หาเวลาที่เหมาะต่อการเปิดเผยว่าตัวเองเป็น-LGBTQ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เมื่อไหร่คือ “เวลาที่เหมาะสม” ในการเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเอง ในบทความนี้เราจะให้ข้อมูลช่วงอายุเฉลี่ยที่คนตัดสินใจบอกคนอื่นว่าตัวเองเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ในความเป็นจริงการเปิดเผยรสนิยมทางเพศนั้นเป็นทางเลือกส่วนตัว และลำดับเวลาของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณจึงต้องตัดสินใจว่าคุณจะบอกใคร บอกเมื่อไหร่ และบอกอย่างไร[1] เรารู้ว่าการเปิดเผยว่าคุณเป็นเพศอะไรนั้นเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น ทำให้คุณใจตุ้มๆ ต่อมๆ หรือแม้กระทั่งน่าหวาดหวั่น แต่คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เราอยู่ตรงนี้เพื่อช่วยคุณค้นหาเส้นทางสู่การเปิดเผยตัวตน เราจะอธิบายเหตุผลว่าทำไมบางคนจึงเลือกเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเอง ทำไมบางคนจึงเลือกที่จะรอไปก่อน และสิ่งที่อาจจะตามมาหลังจากที่คุณเปิดเผยรสนิยมทางเพศ ไม่ว่าเรื่องราวการเปิดเผยตัวตนของคุณจะเป็นอย่างไร ขอให้จำไว้ว่าคุณมีคนที่รักคุณ คุณมีคุณค่า และคุณมีสิทธิ์ที่จะเป็นตัวเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

เราควรเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ ตอนอายุเท่าไหร่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หลายคนเปิดเผยตัวตนช่วงมัธยมต้นหรือมัธยมปลาย....
    หลายคนเปิดเผยตัวตนช่วงมัธยมต้นหรือมัธยมปลาย. คุณอาจจะเริ่มสงสัยหากคุณรู้ตัวว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ ตั้งแต่อยู่ชั้นประถม และคนส่วนใหญ่จะเริ่มเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเองตอนอายุประมาณ 11-14 ปี[2] แต่ถึงอย่างนั้นในสมัยก่อนคนส่วนใหญ่มักจะไม่เปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเองจนกระทั่งเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนกลางหรืออายุประมาณ 20 ปี[3]
    • หลายคนเริ่มจากการบอกเพื่อนสนิทแทนที่จะเป็นพ่อ/แม่ ผู้ใหญ่ที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ และไบเซ็กชวล 86% เปิดเผยรสนิยมทางเพศกับเพื่อนสนิทอย่างน้อย 1 คน[4]
    • บางคนเลือกที่จะไม่เปิดเผยรสนิยมทางเพศกับคนบางคน ผู้ใหญ่ที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ และไบเซ็กชวลประมาณ 1 ใน 3 ยังไม่เคยเปิดเผยรสนิยมทางเพศให้พ่อแม่รับรู้
    • งานวิจัยมักกล่าวว่า อายุเฉลี่ยที่คนเปิดเผยรสนิยมทางเพศคือช่วงอายุประมาณ 20 ปี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนยุคมิลเลเนียลและคนรุ่นเก่า[5] วัยรุ่นเจน Z เปิดเผยรสนิยมทางเพศเมื่ออายุน้อยกว่านี้เนื่องจากสังคมเริ่มยอมรับมากขึ้น[6]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 การเปิดเผยรสนิยมทางเพศอาจเป็นกระบวนการที่ดำเนินต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่คุณสามารถกำหนดลำดับเวลาที่จะเปิดเผยตัวตนได้เอง....
    การเปิดเผยรสนิยมทางเพศอาจเป็นกระบวนการที่ดำเนินต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่คุณสามารถกำหนดลำดับเวลาที่จะเปิดเผยตัวตนได้เอง. คุณอาจเลือกบอกใครบางคนในบางช่วงของชีวิต แล้วค่อยบอกคนอื่นหลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ 2-3 เดือน หรือ 2-3 ปีต่อจากนั้น แต่ไม่ว่าอย่างไรคุณไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนเมื่อคุณอายุ 12 หรือ 20 ปีหรือตอนอายุเท่าไหร่ก็ตามหากคุณไม่พร้อม และคุณอาจจะได้เปิดเผยตัวตนของคุณครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อพบปะผู้คนใหม่ๆ ที่ไม่รู้รสนิยมทางเพศของคุณไปตลอดชีวิตเช่นกัน[7]
    • การเปิดเผยรสนิยมทางเพศครั้งแรกนั้นไม่มีช่วงอายุที่ตายตัว บางคนอาจจะบอกคนอื่นครั้งแรกตอนอายุ 14 ในขณะที่บางคนไม่เคยพูดเลยจนกระทั่งอายุ 64
    • เช่น คุณอาจจะบอกเพื่อนตอนอยู่มัธยม แต่ยังไม่บอกครอบครัวหากรู้สึกว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม
    • หรือคุณอาจเลือกบอกครอบครัว แต่ยังไม่เปิดเผยรสนิยมทางเพศกับวงสังคมนอกเหนือจากนั้นหากคุณยังไม่สบายใจที่จะบอก
    • สุดท้ายแล้วคนที่กำหนดเรื่องราวและเส้นทางชีวิตคือตัวคุณเอง ต่อจากนี้เราจะพูดเรื่องสำคัญที่คุณต้องพิจารณาเมื่อคุณเริ่มคิดที่จะเปิดเผยตัวตนตามเงื่อนไขของตัวเอง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

เหตุผลที่อาจทำให้คุณอยากเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุณอยากให้คนรอบข้างรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณ....
    คุณอยากให้คนรอบข้างรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณ. การใช้ชีวิตสองหน้าอาจทำให้คุณเครียด และการเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ ทำให้คุณได้สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแท้จริงมากขึ้น นอกจากนี้การเปิดเผยรสนิยมทางเพศยังช่วยให้คุณเห็นคุณค่าในตัวเองและรู้สึกถึงความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นด้วย และลองคิดดูสิว่าคุณอาจเป็นแบบอย่างให้ชาว LGBTQ+ ในชุมชนของคุณที่อายุน้อยกว่าคุณด้วย[8]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คุณอยากพบปะชาว LGBTQ+ คนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น.
    เมื่อคุณเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเองแล้ว คุณจะพบว่ามีกลุ่มคนเจ๋งๆ รออ้าแขนต้อนรับคุณอย่างอบอุ่น เมื่อคุณเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ คุณอาจจะสบายใจกับการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนเหล่านั้นผ่านองค์กรและคลับสำหรับชาว LGBTQ+ ในละแวกบ้านมากขึ้น แถมคุณยังมีโอกาสได้เจอและสังสรรค์กับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ พบเพื่อนใหม่ และได้สร้างความสัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้ง่ายขึ้นด้วย[11]
    • แรงสนับสนุนจากคนอื่น (ไม่ว่าเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ หรือไม่ก็ตาม) อาจมีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของคุณ[12]
    • ถ้าคุณไม่มีระบบสนับสนุนที่แข็งแกร่งหรือรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ให้ลองเข้าไปที่แหล่งเรียนรู้ท้ายบทความนี้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คุณพร้อมที่จะออกเดตหรือไม่อยากปิดบังความสัมพันธ์....
    คุณพร้อมที่จะออกเดตหรือไม่อยากปิดบังความสัมพันธ์. การคบกันแบบหลบๆ ซ่อนๆ สร้างความลำบากใจให้ทั้งคุณและคนรัก[13] การเก็บความสัมพันธ์ไว้เป็นความลับอาจทำให้รู้สึกอุ่นใจหรือปลอดภัยกว่าในช่วงแรก แต่การปิดบังชีวิตการออกเดตของคุณอาจทำให้คุณรู้สึกเบื่อหน่ายและทำให้คุณเห็นคุณค่าของตัวเองน้อยลง มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องยากหากเราไม่สามารถผนวกรวมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่สุดของเราเข้ากับส่วนอื่นๆ ในชีวิตที่ใหญ่กว่า เช่น ครอบครัว โรงเรียน และงานได้[14]
    • ถ้าคุณเลือกที่จะเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตัวเอง คุณต้องแน่ใจว่าการตัดสินใจของคุณจะไม่ส่งผลเสียต่อคนรักหากเขายังไม่ได้บอกใคร[15]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 คุณอยากให้คนอื่นเลิกเดาเสียที.
    ไม่ว่าคนอื่นจะพูดอะไร การเปิดเผยรสนิยมทางเพศเป็นการตัดสินใจของคุณเอง และคุณคือคนที่กำหนดว่าจะบอกเมื่อไหร่ ที่ไหน และอย่างไร แต่ถึงอย่างนั้นบางคนก็ตัดสินใจที่จะเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ เพราะอยากยืนยันหรือเรียกสิทธิ์ในอัตลักษณ์ของตัวเองกลับคืนมา ถ้าคนรอบข้างคุณมักจะคาดเดาอัตลักษณ์ของคุณ การเปิดเผยรสนิยมทางเพศและควบคุมข่าวลือต่างๆ ด้วยตัวเองอาจทำให้คุณรู้สึกถึงพลังของตัวเองมากขึ้น[16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

เหตุผลที่อาจทำให้คุณอยากรอไปก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุณรู้สึกว่าตัวเองตกอยู่ในอันตราย.
    ระหว่างที่คุณกำลังหาเวลาที่เหมาะสมในการเปิดเผยรสนิยมทางเพศ ให้รอไปก่อนหากคุณกังวลว่าอาจต้องเผชิญกับความรุนแรงหรือการเลือกปฏิบัติ เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง และจำไว้ว่าอย่ารีบร้อน[17] การที่คุณยังไม่เปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ ในตอนนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องปิดบังตัวตนไปตลอด แต่มันคือการที่คุณให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของตัวเองก่อนจนกว่าคุณจะได้เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างกว่านี้[18] รายการคำถามต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องถามตัวเองก่อนเปิดเผยรสนิยมทางเพศ :[19]
    • ถ้าคุณกังวลว่าจะถูกไล่ออกจากบ้าน มีศูนย์พักพิงหรือโครงการที่เป็นมิตรกับชาว LGBTQ+ อยู่ใกล้ๆ หรือไม่
    • โรงเรียนของคุณมีครูแนะแนวที่คอยให้ความช่วยเหลือและ/หรือองค์กรหรือชมรม LGBTQ+ หรือไม่
    • หากคุณเปิดเผยรสนิยมทางเพศ ที่ทำงานจะสนับสนุนคุณหรือไม่
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คุณไม่แน่ใจว่าคนอื่นจะมีท่าทีอย่างไร.
    พูดตามหลักความจริง คุณอาจจะรู้สึกกลัวที่ต้องบอกคนอื่นว่า “นี่แหละตัวฉัน!” โดยที่ไม่แน่ใจว่าคนอื่นจะพูดหรือตอบกลับมาอย่างไร[20] คุณอาจจะโยนหินถามทางเพื่อดูว่าพวกเขาสนับสนุนคุณไหมด้วยการถามความคิดเห็นของพวกเขาที่มีต่อสิทธิ์ของชาว LGBTQ+ หรือพูดถึงคนดังที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ[21] คำถามและเรื่องที่คุณอาจจะลองเกริ่นดูได้แก่ :
    • “นี่ นายได้ยินเรื่องนักฟุตบอลทีมชาติที่เพิ่งประกาศว่าเขาเป็นเกย์มั้ย”
    • “ฉันได้ยินมานะว่าในบางพื้นที่ร้านดอกไม้ไม่รับจัดดอกไม้ในงานแต่งงานของคู่เกย์ นายว่าเขาทำถูกมั้ย”
    • “นายคิดยังไงกับการที่บริษัทต่างๆ เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในเดือน Pride”
    • “คนในโรงเรียนของเราบางคนเปิดเผยว่าเขาเป็นนอนไบนารี และตอนนี้คนเริ่มพูดเรื่องการสร้างห้องน้ำที่ไม่จำกัดเพศด้วย นายคิดว่าพวกเขาควรทำยังไง”
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คุณยังไม่แน่ใจเพศวิถีและ/หรืออัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง....
    คุณยังไม่แน่ใจเพศวิถีและ/หรืออัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง. ถ้ายังตอบคำถามได้ไม่ครบทุกข้อก็ไม่เป็นไร และหากจะเปลี่ยนใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของตัวเองในภายหลังก็ไม่เป็นไรเช่นกัน[22] คุณไม่จำเป็นต้องมีชุดประสบการณ์ความรักหรือประสบการณ์ทางเพศถึงจะรู้ว่าตัวเองเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือเปิดเผยรสนิยมของตัวเองได้[23] แม้ว่าคุณไม่ควรกดดันให้ตัวเองเปิดเผยตัวตนทั้งที่ยังไม่พร้อม แต่การที่คุณเข้าใจสิ่งที่ตัวเองเป็นจะช่วยให้คุณยืนยันความรู้สึกของตัวเองและเชื่อมโยงกับกลุ่มคนที่อาจรู้สึกเหมือนกันได้[24]
    • โดยเฉลี่ย ชาว LGBTQ+ รายงานว่าพวกเขา “รู้” อัตลักษณ์ของตัวเองตั้งแต่อายุ 17 ปี แต่ว่าแต่ละคนจะเพิ่งมารู้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน[25]
    • ชาว LGBTQ+ 8% รายงานว่า พวกเขาไม่รู้รสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองจนกระทั่งถึงวัย 30 หรือมากกว่า และ 6% บอกว่าถึงตอนนี้ก็ยังไม่มั่นใจ!
    • อคติและความรู้สึกเชิงลบในสังคมอาจส่งผลต่อความรู้สึกที่คุณมีต่ออัตลักษณ์ทางเพศ LGBTQ+ และทำให้บางคนยอมรับตัวเองไม่ได้[26]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ประสบการณ์การเปิดเผยรสนิยมทางเพศที่เกิดขึ้นบ่อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุณอาจรู้สึกมีความสุขและเป็นอิสระหลังจากเปิดเผยตัวตน....
    คุณอาจรู้สึกมีความสุขและเป็นอิสระหลังจากเปิดเผยตัวตน. การเปิดเผยรสนิยมทางเพศเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ได้ทั้งหมด ถ้าคุณรู้สึกกังวล นั่นเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าคุณรู้สึกมีความสุขที่สุดและเหมือนยกภูเขาออกจากอก นั่นก็เป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน[27]
    • ชีวิตหลังจากที่คุณเปิดเผยรสนิยมทางเพศอาจยังมีทั้งขึ้นและลงและช่วงเวลาที่สับสน แต่อนาคตที่สดใสรอคุณอยู่ และการเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ นั้นทำให้คุณได้มีโอกาสใช้ชีวิตในเวอร์ชันที่ซื่อสัตย์ต่อตนเองมากที่สุด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ความสัมพันธ์ของคุณอาจแน่นแฟ้นขึ้นหรือพวกเขาอาจไม่เปลี่ยนไปเลยก็ได้....
    ความสัมพันธ์ของคุณอาจแน่นแฟ้นขึ้นหรือพวกเขาอาจไม่เปลี่ยนไปเลยก็ได้. การเปิดเผยรสนิยมทางเพศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หลายคนที่เคยอยู่ในจุดเดียวกับคุณต่างบอกว่า การเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBTQ+ นั้นคุ้มค่า ผู้ใหญ่ที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ และไบเซ็กชวลประมาณ 30-40% รายงานว่า ความสัมพันธ์ของพวกเขากับครอบครัวนั้นจริงๆ แล้วยิ่งแน่นแฟ้นหลังจากที่เขาเปิดเผยตัวตน[28]
    • นอกจากนี้ผู้ใหญ่ชาวเควียร์ประมาณ 30-40% ยังรายงานด้วยว่า ความสัมพันธ์ของพวกเขาไม่เปลี่ยนไปเลย
    • ผู้ใหญ่ชาวเควียร์จำนวนน้อยรายงานว่า ความสัมพันธ์ของพวกเขากับครอบครัวย่ำแย่หลังจากเปิดเผยตัวตน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 บางคนอาจเสียใจและต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ.
    ความจริงคือไม่ใช่ทุกคนที่ยอมรับได้เมื่อรู้ว่าคุณเป็น LGBTQ+ และคุณไม่ควรเปิดเผยรสนิยมทางเพศหากคุณคิดว่ามันอันตรายกับตัวคุณ [29] อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป พ่อแม่และคนที่พวกเขารักส่วนใหญ่จะเปลี่ยนใจกลับมายอมรับพวกเขา[30]
    • ลองนึกดูว่าคุณต้องใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นใคร และคุณอาจจะวางแผนเปิดเผยรสนิยมทางเพศให้คนอื่นรู้มาหลายปี แต่ในขณะเดียวกันการที่คนอื่นรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณอาจเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับเขา และข้อมูลนี้อาจขัดกับความเชื่อที่เขามีมานาน[31]
    • ในสหรัฐฯ พ่อแม่ 6 ใน 10 คนบอกไม่เสียใจหากรู้ว่าลูกเป็นเกย์/เลสเบี้ยน[32]
    • ถ้าเขาเสียใจที่รู้ว่าคุณเป็น LGBTQ+ ให้บอกเขาว่า “ฉันรู้ว่าเธอไม่สบายใจ แต่ฉันยังรักเธอเหมือนเดิมและเป็นคนเดิมเหมือนที่เธอเคยรู้จักมาตลอด”[33]
    • นอกจากนี้คุณก็อาจกำหนดขอบเขตและยุติบทสนทนาด้วยการพูดว่า “ฉันขอพูดแค่นี้ก่อน แต่เดี๋ยวเราค่อยกลับมาคุยเรื่องนี้กันใหม่”
  4. How.com.vn ไท: Step 4 คนอื่นอาจตั้งคำถามหรือบอกคุณว่า อัตลักษณ์ของคุณเป็นแค่ช่วงหนึ่งในชีวิตเท่านั้น....
    คนอื่นอาจตั้งคำถามหรือบอกคุณว่า อัตลักษณ์ของคุณเป็นแค่ช่วงหนึ่งในชีวิตเท่านั้น. รู้ไว้ว่าบางคนจะยอมรับในสิ่งที่คุณเป็น และบางคนก็ไม่เห็นด้วยเล็กน้อยและไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แค่จำไว้ว่าคุณคือผู้กุมบังเหียนชีวิตของตัวเอง และคุณมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกอย่างไรก็ได้[34] เพื่อให้คนอื่นเข้าใจตรงกันกับคุณ พยายามนึกถึงคำถามต่างๆ ที่พวกเขาอาจจะถาม คุณจะได้อธิบายความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของคุณและความหมายของตัวตนที่คุณเป็น[35]
    • คนอื่นอาจจะถามคุณประมาณว่า “รู้ตัวมานานแค่ไหน” หรือ “ทำไมไม่เคยบอกเลย” หรือ “รู้ได้ยังไง แน่ใจเหรอ”
    • คุณอาจเตรียมคำพูดทำนองว่า “มีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองเยอะแยะเลยค่ะที่อธิบายพ่อแม่ได้ดีกว่าหนู เดี๋ยวหนูเอาให้ดูนะคะ” จากนั้นคุณก็เปิดแหล่งเรียนรู้ท้ายบทความนี้ให้พวกเขาดู[36]
    • ถ้าพวกเขาถามคำถามที่คุณตอบไม่ได้ ให้ตอบว่า “ฉันตอบไม่ได้ทั้งหมดหรอก”[37]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เข้าไปอ่านบทความที่เว็บไซต์ https://themomentum.co/momentum-feature-comingout2016/ เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์จริงจากคนที่เคยอยู่จุดเดียวกับคุณมาก่อน
  • ไปที่เว็บไซต์ http://www.rsat.info/ เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
  • ส่งลิงก์รายการพอดแคสต์ Balanced Mama ในหัวข้อ “พ่อแม่ควรทำความเข้าใจอย่างไร ในวันที่ลูกมาบอกว่าเป็น LGBTQ” https://www.youtube.com/watch?v=RM6fO-GahyE หากคุณต้องตัวช่วยในการพูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการเปิดเผยรสนิยมทางเพศ
  • เข้าเว็บไซต์ https://www.amnesty.or.th/our-work/lgbt/ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
  • โทรหามูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ที่เบอร์ 0865974636
  • โทรหาบริการสายด่วนสุขภาพจิตได้ที่เบอร์ 1323 หากคุณอยู่ในภาวะวิกฤตหรือต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต
โฆษณา
  1. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17338603/
  2. https://www.apa.org/topics/lgbtq/orientation
  3. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2017/09/ComingOutAsYou.pdf
  4. https://kidshealth.org/en/teens/coming-out.html
  5. https://www.psychologytoday.com/us/blog/why-bad-looks-good/201903/the-truth-about-secret-relationships
  6. https://www.loveisrespect.org/resources/dating-in-the-closet/
  7. https://kidshealth.org/en/teens/coming-out.html
  8. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2019/10/Coming-Out-Handbook.pdf
  9. https://lgbtqia.ucdavis.edu/support/coming-out
  10. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2017/09/ComingOutAsYou.pdf
  11. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5145776/
  12. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2019/10/Coming-Out-Handbook.pdf
  13. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/
  14. https://www.apa.org/topics/lgbtq/orientation
  15. https://lgbtqia.ucdavis.edu/support/coming-out
  16. https://www.pewresearch.org/social-trends/2013/06/13/chapter-3-the-coming-out-experience/
  17. https://www.apa.org/topics/lgbtq/orientation
  18. https://www.hrc.org/resources/coming-out-living-authentically-as-lesbian-gay-and-bisexual
  19. https://www.pewresearch.org/social-trends/2013/06/13/chapter-3-the-coming-out-experience/
  20. https://kidshealth.org/en/teens/coming-out.html
  21. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/
  22. https://www.thetrevorproject.org/wp-content/uploads/2017/09/ComingOutAsYou.pdf
  23. https://www.pewresearch.org/fact-tank/2015/06/29/most-americans-now-say-learning-their-child-is-gay-wouldnt-upset-them/
  24. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/
  25. https://hrc-prod-requests.s3-us-west-2.amazonaws.com/ComingOut-LGB-Resource-2020.pdf
  26. https://www.plannedparenthood.org/learn/sexual-orientation/sexual-orientation/whats-coming-out
  27. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/
  28. https://www.strongfamilyalliance.org/how-to-come-out-to-parents/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Kateri Berasi, PsyD
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Kateri Berasi, PsyD. ดร. แคทเทอรี บาเรซีเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาตในบรุกลิน นิวยอร์ก ดร. บาเรซีเชี่ยวชาญการช่วยเหลือผู้คนกลุ่ม LGBTQIA+ และผู้คนกลุ่มอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ เธอใช้วิธีการบำบัดเป็นรายบุคคล การให้คำปรึกษาคู่สมรส การบำบัดเป็นกลุ่ม และการบำบัดโดยใช้เครื่องแต่งกาย เธอมีประสบการณ์ในแวดวงสุขภาพจิตมากกว่าสิบปี เธอได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาจิตวิทยา สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ สาขาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส จากมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ดร. บาเรซียังจบปริญญาเอกด้านจิตวิทยา สาขาจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยลองไอส์แลนด์อีกด้วย
มีการเข้าถึงหน้านี้ 556 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา