การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์

การปฏิวัติระลอกแรกของรัสเซียใน ค.ศ. 1917

การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (รัสเซีย: Февра́льская револю́ция, อักษรโรมัน: Fevral'skaya revolyutsiya, สัทอักษรสากล: [fʲɪvˈralʲskəjə rʲɪvɐˈlʲutsɨjə]) เป็นการปฏิวัติครั้งแรกจากสองครั้งในประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1917 มีศูนย์กลางในกรุงเปโตรกราด (ปัจจุบันคือ เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก) เมืองหลวงของรัสเซียในขณะนั้น ในวันสตรีในเดือนมีนาคม (ปลายเดือนกุมภาพันธ์ตามปฏิทินจูเลียน)[2] การปฏิวัติจำกัดอยู่ในเมืองหลวงและปริมณฑล และกินเวลาน้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์ มีการเดินขบวนขนาดใหญ่และการปะทะด้วยอาวุธกับตำรวจและฌ็องดารีเย (gendarme) กำลังสุดท้ายที่ภักดีต่อพระมหากษัตริย์รัสเซีย ในวันท้าย ๆ กองทัพรัสเซียที่กบฏเข้ากับนักปฏิวัติ ผลทันทีของการปฏิวัติคือ การสละราชสมบัติของซาร์นิโคลัสที่ 2 ยุติราชวงศ์โรมานอฟ และสิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย ซาร์ถูกแทนด้วยรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียภายใต้เจ้าเกออร์กี ลวอฟ รัฐบาลชั่วคราวเป็นพันธมิตรระหว่างนักเสรีนิยมและสังคมนิยมที่ต้องการปฏิรูปการเมือง พวกเขาตั้งฝ่ายบริหารที่มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน นักสังคมนิยมยังตั้งสภาโซเวียตเปโตรกราดซึ่งปกครองร่วมกับรัฐบาลชั่วคราว เป็นการตกลงที่เรียก สองอำนาจ (Dual Power)

การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติรัสเซียและการปฏิวัติใน ค.ศ. 1917–1923

ผู้ชุมนุมในเปโตรกราด, เดือนมีนาคม ค.ศ. 1917
วันที่8–16 มีนาคม ค.ศ. 1917 [ตามปฎิทินเก่า: 23 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม]
สถานที่
ผล

ฝ่ายปฏิวัติชนะ:

คู่สงคราม

ราชาธิปไตยรัสเซีย:


นักนิยมระบอบราชาธิปไตย:

นักนิยมระบอบสาธารณรัฐ:


นักสังคมนิยม:

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
ตำรวจเปโตรกราด: 3,500 นาย
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 1,443 คน (ที่เปโตรกราดที่เดียว)[1]

การปฏิวัติดูปะทุขึ้นพร้อมกัน โดยปราศจากผู้นำแท้จริงหรือการวางแผนอย่างเป็นทางการ ประเทศรัสเซียกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจำนวนหนึ่ง ซึ่งประกอบกับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้จลาจลขนมปังและผู้นัดหยุดงานอุตสาหกรรมมีทหารประจำนครที่มีใจออกห่างเข้าด้วย เมื่อทหารทิ้งหน้าที่มากขึ้นและด้วยกำลังที่ภักดีอยู่ที่แนวหน้า นครจึงอยู่ในสถานะโกลาหล นำไปสู่การล้มซาร์

การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์มีการปฏิวัติเดือนตุลาคมตามมาในปีเดียวกัน ทำให้บอลเชวิคปกครองและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมของรัสเซีย และปูทางสู่สหภาพโซเวียต

อ้างอิง

แก้
  1. Orlando Figes (2008). A People's Tragedy. First. p. 321. ISBN 9780712673273.
  2. History of the Women's Day. United Nations website.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)พิเศษ:ค้นหามัณฑนา หิมะทองคำอสมทดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวอันดับโลกเอฟไอวีบีพระสุนทรโวหาร (ภู่)สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวภักดีหาญส์ หิมะทองคำฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคพุ่มพวง ดวงจันทร์ฟุตบอลโลกวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรวอลเลย์บอลฟุตบอลทีมชาติสเปนพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ประเทศไทยวิทยุเสียงอเมริกาโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลามิน ยามัลวัดไชยธารารามทองภูมิ สิริพิพัฒน์รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ศิริลักษณ์ คองบริดเจอร์ตัน: วังวนรัก เกมไฮโซเบียร์ พร้อมพงษ์รายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร4 KINGS 2คิม ซู-ฮย็อน