วิธีการ คำนวณกำไรขั้นต้น

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

กำไรขั้นต้นเป็นวิธีการเปรียบเทียบต้นทุนสินค้าที่บริษัทของคุณขาย กับรายได้ที่มาจากสินค้าเหล่านั้น กำไรขั้นต้นคืออัตราส่วนระหว่างกำไรขั้นต้นต่อรายได้สุทธิที่แสดงในรูปของร้อยละ คุณสามารถใช้อัตรากำไรขั้นต้นในการเปรียบเทียบบริษัทของคุณกับคู่แข่ง เปรียบเทียบกับประสิทธิภาพของบริษัทในอดีต หรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจง่าย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

คำนวณอัตรากำไรขั้นต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูยอดขายสุทธิและต้นทุนขาย.
    งบกำไรขาดทุนของบริษัทจะแสดงมูลค่าของยอดขายสุทธิและต้นทุนขาย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อัตรากำไรขั้นต้น = (ยอดขายสุทธิ...
    อัตรากำไรขั้นต้น = (ยอดขายสุทธิ - ต้นทุนขาย) ÷ ยอดขายสุทธิ.
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ตัวอย่าง.
    บริษัทหนึ่งมียอดขายสุทธิมูลค่า $4,000 ต้นทุนในการผลิตสินค้าอยู่ที่ $3,000 อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทจะเท่ากับ หรือ 25%
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เข้าใจศัพท์เฉพาะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เข้าใจความหมายของอัตรากำไรขั้นต้น.
    อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) คือร้อยละของรายได้ที่บริษัทเหลืออยู่หลังหักรายจ่ายต้นทุนทางตรงในการผลิตสินค้า[1] รายจ่ายอื่นๆ ทั้งหมด (รวมถึงเงินปันผลของผู้ถือหุ้น) จะต้องมาจากตัวเลขร้อยละที่ว่านี้ ด้วยเหตุนี้ GPM จึงเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการทำกำไรได้เป็นอย่างดี
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คำนวณยอดขายสุทธิ.
    ยอดขายสุทธิของบริษัทจะเท่ากับยอดขายทั้งหมดลบด้วยค่ารับคืนสินค้า ค่าเผื่อสินค้าเสียหาย และส่วนลด[2] ยอดขายสุทธิเป็นมาตรวัดรายได้ที่แม่นยำกว่ายอดขายทั้งหมดเพียงอย่างเดียว
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คำนวณต้นทุนขาย.
    ต้นทุนขายเรียกย่อๆ ว่า COGS (Cost of goods sold) เป็นตัวเลขที่รวมต้นทุนวัตถุดิบ แรงงาน และรายจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการโดยตรง[3] แต่ ไม่รวม ต้นทุนการจัดจำหน่าย แรงงานที่ไม่ใช่เพื่อการผลิตสินค้า หรือต้นทุนทางอ้อมอื่นๆ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าสับสนระหว่างกำไรขั้นต้นกับอัตรากำไรขั้นต้น....
    อย่าสับสนระหว่างกำไรขั้นต้นกับอัตรากำไรขั้นต้น. กำไรขั้นต้นเท่ากับยอดขายสุทธิลบต้นทุนขาย ซึ่งแสดงในรูปของเงินบาทหรือสกุลเงินอื่นๆ สูตรข้างต้นเป็นการเปลี่ยนกำไรขั้นต้นให้กลายเป็นอัตรากำไรขั้นต้น ซึ่งแสดงในรูปของร้อยละเพื่อให้เปรียบเทียบกับบริษัทอื่นง่ายขึ้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เข้าใจว่าทำไมตัวเลขเหล่านี้จึงสำคัญ.
    นักลงทุนจะดูอัตรากำไรขั้นต้นเพื่อพิจารณาว่าบริษัทใช้ทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ถ้าอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทที่หนึ่งอยู่ที่ 10% และบริษัทที่สองอยู่ที่ 20% เท่ากับว่าบริษัทที่สองสามารถทำกำไรต่อต้นทุนสินค้าหนึ่งบาทได้มากกว่า 2 เท่า สมมุติว่าสองบริษัทนี้มีต้นทุนอื่นๆ พอๆ กัน บริษัทที่สองก็น่าจะเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า
    • คุณควรเปรียบเทียบบริษัทที่อยู่ในภาคส่วนเดียวกันจะดีที่สุด เพราะสินค้าและบริการบางประเภทก็มีอัตรากำไรขั้นต้นโดยเฉลี่ยต่ำกว่าสินค้าและบริการในภาคอื่นๆ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Michael R. Lewis
ร่วมเขียน โดย:
นักลงทุนและที่ปรึกษาด้านการเงิน
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Michael R. Lewis. ไมเคิล อาร์. ลิวอิสเป็นนักลงทุนและที่ปรึกษาด้านการเงินที่เกษียณแล้วในเท็กซัส เขามีประสบการณ์ด้านธุรกิจและการเงินมากว่า 40 ปี บทความนี้ถูกเข้าชม 116,004 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 116,004 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา