ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าลูกของคุณมักจะทำอะไรนอกบรรทัดฐานทางเพศอยู่เสมอ คุณก็อาจจะสงสัยว่าลูกเป็นคนข้ามเพศหรือเปล่า คุณอาจจะฟังดูว่าลูกแสดงอัตลักษณ์เพศอย่างไรและลองสังเกตแนวโน้มที่จะไม่ประพฤติตนให้สอดคล้องกับเพศสภาพ แต่ก็ระวังอย่าตีความมากเกินไป เพราะบรรทัดฐานทางเพศหลายอย่างจริงๆ แล้วก็เกิดจากการเหมารวม เช่น เด็กผู้ชายที่ชอบเล่นตุ๊กตาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนข้ามเพศเสมอไป ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ คุณต้องช่วยลูกสำรวจความรู้สึกและอัตลักษณ์ทางเพศของเขา ถ้าเขาเป็นคนข้ามเพศ คุณก็ต้องให้ความรัก การสนับสนุน และทรัพยากรต่างๆ แก่เขาเหมือนเดิม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สังเกตพฤติกรรมของลูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตว่าลูกมีแนวโน้มที่จะไม่ประพฤติตนให้สอดคล้องกับเพศสภาพหรือเปล่า....
    สังเกตว่าลูกมีแนวโน้มที่จะไม่ประพฤติตนให้สอดคล้องกับเพศสภาพหรือเปล่า. คุณอาจจะสังเกตว่าลูกสาวชอบเล่นของเล่นที่โดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นของเล่น “ของเด็กผู้ชาย" แต่ก็ต้องจำไว้ว่าแค่เพราะลูกสาวชอบเล่นรถบรรทุกก็ไม่ได้หมายความว่าเธอเป็นคนข้ามเพศ แต่ถ้าลูกของคุณแสดงออกถึงความชอบอย่างแรงกล้าต่อสิ่งที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังทางเพศอยู่เสมอ คุณก็อาจจะต้องคอยสังเกตอยู่เรื่อยๆ[1][2]
    • เด็กที่ประพฤติตัวไม่สอดคล้องกับเพศสภาพในบางเรื่องอาจจะแค่ไม่อยากทำอย่างนั้น แต่เด็กที่ประพฤติตัวไม่ตรงกับเพศสภาพในหลายๆ เรื่อง และมักจะแสดงความไม่พอใจอย่างมากที่ถูกบังคับให้ประพฤติตัวตามเพศกำเนิดนั้นเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะเป็นคนข้ามเพศ
    • จำไว้ว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศส่วนใหญ่เกิดจากการเหมารวม เช่น เด็กผู้ชายไม่ได้ถูกพันธุกรรมกำหนดว่าต้องชอบสีฟ้า
  2. How.com.vn ไท: Step 2 มองหาสัญญาณระหว่างที่สังเกต.
    เด็กที่เป็นคนข้ามเพศมักจะแสดงสัญญาณที่บ่งบอกถึงเพศที่แท้จริงของเขา การเล่นในจินตนาการ ชุดที่เขาอยากใส่ และวิธีการดูแลเสื้อผ้าหน้าผมของเขามักจะบอกถึงเพศที่แท้จริง ลูกของคุณอาจเป็นคนข้ามเพศหากเขาแสดงสัญญาณหลายอย่างต่อไปนี้[3]
    • ยืนกรานที่จะไปซื้อของในแผนกของเด็กผู้หญิง/เด็กผู้ชาย
    • ตั้งชื่อผู้ชาย/ผู้หญิงให้ตัวเอง
    • ชอบเล่นกับเพื่อนที่เป็นเพศตรงข้าม (ที่เป็นเพศเดียวกับที่ลูกอยากเป็น)
    • บ่นเรื่องทรงผม
    • ชอบเล่นเป็นตัวละครในหนังสือหรือภาพยนตร์ที่เป็นเพศเดียวกับที่เขาอยากเป็น
    • เกลียดอวัยวะเพศของตัวเอง
    • ชื่นชมเด็กผู้ชาย/เด็กผู้หญิงที่แก่กว่าและอยากเป็นเหมือนเขา
    • ขอให้ซื้อหนังสือหรือของเล่นที่บอกว่า "สำหรับเด็กผู้ชาย" หรือ "สำหรับเด็กผู้หญิง"
    • อยากเกิดใหม่ตามเพศที่แท้จริงของเขา
    • ร้องไห้ที่เกิดมาเป็นเพศตามกำเนิด[4]
    • มีความสุขมากเวลาที่คุณให้เขาทำในสิ่งที่เกี่ยวกับเพศที่เขาอยากเป็น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตสัญญาณของความทุกข์เมื่อถูกบังคับให้สวมบทบาททางเพศที่ไม่เหมาะสม....
    สังเกตสัญญาณของความทุกข์เมื่อถูกบังคับให้สวมบทบาททางเพศที่ไม่เหมาะสม. เช่น ถ้า "ลูกชาย" ของคุณกรีดร้องโวยวายเรื่องทรงผมเพราะเธอทนไว้ผมสั้นไม่ได้ หรือถ้า "น้องสาว" ของคุณร้องไห้เมื่อเขาไม่ได้เสื้อผ้าจากแผนกเสื้อผ้าเด็กผู้ชาย ก็เป็นสัญญาณว่าลูกของคุณเป็นคนข้ามเพศ เพศเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นลูกของคุณจึงรู้สึก (และแสดงออก) เหมือนว่าโลกกำลังจะแตกถ้าเขาต้องแกล้งเป็นคนที่เขาไม่ได้เป็น
    • สังเกตอาการหัวฟัดหัวเหวี่ยงเรื่องทรงผม การซื้อเสื้อผ้า การใส่/ไม่ใส่สีชมพู และการดูแลเสื้อผ้าหน้าผมอื่นๆ มันอาจจะรู้สึกเหมือนคุณต้องสู้กับลูกเวลาที่คุณให้เขาปฏิบัติตามบทบาททางเพศ
    • สังเกตเวลาเขาเถียง เช่น ถ้าคุณพูดว่า "เด็กผู้ชายใส่กระโปรงไม่ได้นะ" แล้วลูกตอบกลับมาว่า "แต่ผมไม่ได้เป็นเด็กผู้ชายที่ใส่กระโปรงนะครับ ผมเป็นเด็กผู้หญิงต่างหาก!" ก็เป็นไปได้ว่าเขาอาจจะเป็นคนข้ามเพศ[5]
    • สังเกตปัญหาด้านพฤติกรรม อาการซึมเศร้า และสุขภาพจิตที่ไม่ดี เด็กที่ถูกบังคับให้สวมบทบาททางเพศที่ไม่เหมาะสมอาจไม่พอใจและแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างรุนแรง และอาจจะสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีไว้ในใจด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์ได้ในอีกหลายปีข้างหน้า แต่ก็โชคดีที่การเปลี่ยนเพศมักจะแก้ปัญหานี้ได้เกือบหมด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ฟังว่าลูกนิยามตัวเองอย่างไร.
    ลูกของคุณอาจใช้คำพูดในการแสดงตัวตน ถ้าลูกคุณมั่นใจในอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองมากๆ เขาก็อาจจะพูดว่า “หนูรู้ว่าหนูเป็นผู้ชาย!” แม้ว่าเพศโดยกำเนิดของเขาจะเป็นเพศหญิงก็ตาม[6]
    • เขาอาจจะพูดว่า “ไม่นะ ผมเป็นผู้หญิงจริงๆ!” แม้ว่าเขาจะเป็นผู้ชายโดยกำเนิดก็ตาม
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รู้ว่าพัฒนาการทางเพศเริ่มตั้งแต่เด็ก.
    โดยทั่วไปพัฒนาการทางเพศจะเริ่มเมื่อตอนอายุประมาณ 3 ขวบ แต่ในเด็กบางคนก็อาจจะเริ่มตั้งแต่ 2 ขวบหรือ 18 เดือน[7][8]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 มองหาความสม่ำเสมอ.
    ถ้าลูกยืนกรานให้คุณเรียกเขาว่า “เจมส์” ในวันหยุดสุดสัปดาห์ นั่นก็อาจจะไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นคนข้ามเพศ เพราะมันเป็นเรื่องปกติที่เด็กเล็กจะก้าวผ่านช่วงของการสมมุติว่าตัวเองเป็นอีกเพศหนึ่ง แต่ถ้าลูกของคุณยืนยันอยู่เสมอว่าเขาเป็นอีกเพศหนึ่งจริงๆ ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเขาเป็นบุคคลข้ามเพศ[9]
    • เด็กที่ยืนยันเพศที่แท้จริงของตัวเองอยู่เสมอมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนข้ามเพศสูงมาก กระบวนการข้ามเพศจะมีประโยชน์ต่อพัฒนาการด้านสังคม การจดจ่อขณะเรียนหนังสือ และความเป็นอยู่ที่ดีด้านอารมณ์ของเด็ก และช่วยลดปัญหาด้านพฤติกรรมได้อย่างมาก[10]
    • เด็กบางคนจะก้าวเข้าสู่ช่วงที่เขานิยามตัวเองว่าเป็นอีกเพศหนึ่งเป็นเวลานานในช่วงที่เขายังเด็ก ซึ่งช่วงนั้นมักจะสิ้นสุดตอนอายุประมาณ 9 หรือ 10 ขวบ[ต้องการเอกสารอ้างอิง]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 รู้ว่าเด็กบางคนอาจจะไม่เข้าใจเพศของตัวเองจนกระทั่งถึงวัยเจริญพันธุ์หรือช้ากว่านั้น....
    รู้ว่าเด็กบางคนอาจจะไม่เข้าใจเพศของตัวเองจนกระทั่งถึงวัยเจริญพันธุ์หรือช้ากว่านั้น. ลูกของคุณอาจจะไม่ได้ตั้งคำถามเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศจนกว่าเขาจะโตอีกหน่อย วัยเจริญพันธุ์เป็นช่วงเวลาปกติที่วัยรุ่นจะเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง การเปลี่ยนแปลงในร่างกายและฮอร์โมนอาจทำให้ลูกตระหนักถึงร่างกายตัวเองและรู้ว่ามันทำให้เขารู้สึกอย่างไรมากขึ้น[11]
    • วัยเจริญพันธุ์และหลายปีต่อจากนั้นเป็นช่วงเวลาปกติที่เด็กจะเริ่มสำรวจเพศของตัวเอง รับฟังเมื่อเขาบอกว่า จริงๆ แล้วเขารู้สึกว่าตัวเองเป็นอีกเพศหนึ่ง
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ให้เวลาทดลองถ้าลูกสนใจ.
    การปล่อยให้เขาได้มีอิสระในการสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองมีประโยชน์กับเขาอย่างมาก ถ้าลูกคิดว่าเขาเป็นคนข้ามเพศ ให้กำหนดช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือสัก 2-3 วันที่เขาจะได้ “เป็น” เพศตรงข้ามสักพัก ซึ่งอาจจะรวมถึงการที่คุณเรียกเขาว่า “เจน” และสนับสนุนให้เขาใส่ชุดเดรสด้วย เป็นต้น[12]
    • ปล่อยให้ลูกเป็นผู้นำในช่วงทดลองนี้ อย่ากดดันให้เขาทำในสิ่งที่เขาไม่อยากลอง เช่น การเรียกเขาด้วยชื่ออื่น
    • สังเกตลูกในช่วงทดลอง เขาดูมีความสุขหรือมั่นใจขึ้นไหม เขาสนุกสนานมากขึ้นหรือเปล่า วิธีนี้จะช่วยให้คุณบอกได้ว่า สิ่งนี้ทำให้ลูกของคุณมีความสุขหรือเปล่า
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ให้ลูกได้สำรวจอัตลักษณ์ทางเพศกับนักบำบัดหรือที่ปรึกษา....
    ให้ลูกได้สำรวจอัตลักษณ์ทางเพศกับนักบำบัดหรือที่ปรึกษา. ลูกอาจจะไม่สบายใจที่จะคุยเรื่องนี้กับคุณมากนัก หรือคุณอาจจะคิดว่าตัวเองไม่สามารถสนับสนุนลูกได้อย่างเต็มที่ตามที่เขาต้องการ ก็ให้ลองหาที่ปรึกษาหรือนักบำบัดมาช่วยคุณในส่วนนี้[13]
    • ลองหาผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตที่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับเด็กข้ามเพศ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เข้าใจว่าคนข้ามเพศคืออะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Step 1 เข้าใจความหมายของคำว่า “คนข้ามเพศ."
    กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ยังคงถกเถียงกันเรื่องความหมาย และคำนี้เองก็เปลี่ยนความหมายไปมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ฉันทามติทั่วไปก็คือ คนข้ามเพศหมายถึงคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือพฤติกรรมทางเพศที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมของเพศโดยกำเนิด[14]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เรียนรู้ว่าอะไรที่ทำให้ลูกเป็นคนข้ามเพศ.
    การเป็นคนข้ามเพศไม่ได้เป็นสิ่งที่เขาเลือกเป็น และไม่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูของคุณด้วย มันเป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่จะพูดว่า “ฉันทำอะไรเขาถึงได้เป็นแบบนี้” ซึ่งคำตอบก็คือคุณ “ไม่ได้ทำอะไรเลย” เด็กข้ามเพศเกิดมาเป็นแบบนั้นเอง[15]
    • รู้ว่าการเป็นคนข้ามเพศไม่ใช่เรื่อง “ผิดปกติ” มันเป็นเรื่องปกติมากๆ ที่เด็กจะเกิดมาเป็นคนข้ามเพศ และถ้าลูกคุณเป็นคนข้ามเพศ คุณก็ควรสนับสนุนลูกอย่างเต็มที่แทนที่จะมัวไปกังวลว่าอะไรคือความ "ปกติ"
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้ว่าบางคนอาจใช้เวลาในการตระหนักและแสดงเพศที่แท้จริงนานกว่าคนอื่น....
    รู้ว่าบางคนอาจใช้เวลาในการตระหนักและแสดงเพศที่แท้จริงนานกว่าคนอื่น. แม้ว่าเด็กบางคนอาจจะประกาศเพศที่แท้จริงออกมาดังๆ ตั้งแต่ 3 ขวบ แต่บางคนก็ใช้เวลานานกว่าจะรู้ว่าตัวเองกำลังพยายามมีชีวิตที่ไม่ตรงตามเพศที่แท้จริงอยู่ สิ่งที่อาจชะลอกระบวนการค้นพบเพศที่แท้จริงก็เช่น[16]
    • ความไม่รู้
    • การกลัวถูกปฏิเสธ
    • เคยเห็นการตราหน้า
    • เคยแสดงตัวตนออกมาแล้วถูกล้อหรือถูกดุ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อ่านบทความจากแหล่งที่เชื่อถือได้.
    อย่าฟังมายาคติหรือข่าวลือ ค่อยๆ ศึกษาว่าคนข้ามเพศคืออะไร ลองเข้าไปดูในเว็บไซต์ของสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยก็ได้[17]
    • คุณอาจจะไปที่ห้องสมุดสาธารณะแล้วสอบถามบรรณารักษ์ว่ามีหนังสือดีๆ เกี่ยวกับคนข้ามเพศไหม
    • อ่านเรื่องราวที่เขียนโดยคนข้ามเพศ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงจะช่วยให้คุณเข้าใจว่าการเป็นคนข้ามเพศนั้นเป็นอย่างไร
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รู้ความแตกต่างระหว่างระยะสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริงกับการเป็นคนข้ามเพศ....
    รู้ความแตกต่างระหว่างระยะสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริงกับการเป็นคนข้ามเพศ. ถ้าลูกของคุณยืนกรานว่าเขาเป็นอีกเพศหนึ่งมาโดยตลอด ก็เป็นไปได้มากๆ ว่ามันไม่ใช่แค่ระยะสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศ[18][19]
    • ถ้าลูกคิดว่านี่อาจจะเป็นแค่ระยะสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศ ก็ให้พูดคุยเรื่องนี้กับลูกก่อนลงมือเปลี่ยนแปลงอะไร เด็กที่บอกว่ามันก็ "แค่ช่วงเวลาค้นหาเพศของตัวเอง" อาจจะโกหกเพราะคนอื่นปฏิบัติกับเขาไม่ดี หรือเขาคิดว่าคุณจะรักเขาน้อยลงถ้าเขาเป็นคนข้ามเพศ คุณต้องทำให้เขารู้ว่าคุณรักเขาไม่ว่าเขาจะเป็นเพศไหน และเขาเองก็จริงจังกับเรื่องนี้จริงๆ เหมือนกัน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์.
    ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคนข้ามเพศในเชิงวิทยาศาสตร์ ก็ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวของลูก ถ้าคุณสงสัยเกี่ยวกับผลกระทบทางจิตใจ ก็ให้ปรึกษานักบำบัด จำไว้ว่าช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาที่สับสนสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นคุณอาจจะต้องการความช่วยเหลือภายนอกด้วยการไปพบที่ปรึกษาเพื่อช่วยให้คุณทำความเข้าใจกับการสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศของลูกได้[20]
    • ผู้เชี่ยวชาญมักจะรอบคอบมากๆ และไม่เร่งรัดให้ลูกทำในสิ่งที่เขายังไม่พร้อม[21] จำไว้ว่าแค่เพราะว่าคุณไม่พร้อมก็ไม่ได้หมายความว่าลูกของคุณจะไม่พร้อมไปด้วย หรือว่าเขาจะไม่เจ็บปวดที่ต้องรอให้คุณพร้อมเท่าเขา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ช่วยให้ลูกรู้สึกสบายใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ให้ลูกเป็นคนนำ ถ้าคุณตั้งใจฟังลูก ลูกจะบอกว่าเขาต้องการอะไร....
    ให้ลูกเป็นคนนำ ถ้าคุณตั้งใจฟังลูก ลูกจะบอกว่าเขาต้องการอะไร. สิ่งนี้จะช่วยแยกความแตกต่างระหว่างเด็กที่บอกว่า "ผมเป็นเด็กผู้หญิง" กับเด็กผู้ชายที่แค่ชอบใส่เดรสเฉยๆ
    • การเลือกที่จะเข้าสู่กระบวนการข้ามเพศ (หรือไม่) นั้นควรขึ้นอยู่กับความต้องการและความสุขของลูก ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณคิดว่าลูกควรเป็น อย่าห้ามไม่ให้ลูกเป็นตัวของตัวเองเพราะว่าคุณไม่สบายใจ และอย่าเร่งเร้าให้เด็กที่ไม่ประพฤติตัวตามบรรทัดฐานทางเพศให้เข้าสู่กระบวนการข้ามเพศถ้าเขาไม่ได้อยากทำ[22]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้ว่าการสนับสนุนของคุณสร้างความแตกต่างให้กับอนาคตของลูกได้มากแค่ไหน....
    รู้ว่าการสนับสนุนของคุณสร้างความแตกต่างให้กับอนาคตของลูกได้มากแค่ไหน. คนข้ามเพศที่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวมีแนวโน้มที่จะพยายามฆ่าตัวตาย กลายเป็นคนไร้บ้าน หรือประสบกับปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรงน้อยมากๆ[23] นอกจากนี้การสนับสนุนจากครอบครัวยังช่วยให้เด็กสามารถรับมือกับปัญหาอย่างการถูกกลั่นแกล้งและการกีดกันทางเพศได้ ซึ่งจะช่วยลดความร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพจิตของเด็กด้วย[24] การยอมรับและการสนับสนุนเพศที่แท้จริงของลูกช่วยปกป้องลูกจากหลายๆ ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนข้ามเพศได้
    • งานวิจัยกล่าวว่าเด็กข้ามเพศที่เข้าสู่กระบวนการข้ามเพศมีอัตราเป็นโรคซึมเศร้าเท่ากับคนที่มีเพศตรงตามสภาพ และมีอัตราความวิตกกังวลมากกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[25]
    • แต่ในทางตรงกันข้าม คนข้ามเพศที่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการข้ามเพศมีอัตราการเกิดปัญหาสุขภาพจิตสูงมากๆ[26]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สนับสนุนลูก.
    ถ้าลูกแสดงความเปลี่ยนแปลงด้านอัตลักษณ์ทางเพศออกมา พยายามอย่าแสดงออกในทางลบ อย่าวิจารณ์หรือบอกเขาว่าคุณไม่อยากฟังเรื่องนี้อีก แต่ปล่อยให้เขาได้สำรวจอัตลักษณ์ของตัวเองด้วยการลองทำกิจกรรมใหม่ๆ หรือแต่งตัวในแบบที่ต่างออกไป ถ้าคุณกังวล ให้ปรึกษาคู่สมรสหรือแพทย์ประจำตัวลูก แต่อย่าเล่าความกังวลของคุณให้ลูกฟัง[27]
    • รักลูกอย่างที่เขาเป็น เพราะเขาอาจจะกำลังผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากอยู่ คุณต้องทำให้เขารู้ว่าคุณรักเขาอย่างไม่มีเงื่อนไข
    • คุณอาจจะบอกเขาว่า “แม่รู้ว่าลูกกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แต่แม่อยากให้ลูกรู้ไว้ว่าแม่รักลูกเสมอ”[28]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ยืนหยัดเพื่อลูก.
    ถ้าลูกของคุณประพฤติตัวนอกกรอบบรรทัดฐานทางเพศ เขาก็อาจจะถูกล้อหรือโดนแกล้ง เช่น เด็กคนอื่นอาจจะหัวเราะเยาะที่ลูกสาวของคุณแต่งตัวเหมือนเด็กผู้ชาย ช่วยลูกแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ บอกให้เขารู้ว่าคุณจะเป็นตัวแทนไปคุยกับครูหรือพ่อแม่ของเด็กพวกนั้นเอง[29]
    • ถ้าคุณได้ยินใครวิจารณ์คนข้ามเพศในเชิงลบ ให้บอกเขาไปว่า “วิจารณ์แบบนี้ไม่ดีเลยนะคะ ขอร้องว่าอย่าพูดอีกเลยค่ะ”
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ให้ความช่วยเหลือในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม....
    ให้ความช่วยเหลือในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็คือการที่ลูกอาจจะเลือกใช้ชีวิตเป็นอีกเพศหนึ่ง พยายามเคารพการตัดสินใจของลูก ถ้าลูกอย่างจะแต่งตัวอีกแบบ ก็ปล่อยเขา ถ้าเขาอยากให้คุณเรียกเขาอีกชื่อหนึ่ง ก็ให้เป็นการตัดสินใจของเขา[30]
    • รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นสิ่งที่ย้อนกลับได้ถ้าลูกเปลี่ยนใจในภายหลัง ถ้าสุดท้ายมันเป็นแค่ช่วงสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศ ลูกของคุณก็สามารถกลับมาไว้ผมและแต่งตัวแบบเดิมได้ และเขาก็จะจำได้ว่าคุณสนับสนุนเขาในระหว่างที่เขากำลังหาคำตอบ ซึ่งมันมีความหมายกับเขามาก
    • อย่าตื่นตระหนกเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แม้ว่าพ่อแม่บางคนอาจจะทำใจกับแนวคิดนี้ได้ยากในช่วงแรกๆ แต่จำไว้ว่าเรื่องนี้สำคัญกับลูก และมันก็สามารถย้อนกลับไปได้ถ้าสุดท้ายแล้วลูกไม่มีความสุขที่จะเป็นแบบนี้[31]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สังเกตสัญญาณของอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล.
    เด็กข้ามเพศอาจจะรู้สึกถึงความกดดันมหาศาล และอาจจะต้องอดทนต่อการถูกกลั่นแกล้ง การกีดกันทางเพศ และการไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมหรือแม้กระทั่งคนในบ้าน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อตัวเด็กได้ เด็กที่ประพฤติตนไม่สอดคล้องกับเพศสภาพทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่า ถ้าคุณสังเกตเห็นสัญญาณของปัญหา ให้พาลูกไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต คุณควรสังเกตสัญญาณต่อไปนี้ให้ดี[32]
    • นอนมากเกินไป
    • น้ำหนักลงหรือขึ้นฉับพลัน
    • ไม่กระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมที่เขาเคยชอบมาก่อน
    • อารมณ์แกว่งไปแกว่งมาอย่างเห็นได้ชัด
  7. How.com.vn ไท: Step 7 สำรวจตัวเลือกทางการแพทย์ถ้าลูกเป็นคนข้ามเพศ....
    สำรวจตัวเลือกทางการแพทย์ถ้าลูกเป็นคนข้ามเพศ. ลูกของคุณอาจจะอยากสบายใจกับร่างกายของตัวเองมากกว่านี้ ตัวเลือกทางการแพทย์เองก็มีไว้เพื่อสนับสนุนเขา ไม่ใช่ "รักษา" การเป็นคนข้ามเพศ ปรึกษาแพทย์ประจำตัวลูกว่าทางเลือกเหล่านี้เหมาะกับเขาไหม[33]
    • สำหรับวัยรุ่น ยาระงับการเจริญพันธุ์ช่วยหยุดความบอบช้ำทางจิตใจที่เกิดจากการเข้าสู่การเจริญพันธุ์ที่ไม่ถูกต้องได้ ซึ่งตัวยาแค่ทำหน้าที่ชะลอการเจริญพันธุ์เท่านั้น และลูกสามารถกลับเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เหมือนเดิมแน่นอน[34] วิธีนี้เป็น "ทางเลือกที่เป็นกลาง" ที่ดีที่สุดและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้[35]
    • สำหรับวัยรุ่นตอนปลายหรือผู้ใหญ่ ลูกอาจจะเริ่มรับประทานฮอร์โมนเพื่อช่วยให้เขาเข้าสู่การเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องตามเพศที่แท้จริงได้
    • สำหรับผู้ใหญ่ เขาก็อาจจะเลือกการผ่าตัดยืนยันเพศ ซึ่งบางคนก็อยากทำ แต่บางคนไม่ทำก็ไม่เป็นไร
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รู้ว่าเด็กหลายคนต้องเผชิญสิ่งนี้
  • สนับสนุนลูกอยู่เสมอ ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ให้พบนักบำบัด
  • เมื่อลูกบอกคุณว่าเขาเป็นอีกเพศหนึ่ง อย่าบอกเขาว่ามันเป็นแค่ช่วงสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศหรือปฏิเสธไม่ให้เขานิยามตัวเองว่าเป็นอีกเพศหนึ่ง
  • ทำหน้าที่ของพ่อแม่และสนับสนุนลูก การเป็นคนข้ามเพศไม่ควรสร้างความแตกต่างในเรื่องการให้ความรักและการสนับสนุนที่คุณควรมอบให้ลูกอยู่แล้ว
  • คุณต้องศึกษาและพูดคุยเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศอื่นๆ ถ้าลูกไม่เป็นเพศไหนเลยในสองเพศ ลูกก็อาจจะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับเพศสภาพ เพราะฉะนั้นคุณต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเพศที่เขาเรียกกันว่า ‘เพศที่สาม’ ด้วย ถ้าลูกของคุณเข้าๆ ออกๆ ช่วงสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศอยู่เสมอ ก็เป็นไปได้มากๆ ว่าเขาจะเป็นคนที่พฤติกรรมไม่สอดคล้องกับเพศสภาพหรือจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของคนประเภทนั้นอีกที และรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะมีใครมาแปะป้ายเขาเป็นเพศอะไร คุณต้องเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง เผื่อว่าคุณต้องสนับสนุนและให้คำแนะนำลูกเวลาที่เขาสับสน
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าให้ลูกเข้ารับการบำบัด "แก้เพศวิถี" ที่เป็นอันตรายและมีจุดมุ่งหมายคือเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางเพศของลูก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของลูก และอาจทำให้เขาฆ่าตัวตายได้[36]
โฆษณา
  1. https://www.reuters.com/article/us-usa-lgbt-parenting/u-s-parents-accept-childrens-transgender-identity-by-age-three-idUSKBN14B1C8
  2. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  3. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-youth-ask-the-expert-is-my-child-transgender
  4. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  5. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-youth-ask-the-expert-is-my-child-transgender
  6. http://www.pflagsf.org/wp-content/uploads/2012/12/Early_Childhood_Development__Your_Options__How_Do_I_Know_If_My_Child_Is_Transgender.pdf
  7. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-and-youth-understanding-the-basics
  8. http://www.pflagsf.org/wp-content/uploads/2012/12/Early_Childhood_Development__Your_Options__How_Do_I_Know_If_My_Child_Is_Transgender.pdf
  9. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-and-youth-understanding-the-basics
  10. http://www.parents.com/parenting/my-transgender-child-this-is-how-i-know/
  11. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  12. https://www.thedailybeast.com/its-absurd-to-claim-that-trans-kids-are-being-rushed-into-transitioning
  13. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-youth-ask-the-expert-is-my-child-transgender
  14. https://www.reuters.com/article/us-usa-lgbt-parenting/u-s-parents-accept-childrens-transgender-identity-by-age-three-idUSKBN14B1C8
  15. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-and-youth-understanding-the-basics
  16. https://www.reuters.com/article/us-usa-lgbt-parenting/u-s-parents-accept-childrens-transgender-identity-by-age-three-idUSKBN14B1C8
  17. https://www.thedailybeast.com/its-absurd-to-claim-that-trans-kids-are-being-rushed-into-transitioning
  18. http://www.pflagsf.org/wp-content/uploads/2012/12/Early_Childhood_Development__Your_Options__How_Do_I_Know_If_My_Child_Is_Transgender.pdf
  19. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  20. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  21. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  22. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-youth-ask-the-expert-is-my-child-transgender
  23. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  24. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/gradeschool/Pages/Gender-Non-Conforming-Transgender-Children.aspx
  25. http://kuow.org/post/when-do-kids-know-they-re-transgender-younger-youd-think
  26. https://www.thedailybeast.com/its-absurd-to-claim-that-trans-kids-are-being-rushed-into-transitioning
  27. https://www.hrc.org/resources/transgender-children-and-youth-understanding-the-basics

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Deb Schneider, LCSW, PPSC
ร่วมเขียน โดย:
นักสังคมสงเคราะห์คลินิกที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Deb Schneider, LCSW, PPSC. เดบ ชไนเดอร์เป็นนักสังคมสงเคราะห์คลินิกที่มีใบอนุญาต ดำเนินกิจการส่วนตัวที่โอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนียและเป็นผู้จัดการโครงการให้แก่ Weiland Health Initiative ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เธอเชี่ยวชาญในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย การเคารพบุคคลที่มีความผิดแผกแตกต่างไปจากผู้อื่นในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย เดบจบปริญญาตรีด้านสังคมวิทยาและสตรีศึกษาจากมหาวิทยาลัยคลาร์กและได้รับปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจากคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ บทความนี้ถูกเข้าชม 3,553 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,553 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา