหม่หรือยอมรับเงื่อนไขการใช้งานต้องอ่านดีๆ....
    จะติดตั้งโปรแกรมใหม่หรือยอมรับเงื่อนไขการใช้งานต้องอ่านดีๆ. เวลาสมัครรับจดหมายข่าว ติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือยอมรับเงื่อนไขหรือข้อตกลงอะไร ต้องอ่านรายละเอียดให้ดีๆ ไม่งั้นจะได้ของแถมเป็น junk mail หรือโดนโทรตื้อขายของ ให้สังเกตช่องเล็กๆ ทางด้านล่างของหน้าดู ส่วนใหญ่จะเขียนว่าให้ติ๊กถ้าอยากรับข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ๆ จากเว็บนั้น ถ้าเป็นเว็บที่ดีควรระบุไว้ชัดเจนว่าจะไม่เอาชื่อและข้อมูลของคุณไปขายให้บริษัทอื่นๆ (แต่ตัวเว็บเองอาจจะส่งอีเมลหาคุณรัวๆ แทน)
    • ส่วนใหญ่เวลาผู้ใช้ที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ไปดาวน์โหลดอะไรแล้วมี adware เวลาติดตั้งโปรแกรม พวก malvertising หรือกระทั่งไวรัสที่ไปติดมาเมื่อไหร่ไม่รู้ มักจะได้ junkware หรือมัลแวร์เป็นของแถมเต็มไปหมด เช่น ไฟล์ติดตั้ง Java ของ Oracle มักมาพร้อม Ask Toolbar (หรืออีกชื่อคือ Search App by Ask) ถ้าเลือกติดตั้งแบบ express ให้คุณลองศึกษาดูจากรูปอ้างอิงของเราได้ ถ้าเบื่อของแถมไม่พึงประสงค์เพราะหวังโปรโมท foistware แบบนี้ ก็ต้องหามาตรการป้องกัน bloatware อื่นๆ เช่น หมั่นสแกนไฟล์ติดตั้งที่เพิ่งดาวน์โหลดมา ด้วยโปรแกรมป้องกันไวรัสที่อัพเดทเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด หรือด้วยเว็บสแกนมัลแวร์ (เช่น VirusTotal.com ของ Google) และเลือกติดตั้งแบบ "clean" หรือ custom เสมอ ที่สำคัญคืออย่าลืมเอาติ๊กออกจาก "ข้อเสนอ" อื่นๆ ที่ไม่ต้องการติดตั้งพร้อมโปรแกรมไปด้วย
    • หลายเว็บเลยที่ติดตั้ง adware ลงคอมไว้ติดตามพฤติกรรมการใช้คอมและท่องเว็บของคุณ เพราะฉะนั้นเจอเว็บใหม่ๆ หรือเว็บดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ ต้องระวัง[2]
    • บางเว็บจะให้คุณกรอกข้อมูลเยอะแยะไปหมดกว่าจะได้ดาวน์โหลดสักที แบบนี้ให้ใส่เฉพาะอะไรที่จำเป็นต้องกรอก จะมีเครื่องหมาย "*" บอกไว้ ช่องไหนไม่มีแสดงว่าข้ามไปได้เลย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ห้ามเล่าเรื่องส่วนตัวให้คนแปลกหน้าฟัง.
    ห้ามบอกชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และเบอร์โทรกับคนในเน็ตที่ไม่รู้จักหรือไม่สนิทกันมากพอ โดยเฉพาะเวลาแชทกับคนแปลกหน้า ไม่ควรติดต่อเรื่องงานหรือซื้อขายกันกับคนที่ปกปิดตัวตน และอย่านัดเจอใครที่รู้จักกันในเน็ต
    • จะหาเพื่อนใหม่ในเน็ตต้องระวังตัว จริงอยู่ว่าหลายคนได้เพื่อนแท้จากโลกโซเชียล แต่ก็มีคนไม่ใช่น้อยที่ปลอมแปลงข้อมูล แกล้งทำเป็นคนอื่นมาหลอกกัน
    • คิดจะเดทออนไลน์ต้องรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ใส่ชื่อได้แต่อย่าใส่นามสกุล และห้ามบอกข้อมูลส่วนตัวโดยละเอียด ไม่ว่าคนที่คุณคุยๆ อยู่จะดูเป็นคนดีแค่ไหนก็ตาม ที่สำคัญคืออย่าโอนเงินให้คนที่ไม่เคยเจอหน้ากันจริงๆ และถ้าสุดท้ายนัดเจอกัน ต้องเลือกที่แจ้ง คนผ่านไปมา เช่น ห้าง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โดยบอกเพื่อหรือครอบครัวไว้ด้วยว่าวันนี้คุณจะไปไหน และอย่าปล่อยให้คนแปลกหน้ามารับที่บ้านหรือไปที่บ้านเขา[3]
    • การบอกข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า นอกจากเสี่ยงโดนขโมยบัญชีและตัวตนแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายต่อตัวคุณเองด้วย ถึงคนที่เห็นกันทั่วไปตามโซเชียลมีเดียจะเป็นมิตร ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่ก็เหมือนโลกจริง คือมีทั้งคนดีคนเลวปะปนกันไป จะมีพวกมิจฉาชีพที่แฝงมาตามห้องแชท โซเชียลมีเดีย หรือเว็บต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นหวังเอาไปใช้ในทางผิดๆ หรือเป็นอันตรายต่อเจ้าของข้อมูล ดีไม่ดีจะตามมาถึงบ้านหรือที่ทำงานคุณเลย
    • จะซื้อของที่เพจ Facebook, Instagram หรือเว็บไหน ต้องอ่านรีวิวในเน็ตก่อนว่าส่งของจริง ถ้าเป็นเว็บหน้าตาและฟอนต์แปลกๆ มีหน้าต่าง pop-up โผล่มาเต็มไปหมด อาจเป็นพวกหลอกลวงได้ ถ้าไม่มีระบบชำระเงินด้วย PayPal หรือบัตรเครดิตจากในเว็บเลย ก็ต้องเช็คความน่าเชื่อถือให้ดีก่อนตัดสินใจโอนเงิน[4] ถ้าซื้อของกับคนที่โพสต์ขายตามเว็บบอร์ด ไม่ใช่เว็บแบรนด์หรือห้างขายเอง ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ระวังตกเป็นเหยื่อ phishing scam.
    อีเมล phishing คืออีเมลที่ทำเหมือนส่งมาจากบริษัทใหญ่ๆ ดังๆ ที่คุณเคยซื้อสินค้าและบริการ หรือธนาคารต่างๆ ที่คุณมีบัญชี โดยจะมีลิงค์ในข้อความไปยังเว็บปลอม แล้วขอให้คุณกรอกข้อมูลส่วนตัว[5]
    • ตรวจสอบที่อยู่อีเมลเสมอ พวกมิจฉาชีพจะใช้อีเมลปลอม ไม่ตรงกับชื่อบริษัทที่อ้างตัว หรือบางทีก็คล้ายกับชื่อบริษัทดังมากๆ แต่เปลี่ยนตัวอักษรบางตัวจนคุณแทบไม่สังเกตเห็น
    • อีเมลหลอกลวงที่คนโดนกันเป็นประจำคือพวกที่อ้างว่าส่งมาจาก eBay, PayPal, ธนาคารต่างๆ ไปจนถึงบริษัทที่ขายสินค้าดังๆ โดยจะอ้างว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับบัญชีธนาคาร หรือ username กับรหัสผ่านของคุณ แล้วหลอกถามข้อมูลส่วนตัว ส่วนมากจะมีลิงค์ในอีเมลให้คลิก เจออีเมลแบบนี้เมื่อไหร่ห้ามคลิกเด็ดขาด แต่ไปที่เว็บโดยพิมพ์ URL ในเบราว์เซอร์เอง
    • เอาเมาส์ไปจ่อที่ลิงค์น่าสงสัย ที่ด้านล่างของหน้าต่างเบราว์เซอร์จะมี URL ที่แท้จริงของเว็บโผล่มา ซึ่งมักเป็นเว็บจริงของพวกหลอกลวง ไม่ตรงกับที่อ้างไว้ในอีเมล[6]
    • forward อีเมลต้องสงสัยไปที่บริษัทที่ถูกแอบอ้างซะเลย เขาจะได้ยืนยันว่าเป็นอีเมลจริงหรือปลอม
    • ผู้ให้บริการอีเมลอย่าง Yahoo!, MSN, Hotmail และ Gmail ไม่มี นโยบายสอบถามรหัสผ่านอีเมลของคุณแน่นอน ห้ามหลงเชื่อและอย่าไปบอกอะไร
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ระวังพวกสแกม.
    online scams อยู่ทุกที่ในโลกออนไลน์ ทั้งในอีเมล ทวีต โพสต์ Facebook และอื่นๆ เพราะงั้นห้ามคลิกลิงค์แปลกๆ ถึงจะทำเหมือนเว็บดัง โดยเฉพาะลิงค์ยาวๆ ตัวอักษรเยอะๆ ไม่เป็นภาษา
    • ห้ามคลิกหน้าต่าง pop-up หรืออีเมลที่อ้างว่าคุณถูกรางวัลใหญ่หรือมีเงินโอนมา เพราะหลอกลวงเห็นๆ
    • ห้ามหลงเชื่ออีเมลเชิญชวนให้ชิงรางวัลหรือบอกว่าเป็นล็อตเตอรี่ของประเทศอื่น[7] นอกจากนี้ให้ระวังอีเมลที่ขอให้คุณช่วยโอนเงิน โดยเฉพาะเรื่องยอดนิยมเกี่ยวกับคนป่วยและมรดกก้อนโต[8]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 คิดก่อนโพสต์ในโซเชียลมีเดีย.
    สมัยนี้ Facebook, Twitter, Google+, Instagram, LinkedIn และโซเชียลมีเดียอื่นๆ กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะ Facebook ที่มีทั้งนามสกุลก่อนแต่งงาน ชื่อพ่อ-แม่ วันเกิดตัวเอง วันเกิดลูก บ้านเกิด ที่อยู่ ไปจนถึงเบอร์โทร และข้อมูลส่วนตัวอีกสารพัด ขอแค่มีคอมพิวเตอร์แล้วเจาะเข้าบัญชีคุณได้ มิจฉาชีพก็รู้แทบทุกอย่างหรือทุกอย่างเกี่ยวกับตัวคุณแล้ว[9] พยายามอย่าโพสต์เรื่องส่วนตัวในโลกออนไลน์ เพื่อปกป้องตัวตนและความเป็นส่วนตัวของคุณ[10]
    • ถ้าแชร์ข้อมูลส่วนตัวในโซเชียลมีเดียเยอะเกินไป ระวังภัยจะมาถึงตัว การโพสต์หรือแชทบอกใครว่าคุณอยู่ที่ไหน และเมื่อไหร่ไม่อยู่บ้าน อาจทำให้มิจฉาชีพตามรอยถึงตัวได้ โดยเฉพาะคนที่ชอบอวดรวย ซื้ออะไรใหม่เป็นต้องโพสต์โชว์ พวกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร และกิจวัตรประจำวัน (ไปที่ไหน ทำอะไร) นี่ห้ามโพสต์เด็ดขาดเลย
    • พวกเว็บที่ต้องรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษ เช่น ธนาคาร บริษัทประกัน บริษัทสินเชื่อ หรือเว็บสถาบันการศึกษาต่างๆ มักมี security questions หรือคำถามยืนยันตัวตน เช่น "What is your mother's maiden name?" (นามสกุลก่อนแต่งงานของแม่), "What is your paternal grandmother/father's name?" (ชื่อปู่/ย่า), "What town did you grow up in?" (บ้านเกิด) หรือ "What is your father's birthday?" (วันเกิดพ่อ) สมัยนี้แค่เข้า Facebook ของใครหลายคนก็ได้คำตอบแล้ว
    • ข้อมูลพวกนี้ถ้าใครได้ไประวังถูกสวมรอย ขโมยตัวตน
    • เวลาเลือก security questions อย่าเลือกที่คนอื่นหาคำตอบได้ง่ายๆ ในโซเชียลมีเดียของคุณ ต้องเลือกคำถามยากๆ ประมาณว่ามีแต่คุณที่รู้
  7. How.com.vn ไท: Step 7 มีหลายๆ อีเมล.
    จะดีกว่าถ้าแยกเป็น 3 อีเมล เพื่อแบ่งออกตามจุดประสงค์การใช้งานในแต่ละมุมของการใช้ชีวิต ให้มีอีเมลเรื่องงานและอีเมลส่วนตัว จะช่วยลดสแปมและปัญหาความเป็นส่วนตัวได้
    • อีเมลสำหรับติดต่อเรื่องงานหรือธุรกิจ ถ้าใครทำงานบริษัทก็จะมีกันอยู่แล้ว
    • อีเมลหลักที่เป็นอีเมลส่วนตัว ใช้กับธนาคาร หางาน ประกัน และอื่นๆ ทั้งเรื่องทางการและส่วนตัว รวมถึงเอาไว้บอกเพื่อนสนิทและครอบครัว
    • อีเมลไว้รับ junkmail โดยเฉพาะ ใช้สมัครรับข่าวสารหรือโปรโมชั่นต่างๆ ทั้งของเว็บ ร้านค้า ร้านอาหาร และอื่นๆ ที่ไม่อยากเปิดเผยอีเมลส่วนตัว หรือใช้สมัครโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็ได้ ถ้าอีเมลนี้เจอสแปมก็ไม่เป็นไร ชีวิตยังดำเนินต่อไปได้เพราะมีอีเมลส่วนตัวกับอีเมลธุรกิจ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

สร้างเกราะป้องกันให้สัญญาณเน็ต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้โปรแกรม anti-virus, anti-spyware และเปิด firewall.
    การท่องเน็ตแบบไม่มี 3 อย่างที่ว่าถือว่าเสี่ยงมาก เท่ากับเปิดช่องให้สแปม แฮกเกอร์ และไวรัสต่างๆ เข้ามายังคอมของคุณ ถ้าใช้ 3 อย่างที่ว่าจะเหมือนคอมมีเกราะป้องกันจากภัยอันตรายที่บางครั้งคุณเองก็ไม่รู้ตัว และต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมบ่อยๆ จะได้ดักจับไวรัสใหม่ๆ ได้
    • trojans, spyware, malware และไวรัส นอกจากทำให้เสี่ยงถูกเจาะข้อมูล โดนขโมยตัวตนแล้ว ยังสูญเสียความเป็นส่วนตัวด้วย ที่เห็นชัดๆ เลยคือทำให้คอมค้าง CPU อืดยิ่งกว่าอะไรดี[11] โปรแกรม anti-virus และ anti-spyware จะช่วยปกป้องอุปกรณ์ของคุณจากไวรัสพวกนี้ได้ ทำให้ระบบปลอดภัยแข็งแรง โปรแกรมป้องกันไวรัสมีหลายแบบให้เลือกใช้ ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน หาซื้อหาดาวน์โหลดกันได้จากในเน็ตเลย
    • firewall เป็นอุปกรณ์หรือโปรแกรมช่วยสร้างเกราะป้องกันเครือข่ายของคุณจากโลกไซเบอร์ภายนอก มีเฉพาะบางข้อมูลเท่านั้นที่ผ่านการคัดกรองมาได้[12] จะใช้ firewall ที่มากับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว หรือใช้โปรแกรมแยกก็ตามสะดวก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปกป้องเราเตอร์ Wi-Fi.
    ตอนนี้แทบทุกบ้านต้องมีสัญญาณ Wi-Fi ใช้กัน ต่อเน็ตได้ทั้งในคอม มือถือ แท็บเล็ต และเครื่องเกม มี Wi-Fi แล้วสะดวกอย่างบอกใคร แต่ก็อาจเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์และข้อมูลของคุณได้เช่นกัน
    • เปลี่ยนชื่อเราเตอร์ อย่าใช้ค่า default เลือกอะไรที่ไม่ซ้ำใคร และเพื่อนบ้านหรือคนอื่นๆ เดาไม่ได้
    • ตั้งรหัสผ่านเราเตอร์ให้แน่นหนา เลือกที่เราจำง่าย แต่คนอื่นเดายากตามเคย หลักการตั้งรหัสผ่านก็เหมือนกับเวลาจะตั้งรหัสของอีเมล
    • เลือกระบบรักษาความปลอดภัยแบบ WPA2 หรือ WPA เพราะจะปลอดภัยกว่า WEP[13]
    • ปิด guest log in ถ้าเราเตอร์นั้นมี ถ้าอยากให้เพื่อนหรือแขกที่มาบ้านใช้ Wi-Fi ได้ แต่ไม่อยากบอกรหัสผ่าน ก็ต้องตั้งรหัสผ่าน guest password ให้แน่นหนา[14]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปิดการแชร์ไฟล์ (file sharing)...
    ปิดการแชร์ไฟล์ (file sharing) และการค้นหาสัญญาณ Wi-Fi (network discovery) ตอนอยู่นอกบ้านหรือใช้เน็ตสาธารณะ. เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทั้งไฟล์และระบบ เพราะใครที่ใช้ Wi-Fi เดียวกับคุณจะ เข้ามาดู ข้อมูลได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแฮกเกอร์เลย ถ้าคุณอยู่ในระยะสัญญาณ Wi-Fi สาธารณะ แต่ไม่อยากออนไลน์ ก็ให้ปิด Wi-Fi ในเครื่องก่อน
    • ถ้าใช้ Windows จะอยู่ใน Control Panel > Network and Internet > Network and Sharing Center
    • ถ้าใช้ Mac OS X จะอยู่ใน System Preferences > Sharing
    • ในบางอุปกรณ์ จะมีสวิตช์ on/off ไว้เปิด/ปิด Wi-Fi แต่บางอุปกรณ์ก็ต้องปรับแต่งเอง (เช่น ถ้าใช้ Mac ให้คลิกไอคอน Wi-Fi แล้วปิด AirPort)
    • เชื่อมต่อหรือใช้งาน hotspot สาธารณะอย่างระวัง เพราะข้อมูลสำคัญของคุณอาจรั่วไหลได้เพราะรหัสผ่านง่ายไปหรือบางทีก็ไม่มีรหัสผ่านเลย และควรใช้บริการ VPN ดีๆ โปรๆ เท่านั้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 จะโอนเงินหรือชำระเงินออนไลน์ต้องแน่ใจว่าปลอดภัย....
    จะโอนเงินหรือชำระเงินออนไลน์ต้องแน่ใจว่าปลอดภัย. ถ้าเป็นธนาคารหรือเว็บดังๆ จะรักษาความปลอดภัยหลายด่าน ที่เห็นได้ชัดคือมีรูปแม่กุญแจสีทองที่ด้านล่างของหน้า แปลว่าเว็บนั้นปลอดภัย เวลาจะกรอกข้อมูลบัญชีธนาคารหรือข้อมูลอื่นๆ ต้องเช็คหลายๆ จุดว่าเว็บนั้นปลอดภัยจริง
    • Secure URL หรือเว็บที่มีการรักษาความปลอดภัย จะขึ้นต้นว่า https:// ไม่ใช่ http:// แปลว่ารับ-ส่งข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์โดยเข้ารหัสข้อมูลก่อน[15]
    • ถึงจะเชื่อมต่อแบบเข้ารหัส ก็ยังต้องรู้จักสังเกตความน่าเชื่อถือของเว็บเอง บางเว็บใช้ HTTPS หรือชำระเงินออนไลน์ได้ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป ปลอดภัยเฉพาะตอนเชื่อมต่ออย่างเดียว ถ้าเป็นเว็บใหม่ อ่านรีวิวในเน็ตให้ชัวร์ก่อนดีกว่า
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บที่เชื่อถือได้เท่านั้น....
    ดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บที่เชื่อถือได้เท่านั้น. เวลาจะดาวน์โหลดไฟล์หรือโปรแกรม ต้องเลือกเว็บที่คะแนนและรีวิวดี หรือรองรับโดยแหล่งที่เชื่อถือได้ ถ้าเป็นการดาวน์โหลดแบบเสียเงิน ก็ต้องบอกราคาชัดเจน มีคะแนน มีรีวิว ตรวจสอบได้ (เช่น download.cnet.com)
    • ระวังดาวน์โหลดแล้วได้ของแถมมาด้วย เวลาดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีจากในเน็ต เช่น เกม แอพ หรือเบราว์เซอร์ ลิงค์ดาวน์โหลดมักมี toolbars ของเบราว์เซอร์ และ add ons ไม่พึงประสงค์ติดมาด้วย เพราะงั้นต้องคอยเลือก "custom installation" แล้วเอาติ๊กออก ไม่เลือกติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น toolbars และ add ons สรุปแล้วเอาติ๊กออกให้หมด เหลือแต่โปรแกรมหรืออะไรที่คุณต้องการจะติดตั้งจริงๆ[16]
    • สงสัยตัวไหน ให้เอาชื่อเว็บหรือโปรแกรมไป google ตามด้วยคำว่า “scam” หรือ “ไวรัส” แล้วจะรู้เลย
    • ห้ามดาวน์โหลดโปรแกรมหรือไฟล์ที่มีลิขสิทธิ์แบบไม่เสียเงิน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ห้ามเปิดไฟล์แนบที่ไม่รู้ว่าคืออะไร.
    อย่างถ้ารอเพื่อนหรือใครส่งไฟล์ .doc, .pdf หรือฟอร์แมตอื่นๆ มาให้อันนี้ไม่เป็นไร แต่ถ้าอยู่ในอีเมลจากใครที่ไม่รู้จัก อันนี้ห้ามเด็ดขาด บาง junkmail ชอบมีไวรัสหรือ spyware ที่เป็นอันตรายต่อคอม ปกติอีเมลพวกนี้จะถูกไปโผล่ในโฟลเดอร์ "spam" หรือ "junk" ของอีเมล แต่ถ้าเพื่อนถูกแฮกแล้วส่งอีเมลมา อันนี้สิน่ากลัว
    • ระวังไฟล์แนบในอีเมลที่ลงท้ายด้วย ".exe"
    • ถ้าใช้อีเมลของ Outlook หรือ Thunderbird ก็ปิด attachment previews หรือตัวอย่างไฟล์แนบได้ จะได้ไม่ต้องเครียดว่าจะเปิดหรือไม่เปิดดูดี ลองดูใน settings ของอีเมล แล้วปิดตัวเลือกที่เขียนว่า Show Attachment Previews, Display Attachments Inline หรืออื่นๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ห้ามบอกรหัสผ่านกับใครเด็ดขาด กระทั่งเพื่อนก็ไม่ได้
  • ห้ามคลิก pop-up บอกเลยว่ามีคนเคยโดนขโมยข้อมูลไปสวมรอยเพราะแบบนี้ด้วย หรือเบาะๆ ก็โดน adware หรือไวรัสบุกคอม
  • เลือกคำใบ้รหัสผ่านกับ security questions ที่มีแต่คุณที่รู้คำตอบ
  • อย่าตั้งรหัสผ่านโดยใช้ชื่อหรือวันเกิดพ่อแม่ เพื่อน คนในครอบครัว และอย่าใช้รหัสผ่านที่ใครก็เดาได้ (เช่น 1234password)
  • ระวังตัวเวลาท่องเน็ต
  • ตั้งรหัสผ่านยากๆ ผสมกันทั้งตัวเลขและตัวอักษร และห้ามบอกใคร
  • รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ถึงจะดูว่าท่องเน็ตด้วยความปลอดภัย แต่แฮกเกอร์ยังมีโอกาสค้นหาและแกะรอยคุณจาก Internet Protocol (IP) address ได้
  • ระวังพวกแฮกเกอร์ในเกม และสแกมเมอร์
  • อย่าโพสต์รูปบอกตำแหน่งปัจจุบันของคุณ เช่น ตราประจำโรงเรียน หรือสัญลักษณ์อื่นๆ
  • ถ้าไม่ค่อยมั่นใจหรือยังเด็กอยู่ อย่าโพสต์รูปที่เห็นหน้าชัดเจน
  • สมัยนี้เวลาสมัครบัญชีอะไรใหม่มักบังคับให้ตั้งรหัสผ่านยากๆ ถ้าจำไม่ได้คงต้องใช้ password manager แทน
  • อย่าบอกข้อมูลล็อกอินของคุณกับคนแปลกหน้า เช่น username หรือรหัสผ่าน ทั้งของเกม เว็บ แอพ และอื่นๆ แต่จริงๆ เพื่อนก็ห้ามบอก
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคอมถูกแฮก เป็นไปได้มากว่าแฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลทั้งหมดในคอมแล้ว ให้อัพเดทโปรแกรมป้องกันแล้วกำจัดไวรัสก่อน ถ้าเอกสารและข้อมูลสำคัญถูกขโมยหรือแฮกไป ให้รีบแจ้งธนาคารหรือบริษัท และเป็นไปได้ให้แจ้งความ
  • บางอีเมลส่งมาจากเพื่อนหรืออ้างว่าเป็นเพื่อน แต่พูดอะไรแปลกๆ ก็ควรระวัง สงสัยว่าเพื่อนถูกแฮกไว้ก่อน
  • ถ้าบัญชีถูกเจาะ หลัง backup ข้อมูลที่พอเซฟได้แล้ว ให้ทิ้งบัญชีนั้นไปเลย จากนั้นแจ้งธนาคาร ที่ทำงาน และอื่นๆ รวมถึงไปเปลี่ยนรหัสผ่านทั้งหมด หรือบัญชีธนาคารที่มีข้อมูลอยู่ในอีเมลทันที อย่าลืมแจ้งผู้ให้บริการอีเมลด้วย
  • ห้ามใช้รหัสผ่านที่เรายกมาเป็นตัวอย่างในบทความวิกิฮาวนี้
  • หมั่น backup อีเมลและเอกสารสำคัญไว้ใน USB หรือพริ้นท์ใส่กระดาษ ไม่ก็ทั้งสองอย่าง
  • อย่าไปหลงเชื่ออีเมลลูกโซ่ ที่บอกให้ forward ต่อหรือทำอะไรก็ตาม เพราะกลัวจะเกิดเรื่องร้ายๆ นี่ก็ถือเป็น cyber-bullying อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่มีทางที่จะเกิดเรื่องไม่ดีกับคุณจริงๆ แบบนี้ report คนส่งอีเมลนั้นเลยดีกว่า
  • จริงๆ แล้วถ้ามีตัวตนออนไลน์เมื่อไหร่ ก็ไม่มีความเป็นส่วนตัวที่แท้จริงหรอก เพราะงั้นถ้าอยากเป็นส่วนตัวจริงๆ ก็อย่าโพสต์ หรืออย่าใช้โซเชียลมีเดีย
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 6,693 ครั้ง
หมวดหมู่: อินเทอร์เน็ต
มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,693 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา