ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

"การสอบแบบเปิดหนังสือ" คือการสอบที่คุณสามารถนำหนังสือหรือเอกสารที่คุณใช้ในการเรียนเข้าไปในห้องสอบได้ เมื่อได้ยินครั้งแรกคุณอาจจะคิดว่าในวันสอบคุณก็แค่เปิดหาคำตอบ เพราะฉะนั้นมันน่าจะเป็นการสอบที่ง่ายมาก แต่โดยทั่วไปแล้วการสอบแบบเปิดหนังสือมักไม่ได้เป็นแบบนั้น อันที่จริงการสอบแบบนี้มักจะค่อนข้างยากด้วยซ้ำ เพราะในการสอบแบบเปิดหนังสือนั้นคุณจะต้องเข้าใจเนื้อหาและสามารถตีความ คิดวิเคราะห์ และนำเสนอคำตอบที่ผ่านการเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ แต่การเตรียมตัวสักเล็กน้อย ทักษะการจดโน้ต และกลยุทธ์การทำข้อสอบจะช่วยให้คุณทำข้อสอบแบบเปิดหนังสือในครั้งถัดไปได้ผ่านฉลุย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัวสอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เข้าใจหลักการเบื้องหลังของการสอบแบบเปิดหนังสือ....
    เข้าใจหลักการเบื้องหลังของการสอบแบบเปิดหนังสือ. การสอบแบบเปิดหนังสือไม่ได้อาศัยการเรียนรู้แบบท่องจำแล้วสำรอกเนื้อหาออกมา แม้ว่าคุณจะมีข้อมูลอยู่ตรงหน้า แต่คำถามที่คุณได้รับมักจะค่อนข้างซับซ้อน การสอบแบบเปิดหนังสือมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีวิจารณญาณและลึกซึ้ง การสอบแบบเปิดหนังสือจะไม่ได้เน้นการท่องจำข้อมูล แต่เป็นการนำข้อมูลนั้นมาประยุกต์ใช้ ซึ่งหมายความว่าคุณจะแค่สรุปเนื้อหาในหนังสือมาตอบไม่ได้ แต่คุณจะต้องตีความข้อมูลนั้นในบริบทของคำถามและสถานการณ์ในโจทย์[1]
    • เช่น ในวิชาที่เรียนเกี่ยวกับเช็กสเปียร์ ข้อสอบไม่น่าจะถามว่า "โรมิโอนามสกุลอะไร" แต่น่าจะถามว่า "จงอธิบายว่าครอบครัวของโรมิโอมีส่วนทำให้เขาเสียชีวิตในตอนท้ายอย่างไร พร้อมยกเนื้อหาประกอบ"
    • โดยทั่วไปการสอบแบบเปิดหนังสือจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบจำกัดและไม่จำกัด ในการสอบแบบจำกัดนั้นจะระบุว่า นักศึกษาสามารถนำเอกสารอะไรเข้าไปได้บ้าง เช่น โน้ต 1 ชุดหรือหนังสือเรียนเล่มเดียว แต่ถ้าเป็นการสอบแบบไม่จำกัด คุณจะเอาอะไรเข้าไปในห้องสอบก็ได้หรือไม่ก็เป็นการสอบที่บ้าน คุณต้องรู้ก่อนว่าการสอบครั้งนี้เป็นการสอบแบบจำกัดหรือไม่จำกัดก่อนถึงวันสอบ[2]
    • โดยส่วนใหญ่คุณไม่จำเป็นต้องท่องจำเนื้อหาเพื่อเตรียมตัวสอบแบบเปิดหนังสือ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเพราะมันไม่ใช่แบบนั้น การสอบแบบนี้จะเน้นความเข้าใจ ไม่ใช่แค่การท่องจำแล้วนำไปเขียนตอบ ข้อสอบจะไม่ถามว่า "จงอธิบาย X" แต่จะถามว่า "จงอธิบายว่า X สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ Y ได้อย่างไร" หรือ "X มีผลต่อสถานการณ์ปัจจุบันของ Y อย่างไร" เพราะฉะนั้นคุณต้องเข้าใจเนื้อหาจริงๆ ก่อนเข้าห้องสอบ[3]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาและทำเครื่องหมายข้อมูลสำคัญไว้ล่วงหน้า.
    ถ้าการสอบอนุญาตให้คุณนำหนังสือเข้าไปได้ ให้จัดระเบียบหนังสือล่วงหน้าเพื่อให้คุณหาข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย[4]
    • ปากกาไฮไลต์เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากหากคุณได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ ขีดคำสำคัญ วันที่ทางประวัติศาสตร์ สมการ และข้อมูลยิบย่อยต่างๆ ที่คุณต้องดึงมาใช้ในการตอบคำถาม ระหว่างสอบคุณจะได้เปิดหนังสือเร็วๆ แล้วเจอข้อความที่ไฮไลต์ไว้ได้อย่างง่ายดาย
    • การจดโน้ตไว้ตามขอบหนังสือก็เป็นการจัดระเบียบหนังสือเรียนที่ช่วยได้มากหากได้รับอนุญาต การเขียนความคิดเห็นของอาจารย์หรือสรุปเนื้อหาสั้นๆ ของย่อหน้าที่เข้าใจยากไว้ตรงขอบจะช่วยให้คุณเห็นข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็ว
    • ทำเครื่องหมายไว้ที่หน้า หลายคนพับหน้าที่สำคัญเอาไว้ แต่การพับหน้าหนังสือไว้อย่างเดียวก็อาจจะหาไม่เจอ ลงทุนซื้อกระดาษโพสต์อิตหลากสีจากร้านหนังสือและห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ไว้สำหรับทำเครื่องหมายในแต่ละหน้า นอกจากนี้คุณก็อาจจะใช้สีทำเครื่องหมายเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันโดยใช้สีที่ต่างกันแยกว่าส่วนนี้เน้นเรื่องอะไร
    • แม้ว่าจะเป็นการสอบแบบจำกัดที่ไม่อนุญาตให้นำหนังสือเรียนเข้าห้องสอบ กลยุทธ์นี้ก็ยังมีประโยชน์ เพราะการจัดระเบียบหนังสือระหว่างเรียนจะช่วยให้คุณเจอข้อมูลสำคัญระหว่างอ่านหนังสือเตรียมสอบได้สะดวก
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พยายามทำความเข้าใจเนื้อหา.
    การเตรียมตัวสอบแบบเปิดหนังสือนั้นยากกว่า เพราะคุณไม่สามารถทดสอบทักษะที่ต้องใช้ได้ง่ายๆ เหมือนการท่องจำธรรมดา แต่ก็มีเคล็ดลับที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองพร้อมสำหรับการสอบแบบเปิดหนังสือแล้ว
    • เขียนความคิดเห็นของตัวเองเกี่ยวกับข้อมูลลงไป เขียนความคิดเห็นและความเข้าใจลงไปในโน้ตของตัวเองเพราะข้อสอบจะวัดการตีความเป็นหลัก บังคับให้ตัวเองอธิบายว่าคุณคิดอย่างไรกับข้อมูลในส่วนนี้และเพราะอะไร วิธีนี้จะช่วยฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อการสอบแบบเปิดหนังสือ[5]
    • ถ้าอาจารย์มีตัวอย่างคำถามมาให้ ให้ตอบคำถามเหล่านั้นระหว่างที่อ่านหนังสือสอบ คำถามในข้อสอบแบบเปิดหนังสือจะเน้นความเข้าใจที่มีต่อเนื้อหาที่เรียนอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นใช้คำถามตัวอย่างวัดความเข้าใจเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเตรียมตัวพร้อมแล้ว [6]
    • จับกลุ่มกับนักศึกษาคนอื่นๆ แม้ว่าการติวหนังสือเป็นกลุ่มจะมีประโยชน์กับการสอบทุกประเภทอยู่แล้ว แต่การติวหนังสือนั้นมีประโยชน์กับการสอบแบบเปิดหนังสือมากเป็นพิเศษ เพราะคุณสามารถพูดคุยและถกข้อมูลกันได้แทนที่จะแค่ผลัดกันถามเนื้อหา วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถนำข้อมูลที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้[7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พัฒนาทักษะการจดโน้ต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เข้าฟังบรรยายและเข้าเรียนทุกคาบ.
    เรื่องนี้ไม่ต้องบอกก็น่าจะรู้อยู่แล้ว แต่วิธีที่จะทำให้โน้ตของคุณตรงกับเนื้อหาที่ออกสอบมากที่สุดก็คือ การเข้าฟังบรรยายและเข้าเรียนทุกคาบสม่ำเสมอ
    • จำไว้ว่าการสอบแบบเปิดหนังสือไม่ใช่การท่องจำเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริงด้วย ในการเลือกเอกสารประกอบการอ่านนั้นอาจารย์แต่ละท่านจะมีจุดเน้นที่ไม่เหมือนกัน คุณไม่สามารถตอบคำถามที่อาจารย์ต้องการได้ด้วยการอ่านเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่คุณต้องเข้าเรียนด้วย
    • ถ้ามีตรงไหนไม่เข้าใจให้ทำเครื่องหมายไว้ หลายคนจะใช้สัญลักษณ์ เช่น เขียนเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ๆ ไว้ในจุดที่ไม่เข้าใจ เผื่อที่ไว้ส่วนหนึ่งในโน้ตสำหรับเขียนเติมทีหลัง ถามเพื่อนที่เรียนด้วยกันหรือส่งอีเมลหาอาจารย์ถ้ามีเรื่องไหนที่คุณไม่เข้าใจ
      • เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีเนื้อหาที่คุณไม่ค่อยเข้าใจ ครูที่ดีจะมีความสุขมากหากคุณมีคำถาม
      • ถ้ามีตรงไหนที่คุณยังไม่ค่อยแม่น การรู้จุดอ่อนของตัวเองก็ถือเป็นเรื่องดี ถ้าคุณสามารถเลือกได้ว่าจะเขียนตอบคำถามข้อไหน คุณก็จะเลือกได้อย่างรวดเร็วว่าจะตอบหัวข้อไหนดี
    • ถ้าอาจารย์พูดเร็ว คุณอาจจะอัดเสียงคำบรรยายของอาจารย์ไว้ แต่แน่นอนว่าต้องขออนุญาตก่อน แม้ว่าคุณจะนำบันทึกเสียงเข้าห้องบรรยายไม่ได้ แต่คุณก็สามารถย้อนกลับไปฟังหลังเลิกเรียนและพยายามจับประเด็นเนื้อหาได้เสมอ[8] ครูบางท่านอาจจะบันทึกเสียงไว้ให้คุณทบทวนหรือเรียนชดเชยเลยด้วยซ้ำ
    • หากคุณต้องขาดเรียนเพราะป่วยหรือเหตุฉุกเฉิน ให้หาเพื่อนหรือเพื่อนที่เรียนด้วยกันที่คุณสามารถยืมโน้ตได้ เลือกคนที่คุณรู้ว่าจดโน้ตเก่งและตั้งใจเรียน ไม่ใช่คนที่ขาดเรียนบ่อยและไม่ค่อยตั้งใจเรียนเท่าไหร่
  2. How.com.vn ไท: Step 2 จัดระเบียบโน้ต.
    คุณคงไม่อยากเดินเข้าห้องสอบพร้อมกองกระดาษที่มีข้อมูลและตัวเลขต่างๆ ปนกันมั่วไปหมด จัดระเบียบโน้ตระหว่างฟังบรรยายและจัดอีกครั้งระหว่างเตรียมสอบ
    • สร้างระบบจำนวนและย่อหน้าในการจดโน้ต หลายคนใช้ตัวเลขโรมันโดยใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่สำหรับหัวข้อ และตัวอักษรพิมพ์เล็กสำหรับหัวข้อย่อย (เช่น IV กับ i.v.)
    • เขียนวันที่ลงในโน้ตทั้งหมด วิธีนี้จะทำให้คุณหาหัวข้อที่คุณไม่ค่อยเข้าใจได้ง่ายหากคุณจำได้ว่าหัวข้อนี้ทบทวนตอนประมาณช่วงไหน
    • แยกโน้ตแต่ละวิชาออกจากกัน ใช้แฟ้มสันห่วงหรือสมุดจดโน้ตแต่ละวิชาแยกกัน หรือจะใช้สมุดคนละเล่มสำหรับแต่ละวิชาเลยก็ได้
    • เขียนให้อ่านง่าย ถ้าคุณรู้ว่าลายมือตัวเองห่วยมาก ลองดูว่าคุณสามารถนำโน้ตบุ๊กเข้าเรียนและพิมพ์โน้ตได้ไหม แต่ก็ระวังไว้หน่อย เพราะอาจารย์หลายคนไม่อนุญาตให้นำโน้ตบุ๊กเข้าห้องเรียนเพราะคิดว่านักศึกษาจะใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น[9]
    • แม้ว่าระหว่างเรียนคุณจะอยากวาดรูปเล่นเมื่อถึงตอนที่น่าเบื่อ พยายามข่มใจไว้เพราะรูปวาดเหล่านี้จะทำให้คุณเสียสมาธิระหว่างอ่านหนังสือเตรียมสอบในภายหลัง
    • เขียนเนื้อหาที่จำยากไว้ตอนต้น ระหว่างทำข้อสอบคุณจะได้หยิบมาดูได้เลย นอกจากนี้คุณก็ควรเขียนสมการ คำสำคัญ และวันที่ไว้ตอนต้นด้วย เพราะคุณจะนึกข้อมูลเหล่านี้ไม่ค่อยออกและมันมักจะออกสอบ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เน้นสิ่งที่สำคัญ.
    บางครั้งเวลาเตรียมสอบแบบเปิดหนังสือ เรามักจะเผลอถอดคำพูดในหนังสือหรือคำบรรยายทั้งหมด แต่วิธีนี้นอกจากจะเสียเวลาสุดๆ แล้วยังไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย เพราะสุดท้ายแล้วคุณจะมัวแต่ดูโน้ตหน้านั้นหน้านี้จนทำข้อสอบไม่ทัน
    • สังเกตว่าระหว่างบรรยายอาจารย์เน้นตรงไหนมากที่สุด ถ้าอาจารย์เขียนเนื้อหาส่วนไหนลงบนกระดาน พูดซ้ำ หรือถกเรื่องนี้อยู่นาน เป็นไปได้ว่ามันจะออกสอบ เขียนหัวข้อเหล่านี้ใส่ลงในโน้ตเตรียมสอบ[10]
    • ฟังการบรรยายในช่วงท้าย อาจารย์มักจะพูดปิดท้ายสั้นๆ ที่เป็นการสรุปประเด็นที่สำคัญที่สุดของการเรียนในวันนั้น
    • เทียบโน้ตของตัวเองกับเพื่อนที่เรียนด้วยกัน ถ้ามีหัวข้อไหนเหมือนกัน ก็เป็นไปได้ว่าอาจเป็นเนื้อหาที่คุณต้องเน้นในการเตรียมตัวสอบ และคุณยังได้รู้ด้วยว่าประเด็นไหนที่คุณหลุดไป[11]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำข้อสอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ตั้งสติ.
    ความวิตกกังวลจากการสอบมีผลต่อการทำข้อสอบ เพราะฉะนั้นคุณต้องหากลยุทธ์ดีๆ ที่ช่วยให้คุณสงบสติอารมณ์ได้ในห้องสอบ
    • หยุดอ่านหนังสือก่อนสอบ 1 ชั่วโมงและใช้เวลาช่วงนี้ดูแลตัวเอง เดินเล่นหรือกินอะไรเบาๆ ถ้าคุณเอาแต่ดูเนื้อหาเสร็จแล้วก็เข้าสอบเลย คุณสติแตกแน่ๆ
    • รู้เวลาและสถานที่สอบพร้อมกับเผื่อเวลาเดินทางไปที่นั่น การหาสถานที่สอบไม่เจอหรือเข้าสอบสายจะทำให้คุณยิ่งวิตกกังวลและมีผลต่อการทำข้อสอบ
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนสอบ อะไรก็ตามที่ส่งผลต่อร่างกายของคุณย่อมส่งผลต่อจิตใจด้วย เพราะฉะนั้นคุณต้องพักผ่อนให้เต็มที่และรู้สึกสดชื่นก่อนเข้าห้องสอบ
    • ถ้าคุณเริ่มสติแตกระหว่างทำข้อสอบ ให้หยุดสักครู่ แม้ว่าเวลาจะงวดเข้ามา แต่การฝืนทำข้อสอบต่อไปทั้งที่รู้สึกกังวลจะทำให้โดยรวมแล้วคุณทำข้อสอบได้ไม่ดี อย่าลังเลที่จะหยุด หลับตา และหายใจลึกๆ เพื่อตั้งสติก่อนทำข้อสอบต่อ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้กลยุทธ์ในการทำข้อสอบ.
    มีกลยุทธ์ต่างๆ มากมายที่ช่วยให้คุณใช้เวลาในการสอบได้อย่างคุ้มค่าที่สุดและทำให้คุณมีโอกาสที่จะได้เกรดดีมากขึ้นด้วย
    • การสอบแบบเปิดหนังสืออาจมีการจับเวลาด้วย เพราะฉะนั้นคุณต้องรู้ว่าคุณมีเวลาเท่าไหร่และคำนวณคร่าวๆ อย่างรวดเร็วว่าคุณควรใช้เวลาตอบคำถามแต่ละข้อนานแค่ไหน[12]
    • ตอบคำถามที่คุณสามารถตอบได้โดยไม่ต้องดูโน้ตก่อน วิธีนี้จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาได้ด้วยการตอบบางคำถามที่คุณตอบเองได้เลย และวิธียังช่วยให้คุณมีเวลามากขึ้นในการตอบคำถามที่คุณตอบเองไม่ได้และต้องดูโน้ต[13]
    • ถ้ามีข้อไหนที่คุณทำไม่ได้จริงๆ ก็ให้ทำเหมือนการสอบอื่นๆ คือทิ้งไว้ก่อนแล้วค่อยกลับมาทำในตอนท้ายหลังจากที่คุณมีเวลาตั้งสติและรวบรวมความคิดแล้ว
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถ้ามีเวลาเหลือให้ทบทวนคำตอบ.
    ถ้าคุณมีเวลาเหลือในช่วงท้ายของการทำข้อสอบ ให้อ่านทวนแต่ละข้ออีกครั้งและใช้โน้ตให้เป็นประโยชน์
    • ย้อนกลับไปอ่านข้อสอบทวนอีกครั้งและตรวจสอบจุดที่คุณอาจจะใส่ข้อมูลสลับกัน เช่น วันที่ ชื่อ คำศัพท์ และสมการ
    • หาคำถามที่คุณรู้สึกว่ายังตอบได้ไม่ค่อยดี และพยายามแก้ไขคำตอบให้ดีขึ้นในเวลาที่เหลือ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถึงคุณจะสอบแบบไม่เปิดหนังสือ ก็ให้เขียนโน้ตสรุปขึ้นมา ถึงคุณจะเปิดดูตอนสอบไม่ได้ แต่คุณสามารถใช้เป็นแนวทางในการเตรียมสอบได้
  • ถ้าคุณมีคำถามหรือข้อสงสัยว่าคุณนำอะไรเข้าไปในห้องสอบได้และไม่ได้บ้าง อย่าลังเลที่จะติดต่อครูหรืออาจารย์เพื่อถามล่วงหน้า
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเขียนโน้ตเยอะเกินไป เพราะระหว่างทำข้อสอบคุณอาจจะหาข้อมูลไม่เจอ
  • คุณไม่สามารถลอกข้อมูลในหนังสือมาใส่คำต่อคำได้เพราะถือเป็นการคัดลอกผลงานผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้คุณสอบตกในครั้งนี้หรือวิชานี้ไปเลย และอาจมีการดำเนินการหรือบทลงโทษทางวินัยอีกด้วย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Megan Morgan, PhD
ร่วมเขียน โดย:
ปริญญาเอกภาษาอังกฤษ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Megan Morgan, PhD. เมแกน มอร์แกนเป็นที่ปรึกษาโครงการปริญญาโทในคณะรัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจอร์เจีย เธอได้รับปริญญาเอกภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียในปี 2015 บทความนี้ถูกเข้าชม 6,444 ครั้ง
หมวดหมู่: การศึกษา
มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,444 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา