ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ตลาดแอพนั้นโตเร็วและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลาใครออกแอพใหม่จนโด่งดังทีก็เป็นที่สนใจไปทั่ว คุณคิดว่าตัวเองเจ๋งพอจะปฏิวัติวงการแอพ iPhone ใช่ไหม? บอกเลยว่าของจริงอาจจะทำง่ายกว่าที่คิดอีกนะ ถึงจะต้องสนใจเรียนรู้พวกโค้ดต่างๆ อยู่สักหน่อย แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณพัฒนาแอพได้ด้วยโปรแกรมแบบเห็นภาพจับต้องได้ การจะสร้างแอพใหม่นั้นต้องใช้เวลา ต้องเรียนรู้ศึกษา และอดทน แต่ถ้าสำเร็จแล้วคุณอาจกลายเป็นเจ้าพ่อ/เจ้าแม่แอพรายต่อไป! รีบเลื่อนลงไปอ่านขั้นตอนที่ 1 ข้างล่างกันเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

เตรียมการก่อนสร้างแอพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดาวน์โหลดและติดตั้ง Xcode.
    Xcode คือ development environment หรือเครื่องมือสำหรับการพัฒนาที่คุณต้องเอาไว้ใช้สร้างแอพ iPhone คุณสามารถโหลด Xcode ได้ฟรีจาก Apple แต่ต้องใช้ OS X 10.8 หรือใหม่กว่าถึงจะติดตั้งได้ ตอนนี้ยังไม่สามารถใช้งาน Xcode ใน Windows หรือ Linux ได้อย่างเป็นทางการ พูดง่ายๆ คือถ้าคุณอยากพัฒนาแอพ iPhone แต่ไม่มีเครื่อง Mac ก็คงต้องลงทุนซื้อหามาใช้กันก่อนนะ
    • ถ้าจะสร้างแอพของ iOS 8 คุณต้องใช้ Xcode 6.0.1 กับ iOS 8 SDK โดยโหลดได้จาก Apple ทั้ง 2 ตัว iOS 8 SDK นั้นจะมี API ใหม่ๆ มากมาย ให้คุณสามารถสร้างฟังก์ชั่นใหม่ๆ ของแอพได้สารพัด รวมถึงการใช้งานร่วมกับ iCloud และ Touch ID ด้วย
    • Tถ้าจะสร้างแอพของ iOS 10 คุณต้องใช้ Xcode 8 กับ iOS 10 SDK โดยโหลดได้จาก Apple ทั้ง 2 ตัว เวอร์ชั่นนี้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่คุณควรรับรู้ไว้ แต่ข่าวดีคือคุณไม่ต้องเปลี่ยน "code breaking" ไปเป็นภาษา Swift แล้ว
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ติดตั้งโปรแกรมจัดการไฟล์ text ดีๆ สักตัว.
    ถึงจะเขียนโค้ดได้ด้วย Xcode แต่เวลาโค้ดเริ่มเยอะเข้า ถ้าทำงานในโปรแกรมจัดการไฟล์ text โดยเฉพาะจะง่ายกว่าเพราะเอื้อต่อ syntax ของภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม ตัวที่คนนิยมใช้กันก็มี TextMate กับ JEdit นี่แหละ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ติดตั้งโปรแกรม vector graphics.
    ถ้าตั้งใจจะออกแบบหน้าตาแอพให้สวยงาม ก็ต้องใช้โปรแกรมสร้าง vector graphics ร่วมด้วย ภาพแบบ Vector มีข้อดีตรงคุณย่อขยายได้โดยภาพไม่แตก ช่วยให้แอพหน้าตาดีน่าใช้ขึ้นอีกเยอะ โปรแกรม vector ที่ดังๆ ก็อย่าง CorelDraw, Adobe Illustrator, Xara Designer และ Inkscape เป็นต้น หรือจะใช้โปรแกรม vector graphics ดีๆ แต่ฟรีอย่าง DrawBerry ก็ได้ ถึงจะไม่ค่อยโปรเท่าแบบเสียเงิน แต่ก็ถือว่าคุ้มและดีสำหรับมือใหม่หัดใช้ หรือมืออาชีพที่ไม่อยากเสียเงินซื้อมาใช้แค่ครั้งสองครั้ง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หัดใช้ Objective-C ให้คุ้นเคย.
    Objective-C คือภาษาสำหรับเขียนโปรแกรม ที่เอาไว้ใช้สร้างฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ ของแอพ iPhone โดยจะจัดการกับข้อมูลและวัตถุต่างๆ Objective-C นั้นพัฒนามาจากตระกูลภาษา C ถือเป็นภาษาเชิงวัตถุ ถ้าคุณพอรู้ภาษา C หรือ Java อยู่แล้ว ก็น่าจะต่อติดกับภาษา Objective-C ได้ไม่ยากนัก
    • ทางเลือกใหม่คือสร้างแอพโดยใช้ภาษา Swift ที่ติดมากับ Objective-C โดย Swift นั้นให้ความรู้สึกที่ที่เป็นมิตรต่อการใช้และดูทันสมัยกว่า
    • ถึงจะสร้างแอพง่ายๆ ได้โดยไม่ต้องรู้ภาษา Objective-C แต่คุณจะไม่สามารถต่อยอดไปเพิ่มฟังก์ชั่นขั้นสูงอื่นๆ ได้เลยถ้าเขียนโค้ดเองไม่เป็น พูดง่ายๆ ว่าถ้าไม่ใช้ภาษา Objective-C แอพของคุณอาจทำได้แค่เปลี่ยนหน้าจอไปมาก็เท่านั้น
    • มี tutorial สอนการใช้งานออนไลน์กับหนังสือข้อมูลแน่นๆ มากมายพร้อมให้คุณใช้ศึกษาหาความรู้เรื่องภาษา Objective-C ถ้าคิดจะเป็นนักพัฒนาแอพ iPhone เต็มตัวแล้วละก็ หมั่นหาความรู้ใส่ตัวไว้ไม่เสียหลายแน่
    • หรือจะแวะไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทิปต่างๆ ได้ที่ชุมชนคนใช้ภาษา Objective-C ที่เว็บบอร์ดของ Apple Developer หรือ iPhoneSDK Google Group และ StackOverflow เป็นต้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 จ้างนักพัฒนาแบบ outsource.
    ถ้าหัวเด็ดตีนขาดยังไงคุณก็ไม่ถูกโรคกับภาษา Objective-C จริงๆ หรือไม่มีหัวศิลป์เอาซะเลย ก็มีฟรีแลนซ์กับทีมนักพัฒนามากมายรอให้คุณไปขอคำปรึกษาและว่าจ้างสำหรับโครงการของคุณ การจ้างทีมพัฒนาแบบ outsource นั้นจริงๆ ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว แต่อย่างน้อยก็คิดซะว่าไม่ต้องมานั่งงมกับการเขียนโปรแกรมที่ตัวเองไม่ถนัดให้ปวดหัว สำคัญมากว่าคุณต้องให้ทีมงานทุกคนเซ็น Non-Disclosure Agreement หรือสัญญาที่ห้ามไม่ให้เปิดเผยข้อมูลซะก่อน และตกลงเรื่องค่าจ้างกันให้เรียบร้อยตั้งแต่เนิ่นๆ[1]
    • เว็บไทยอย่าง ThaiCreate กับ FreelanceBay หรือเว็บฝรั่งอย่าง Upwork กับ Elance ถือเป็นเว็บเด่นดังสำหรับคนที่กำลังตามหาฟรีแลนซ์มาร่วมทีม เว็บพวกนี้มีนักพัฒนาและศิลปินอิสระมากมายที่ต่างก็มีทักษะมากน้อยแตกต่างกันไป
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สร้าง development account.
    จะลงขายแอพของคุณใน App Store หรือแจกจ่ายให้คนไปลองใช้ได้ คุณต้อง sign up เป็นนักพัฒนาก่อน หรือก็คือสมัคร Apple Developer account โดยมีค่าบริการ $99 หรือประมาณ 3,000 กว่าบาทต่อปี และคุณต้องกรอกรายละเอียดการเสียภาษีกับบัญชีธนาคารด้วย
    • คุณสมัคร account ได้ที่เว็บ iOS Dev Center
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ดาวน์โหลดแอพสำหรับทดสอบ.
    พอสมัคร Developer account แล้ว คุณก็เข้าไปใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อการพัฒนาแอพที่ Apple เตรียมไว้ให้ได้ตามสบาย ทรัพยากรที่ว่าก็รวมถึงแอพตัวอย่างมากมายไว้ให้คุณได้ศึกษากันแบบเจาะลึกว่าแอพต่างๆ นั้นเขาพัฒนากันยังไง ให้เลือกใช้ตัวอย่างที่คล้ายกันกับแอพที่คุณจะสร้าง เอาไปลองปรับนู่นเปลี่ยนนี่ใน Xcode ให้เต็มที่เลย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

วางแผนการทำงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คอนเซ็ปต์ต้องชัดเจน.
    ก่อนจะเริ่มใช้ Xcode คุณควรจะมีภาพในหัวชัดเจนแล้วว่าอยากทำแอพแบบไหน มีฟังก์ชั่นอะไรบ้าง จะให้ดีควรมีเอกสารออกแบบเป็นชิ้นเป็นอัน ร่างรายละเอียดไว้ว่าจะมีฟังก์ชั่นอะไรบ้าง มีภาพสเก็ตช์หน้าตาเมนูต่างๆ ในแอพ การเปลี่ยนหน้าจอ และไอเดียคร่าวๆ ของระบบที่จะใช้งาน
    • เวลาสร้างจริงพยายามอย่าให้ออกนอกกรอบนี้ที่วางไว้ จะได้เน้นพัฒนาฟังก์ชั่นที่ต้องการจริงๆ
    • อย่าลืมลองวาดออกแบบหน้าตา thumbnail คร่าวๆ ของแต่ละหน้าจอในแอพด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กำหนดกลุ่มผู้ใช้.
    ต้องรู้ก่อนว่าคุณทำแอพให้ใครใช้ จะได้ออกแบบหน้าตากับฟังก์ชั่นของแอพถูก เช่น ถ้าจะทำแอพ to-do list กลุ่มผู้ใช้ของคุณจะกว้างและหลากหลายกว่าแอพเกมแนวยิงกันเลือดสาดแน่นอน สำคัญมากนะเรื่องนี้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สร้างจุดขายให้แอพของคุณ.
    ถ้าแอพคุณเป็นแอพ utility อำนวยความสะดวก ต้องใช้จุดขายว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับแก้ปัญหาแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือทำได้ดีกว่าแอพอื่นๆ ที่ผ่านมา แต่ถ้าเป็นแอพเกม ก็ต้องมี feature พิเศษไม่เหมือนใคร เป็น feature ที่มีเฉพาะในแอพของคุณ หาที่ไหนไม่ได้ จนคอเกมต้องรีบมาโหลดกันแทบไม่ทัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เนื้อหาในแอพเป็นแบบไหน.
    user interface หรือหน้าตาเมนูต่างๆ ในแอพนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณจะแสดงเนื้อหาออกมาให้ผู้ใช้แอพเห็นในรูปแบบไหน เช่น ถ้าเป็นแอพจัดการรูปถ่าย ก็ต้องมี user interface ที่ใช้ดูรูปและเลื่อนไปมาใช้งานได้ง่ายเข้าไว้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หน้าตาเมนูต่างๆ ในแอพนี่แหละสำคัญ.
    user interface ต้องสวย ใช้ง่าย อย่าทำให้ผู้ใช้เบื่อซะก่อน หรือก็คือแต่ละตัวเลือกต้องเห็นได้ชัดเจน และไม่สับสนว่าปุ่มไหนใช้ทำอะไร ถ้าเลือกใช้เป็นไอคอน ก็ต้องเห็นปุ๊บรู้ปั๊บว่าใช้ทำอะไร ต้องใช้งานได้ลื่นไหลและเป็นธรรมชาติ
    • เรื่องหน้าตาแอพนี่จะว่าเป็นเรื่องทางเทคนิคก็ใช่ แต่ก็ต้องเน้นหนักเรื่องการออกแบบไม่แพ้กัน บอกเลยว่าระหว่างพัฒนา หน้าตาแอพก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แหละกว่าจะลงตัว
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

ลงมือสร้างแอพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เริ่ม project ใหม่ใน Xcode.
    เปิด Xcode ขึ้นมาแล้วเริ่ม Project ใหม่จากในเมนู File เลือก "Application" ใน heading "iOS" ทางด้านซ้ายของหน้าต่าง พอเข้ามาในส่วนเทมเพลตแล้วให้เลือก "Empty Application"
    • จะมีเทมเพลตให้คุณเลือกใช้มากมายหลากหลายอัน แต่ละอันก็แตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์ ให้เริ่มจาก blank template หรือเทมเพลตว่างก่อน จนกว่าจะเริ่มเคยชินกับขั้นตอนการพัฒนา พอคุ้นกับฟังก์ชั่นต่างๆ แล้วก็ค่อยขยับไปใช้เทมเพลตที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
    • ต้องใส่ Product Name คือชื่อแอพ company identifier คือชื่อเจ้าของแอพ และ class prefix หรือชื่อนำหน้าคลาสต่างๆ ถ้าคุณยังไม่ได้ company identifier จาก Apple ให้ใส่ com.example ส่วน class prefix ให้ใส่ XYZ
    • เลือก "iPhone" จากในเมนู Devices
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สร้าง Storyboard.
    Storyboard เป็นการแสดงภาพหน้าจอในแอพของคุณทั้งหมด โดยจะแสดงทั้งเนื้อหาของแต่ละหน้าจอพร้อมรูปเวลาเปลี่ยนหน้าจอ Storyboard นี่แหละตัวกำหนดเรื่องความลื่นไหลในการทำงานของแอพ
    • คลิก File → New → File
    • ใน heading ของ iOS คลิก "User Interface"
    • เลือก Storyboard แล้วคลิก Next
    • เลือก iPhone จากในเมนู Devices แล้วตั้งชื่อไฟล์ว่า "Main" ต้องเซฟไว้ที่เดียวกับ project ของคุณด้วย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เลือกใช้ Storyboard นั้นใน project ของคุณ.
    พอสร้าง Storyboard แล้วให้เลือกใช้ Storyboard นั้นในหน้าจอหลักของแอพ จะเป็นการโหลด Storyboard ขึ้นมาตอนเปิดแอพ ถ้าไม่ได้เลือกใช้ storyboard นั้น พอเปิดแอพขึ้นมาก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    • คลิกที่ชื่อ project ของคุณในผังไฟล์ทางด้านซ้าย
    • หา heading Targets ในกรอบหลักให้เจอ แล้วเลือก project ของคุณจากในรายการ Targets
    • มองหาส่วนของ Deployment Info ในแถบ General
    • พิมพ์ Main.storyboard ลงในช่อง "Main Interface"
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สร้างหน้าจอแรกโดยใช้ view controller.
    View controller เป็นตัวกำหนดว่าผู้ใช้จะเห็นเนื้อหาในแอพของคุณยังไง จะมี view controller ที่กำหนดมาแล้วให้คุณเลือกใช้ รวมถึงมุมมองมาตรฐานและแบบตารางด้วย ให้คุณใส่ view controller ใน storyboard ของคุณ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าแอพจะแสดงเนื้อหาออกมาให้ผู้ใช้เห็นยังไง
    • เลือกไฟล์ "Main.storyboard" ของคุณจากในเมนูนำทางของ project คุณจะเห็นหน้ากระดาษว่างๆ โผล่ขึ้นมาในหน้าต่าง Interface Builder
    • มองหา Object Library ที่อยู่ด้านล่างของกรอบทางขวา ให้เลือกโดยคลิกที่ปุ่มสี่เหลี่ยมเล็กๆ จะเป็นการโหลดรายชื่อ object หรือวัตถุที่เอามาใส่ในหน้ากระดาษได้
    • คลิกแล้วลาก object "View Controller" ไปใส่ในหน้ากระดาษ ก็จะมีหน้าจอแรกของคุณปรากฏขึ้นมา
    • เท่านี้ "Scene" แรกของคุณก็เสร็จเรียบร้อย เวลาเปิดแอพ view controller ก็จะโหลดหน้าจอแรกของคุณขึ้นมา
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใส่ object ต่างๆ สำหรับการใช้งานลงในหน้าจอแรก.
    พอตั้งค่า view controller แล้ว ก็เริ่มใส่ interface objects หรือส่วนประกอบต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานแอพลงในหน้าจอได้เลย เช่น ฉลาก ช่องสำหรับพิมพ์ข้อความ และปุ่มต่างๆ คุณหา Interface objects ได้ที่รายการ Objects Library ที่เดียวกับที่คุณเจอ View Controller
    • คลิกแล้วลาก object จากในรายการไปใส่ในหน้าจอ
    • คุณปรับขนาด object ส่วนใหญ่ได้โดยคลิกแล้วลากกล่องตรงขอบของ object ระหว่างที่ปรับขนาด จะมีคำแนะนำโผล่ขึ้นมาที่หน้าจอ คุณจะได้แน่ใจว่าทุกอย่างเรียงกันเป๊ะๆ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปรับแต่ง object ที่ใส่ไป.
    คุณปรับ properties หรือคุณสมบัติของแต่ละ object ได้ตามต้องการ ให้หน้าจอและเมนูต่างๆ ออกมาใช้งานได้ง่ายตามสั่ง เช่น ใส่ข้อความแบบ placeholder ไว้ในช่องสำหรับพิมพ์ข้อความ ผู้ใช้จะได้พอรู้คร่าวๆ ว่าต้องกรอกอะไรในช่องนั้น
    • เลือก object ที่จะปรับแต่ง แล้วคลิกปุ่ม "Attributes Inspector" ที่ด้านบนของกรอบขวามือ ปุ่มที่หน้าตาเหมือนโล่น่ะ
    • ปรับแต่ง object ตามต้องการ เปลี่ยนได้ทั้งฟอนต์ ขนาดฟอนต์ สีตัวอักษร การเรียงตัวของฟอนต์ รูปพื้นหลัง ข้อความ placeholder รูปแบบของกรอบ และอื่นๆ อีกมากมาย
    • ตัวเลือกที่มีจะเปลี่ยนไปตาม object ที่คุณปรับแต่ง
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เพิ่มหน้าจอใหม่ๆ.
    พอ project คุณใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็คงจะมีหน้าจออื่นๆ ตามมาเพื่อใช้แสดงข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานแอพนั้น อย่างถ้าคุณกำลังสร้างแอพ to-do list ก็ต้องมีอย่างน้อย 2 หน้าจอ คือหน้าจอนึงไว้ใส่รายการต่างๆ ลง to-do list กับอีกหน้าจอไว้ดู list โดยรวม
    • คุณเพิ่มหน้าจอได้โดยลาก view controller objects ไปหย่อนในส่วนที่ว่างอยู่ของหน้ากระดาษ ถ้าหาที่ว่างไม่ได้แล้ว ให้คลิกปุ่ม "zoom out" จนเจอที่ว่าง ดูให้ดีว่าหย่อน view controller ลงไปที่หน้ากระดาษ ไม่ใช่ที่หน้าจอ
    • คุณเปลี่ยนหน้าจอเริ่มต้นได้โดยเลือก view controller ที่จะเอาไว้นำหน้าจากใน project outline ให้คลิกปุ่ม Attribute Inspector แล้วติ๊กที่ช่อง "Is Initial View Controller" เช่น ถ้าคุณจะทำแอพ to-do list ก็ต้องมี list อยู่ในหน้าแรกให้ผู้ใช้เห็นชัดๆ ตั้งแต่เปิดแอพขึ้นมา
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ใส่เมนู หรือ navigation bar.
    ตอนนี้พอแอพมี 2 หน้าจอแล้ว ก็ต้องทำให้ผู้ใช้สามารถสลับไปมาระหว่าง 2 หน้าได้ จะทำได้คุณต้องใช้ Navigation Controller ซึ่งถือเป็น View Controller แบบพิเศษ โดย controller ตัวนี้จะใส่ navigation bar หรือแถบเมนูไว้ที่ด้านบนของแอพ ให้ผู้ใช้สามารถสลับหน้าจอไปมาได้[2]
    • คุณควรจะใส่ navigation controller ไว้ที่หน้าแรกสุด เพราะจะได้ใช้ควบคุมหน้าต่อๆ มา
    • เลือก initial view หรือหน้าจอแรกจากใน project outline
    • คลิก Editor → Embed In → Navigation Controller
    • คุณจะเห็น navigation bar สีเทาๆ โผล่ขึ้นมาที่ด้านบนของหน้าจอที่คุณใส่ controller เข้าไป
  9. How.com.vn ไท: Step 9 เพิ่มฟังก์ชั่นต่างๆ เข้าไปใน navigation bar.
    ตอนนี้พอมี navigation bar แล้ว ก็ต้องมาเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไป ให้ผู้ใช้สามารถใช้สลับหน้าจอไปมาได้
    • ตั้งชื่อให้ navigation bar คลิก Navigation Item ที่ใต้ view controller ที่คุณกำหนดใช้ แล้วเปิด Attribute Inspector จากนั้นพิมพ์ชื่อของหน้าจอนี้ลงไปในช่อง Title
    • ใส่ปุ่มนำทางหรือ navigation button. เปิด Objects library ขึ้นมาในกรณีที่ไม่ได้เปิดไว้อยู่แล้ว จากนั้นมองหา Bar Button Item พอเจอก็ให้คลิกแล้วลากไปใส่ navigation bar ซะ ปกติแล้วพวกปุ่มที่เลื่อนไป "หน้าถัดไป (forward)" ของแอพ จะอยู่ทางขวา ส่วนปุ่ม "ย้อนกลับ (back)" ไปที่หน้าเก่า จะอยู่ทางซ้าย
    • กำหนดคุณสมบัติให้ปุ่ม คุณกำหนด properties ของแต่ละปุ่มให้ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้ เช่น ถ้าจะสร้าง to-do list ก็ต้องมีปุ่ม "Add" ไว้เพิ่มสิ่งที่ต้องทำ ให้เลือกที่ปุ่มนั้น แล้วเปิด Attribute Inspector ขึ้นมา หาเมนู Identifier ให้เจอแล้วเลือก "Add" ปุ่มนั้นก็จะกลายเป็นรูป "+"
  10. How.com.vn ไท: Step 10 ลิงค์ปุ่มใหม่นั้นเข้ากับหน้าจอที่มี.
    ปุ่มนั้นจะใช้ได้ ก็ต้องเชื่อมมันเข้ากับหน้าจอซะก่อน ถ้าเป็น to-do list อย่างที่บอก ปุ่มจะอยู่ใน overall list หรือหน้ากลาง ต้องเอาไปลิงค์กับหน้าจอสำหรับป้อนข้อมูลซะก่อน จะลิงค์ปุ่มได้ ต้องกด Ctrl ค้างไว้ แล้วลากปุ่มไปที่หน้าจอที่ 2[3]
    • พอปล่อยปุ่มนั้นแล้ว เมนู Action Segue ก็จะโผล่ขึ้นมาพร้อมรายการตัวเลือก ให้เลือก "Push" เพื่อใช้วิธีดันหน้าจอตอนสลับไปที่หน้าอื่น หรือจะเลือก "Modal" เพื่อเปิดหน้าจอเดี่ยวๆ ขึ้นมา โดยที่หน้าจอด้านหลังไม่หายไปไหน
    • ถ้าคุณเลือกใช้แบบ Push แถบเมนูหรือ navigation bar จะไปโผล่ที่หน้าจอที่ 2 โดยอัตโนมัติ แล้วปุ่ม "back" ก็จะถูกสร้างโดยอัตโนมัติเช่นกัน แต่ถ้าเลือกแบบ modal คุณต้องใส่แถบเมนูที่หน้า 2 เอง รวมถึงปุ่ม "Cancel" กับ "Done" ด้วย (สำหรับ to-do list ฉลากหรือชื่อของแต่ละปุ่มจะเปลี่ยนไปตามความต้องการของแอพ)
    • คุณสร้างปุ่ม "Cancel" กับ "Done" ได้ด้วยวิธีเดียวกับตอนสร้างปุ่ม "Add" โดยเลือก "Cancel" หรือ "Done" จากในเมนู Identifier ใน Attribute Inspector
  11. How.com.vn ไท: Step 11 เพิ่มฟังก์ชั่นจัดการข้อมูล.
    ถึงตอนนี้ คุณก็มีเมนูสำหรับสลับไปหน้าจออื่นๆ แล้วโดยไม่ต้องไปแตะต้องโค้ดอะไร แต่ถ้าอยากได้ฟังก์ชั่นอื่นที่ซับซ้อนกว่านี้ อย่างคลังข้อมูล หรือฟังก์ชั่นสำหรับจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปในแอพ คุณก็ต้องเริ่มเขียนโค้ดแบบเลี่ยงไม่ได้แล้วล่ะ ถึงในบทความนี้เราจะไม่ได้ลงลึกเรื่องการเขียนโค้ด แต่ในเน็ตก็มี tutorial สอนเขียนภาษา Objective-C มากมายไว้ให้คุณได้เลือกศึกษาเพิ่มเติม[4]
    • คุณใช้เมนูนำทางที่มีในแอพเป็นต้นแบบสำหรับทีมงานที่คุณจะจ้างได้ เพราะพอมีหน้าตาการทำงานของแอพที่จับต้องได้แล้ว ก็ง่ายต่อการอธิบายให้ทีมเขียนโค้ดเข้าใจว่าคุณต้องการแอพแบบไหน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

ทดสอบจนแน่ใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เปิด iOS Simulator.
    Xcode นั้นมาพร้อมกับ iOS simulator ในตัว ให้คุณสามารถทดสอบแอพได้บนอุปกรณ์ iOS จำลองชนิดต่างๆ เวลาจะเปิด Simulator ก็แค่เลือก "Simulator and Debug" จากในเมนูที่ขยายลงมาจากด้านบนของหน้าจอ Xcode จากนั้นเลือกอุปกรณ์ที่คุณอยากใช้ทดสอบแอพ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สร้างแอพ.
    คลิกปุ่ม Build ที่หน้าตาเหมือนปุ่ม Play ทั่วไป เพื่อสร้างแอพและเปิดใช้งาน การสร้างแอพอาจจะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 นาที ติดตามความคืบหน้าได้จาก toolbar พอสร้างเสร็จแล้ว iOS Simulator ก็จะเปิดขึ้นมา คุณก็เริ่มทดสอบแอพได้เลย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทดสอบแอพใน iPhone ของคุณ.
    ก่อนจะแจกจ่ายแอพให้ชาวบ้านชาวช่องเขาได้ทดลองกัน ก็น่าจะทดสอบในเครื่องตัวเองซะก่อน (ถ้ามี) อย่างแรกคือให้เสียบอุปกรณ์ของคุณเข้ากับคอมด้วยสาย USB จากนั้นปิด iTunes ถ้าเปิดอยู่ แล้วเลือก "Device and Debug" จากในเมนูที่ขยายลงมา แล้วก็คลิกปุ่ม Build ได้เลย รอสัก 2 - 3 วินาที แอพก็น่าจะเปิดขึ้นมาใน iPhone แล้ว ตอนนี้ก็ลองใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ให้หนำใจแล้วค่อยปิดแอพ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 Debug จุดบกพร่องของแอพ.
    ถ้าแอพล่มกลางคัน ต้องรีบหาว่ามาจากตรงไหนและเพราะอะไร บางทีก็กว้างเกินกว่าจะหาเจอ เพราะมีเหตุผลล้านแปดที่ทำให้แอพล่มได้ ให้เปิด debug console ขึ้นมาแล้วอ่าน error message ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยบอกชัดหรอกว่าเพราะอะไร ถ้าอ่านแล้วคุณก็ยังไม่รู้ชัดว่า error ตรงไหนยังไง ให้ลองเอา error message นั้นไป Google ดู เป็นไปได้มากว่าคงมีคนเคยมาโพสต์แล้วในเว็บบอร์ด Apple development ซึ่งถือเป็นแหล่งรวมตัวของเหล่านักพัฒนามากฝีมือทั้งหลายที่พร้อมให้คำแนะนำกับคุณ
    • การ debug แก้จุดบกพร่องของแอพบางทีก็นานมากและน่าเบื่อมาก ขอแค่อย่าเพิ่งถอดใจและแก้ไขจนเสร็จสิ้น อีกหน่อยก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ เอง นานไปคุณจะเริ่มชินกับ error ต่างๆ หาตัวการได้เร็วขึ้น กระทั่งเดาได้ก่อนจะขึ้นเตือนด้วยซ้ำ หนึ่งในข้อผิดพลาดที่มักพบได้คือการปล่อย object ออกจากความจำมากกว่า 1 ครั้ง หรือลืม allocate memory แล้วเริ่มใช้ object ก่อนเพิ่มมันเข้าไปหรือเลือกใช้ object นั้น พอคุณสร้างแอพไปเรื่อยๆ error ก็จะน้อยลงเรื่อยๆ ตามตัว
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เช็คความจำที่ใช้ไป.
    ความจำของ iPhone นั้นค่อนข้างจำกัด เวลาคุณ allocate memory ของแต่ละ object เสร็จ ก็ต้องปล่อยออกเพื่อคืนความจำกลับมา Instruments เป็นเครื่องมือ SDK ของ iPhone ที่ไว้สำหรับเรียกดูและวิเคราะห์ความจำที่ใช้ไป
    • เมื่อเลือก Device และ Debug แล้ว ให้เลือก Run → Run with Performance Tool → Leaks จะเป็นการเปิด Instruments และเปิดแอพขึ้นมาในอุปกรณ์ที่คุณเลือก จากนั้นก็ลองใช้แอพตามปกติ ระหว่าง Instruments บันทึกและวิเคราะห์การใช้ความจำของคุณ เครื่องอาจจะมีค้างบ้างเป็นพักๆ ถ้ามี memory leak ตรงไหนจะมีพุ่งขึ้นมาเป็นสีแดงใน timeline ต้นต่อของ leak นั้นจะแสดงอยู่ในหน้าจอครึ่งล่าง
    • ดับเบิลคลิกที่ object ที่ทำให้เกิด memory leak เพื่อไปยังโค้ดต้นเหตุ หรือคลิกที่ลูกศรเล็กๆ ในคอลัมน์ address เพื่อแสดง leak history บางทีเวลาดักจับ leak ได้ ตรงนั้นก็ไม่ใช่ต้นเหตุเสมอไป
    • ถ้าหมดหนทางจริงๆ ให้ลองตัดอะไรที่ไม่ใช่สาเหตุออกไป ให้คุณ Comment out แล้ว/หรือค่อยๆ bypass ส่วนที่เป็นโค้ดของคุณจากนั้นค่อยเปิดใช้งานใหม่ บางทีก็สามารถตีวงแคบขึ้นได้จนเจอใน responsible line พอรู้แน่แล้วว่าอยู่ที่ไหน ก็ให้แก้หรือเขียนโค้ดตรงนั้นใหม่ซะ สบายใจได้ว่าคุณยังมีที่พึ่งอย่าง Google เสมอ ไว้ใช้หาลิงค์ต่อตรงไปยังเว็บบอร์ดของ Apple หรือหาเอกสารประกอบต่างๆ ที่ใช้แก้ปัญหาได้
  6. How.com.vn ไท: Step 6 แจกจ่ายแอพของคุณให้คนอื่นเขาได้ทดลองใช้กัน....
    แจกจ่ายแอพของคุณให้คนอื่นเขาได้ทดลองใช้กัน. ถึงเวลาทดสอบแอพในอุปกรณ์จำลองจะดูการทำงานจริงและเห็นหน้าตาที่เสร็จสมบูรณ์ของแอพได้ แต่ก็สู้ให้คนอื่นมาช่วยทดลองใช้ไม่ได้ แต่ต้องแก้ bug ตัวเป้งๆ ให้หมดก่อนส่งแอพไปให้ใครเขาลองใช้นะ และก่อนจะเริ่มแจกจ่ายแอพตัวทดลอง คุณต้องทำ Ad-Hoc certificate ไว้ในเว็บ iOS Dev Center ด้วยล่ะ
    • คนอื่นๆ ที่จะมาทดลองใช้แอพจะช่วยให้คุณรู้ feedback ต่างๆ แบบที่คุณเองคาดไม่ถึงเลย ซึ่งจะมีประโยชน์มากถ้าแอพของคุณค่อนข้างซับซ้อนหน่อย
    • จะอนุญาตให้อุปกรณ์ของคนพวกนั้นทดลองใช้แอพของคุณได้ คุณต้องมีหมายเลข UDID ของแต่ละเครื่องซะก่อน
    • เลือก Device จากในรายการที่ขยายลงมา แล้วกดที่ไอคอน "Build" พอเข้ามาใน Finder ให้ไปที่โฟลเดอร์ project ของคุณ แล้วหาโฟลเดอร์ "Ad-Hoc-iphoneos" ให้เจอ ในนั้นจะมีแอพของคุณอยู่ ให้ Copy "AdHoc.mobileprovision" certificate ที่คุณได้จากเว็บ iOS Dev Center มาใส่ในโฟลเดอร์นี้ จากนั้นเลือกแอพกับ certificate นั้นแล้ว zip ไฟล์รวมกันเพื่อเอาไปให้คนที่จะทดลองใช้ได้เลย แต่ละ Ad-Hoc certificate ก็ต้องแยกไฟล์ zip กันนะ[5]
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ได้เวลาเปิดตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สร้าง Distribution build.
    เลือก Device and Release จากในเมนูที่ขยายลงมา แล้วกดไอคอน "Build" พอเข้ามาใน Finder ให้ไปที่โฟลเดอร์ build ของ project คุณ แล้วหาโฟลเดอร์ "Release-iphoneos" ให้เจอ ข้างในจะมีแอพอยู่ ให้ zip ไฟล์รวมกันซะ
    • แอพใหม่จะผ่านได้ Apple certification มาได้ ต้องใช้งานใน iOS 8 และจอ Retina ได้ซะก่อน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เปิด iTunes Connect dashboard.
    โดยไปที่เว็บ iOS Dev Center ถ้าคุณยังทำขั้นตอนไหนไม่เสร็จ จะมีเขียนไว้ที่ด้านบนของหน้านั้น อย่าลืมตรวจทานข้อมูลบัญชีธนาคารและการเสียภาษีให้ถูกต้อง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กรอกข้อมูลของแอพให้ครบถ้วน.
    คลิก "Manage Your Applications" แล้วเลือก "Add new Application" จากนั้นกรอกชื่อแอพกับหมายเลข SKU แล้วเลือก bundle ID สุดท้ายเลือก app bundle จากในเมนูที่ขยายลงมา
    • กรอกข้อมูลต่างๆ อย่างคำอธิบายแอพ keyword เว็บช่วยเหลือ ประเภทแอพ อีเมลติดต่อ ลิขสิทธิ์ และอื่นๆ ลงไปในแบบฟอร์ม
    • กรอกแบบฟอร์ม Rights and Pricing
    • เตรียมรูปที่จะใช้ใน iTunes ไว้ด้วย ต้องใช้ไอคอนแบบ vector ที่มีขนาด 512x512 รวมถึง screenshot บางส่วนของแอพ รูปหน้าจอนี้คุณก็ไปเอามาจาก iPhone simulator ได้เลย โดยกด Command + Shift + 4 แล้วลากกรอบคลุมพื้นที่ที่จะแคป เอาให้มีขนาด 320x480 สำหรับ iPhone รูปหน้าจอหรือ Screenshot นั้นสำคัญมากเวลาจะโฆษณาแอพ ต้องแน่ใจว่าคนซื้อเขาจะเห็นจุดเด่นจุดขายของแอพคุณจากรูปพวกนั้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อัพโหลดแอพได้เลย.
    คลิก "Ready to Upload Binary" แล้วจะไปที่หน้าจอสำหรับดาวน์โหลดเครื่องมือ Application Uploader ให้โหลดมาแล้วกด Done
    • ติดตั้ง Application Uploader แล้วเปิดขึ้นมา ครั้งแรกที่เปิดจะถามข้อมูลล็อกอิน iTunes ของคุณด้วย
    • Application Uploader จะตรวจสอบ iTunes Connect account หรือบัญชีที่พ่วงอยู่ แล้วหาแอพของคุณที่พร้อมอัพโหลด โดยจะแสดงไว้ในเมนูที่ขยายลงมา ให้เลือกแอพที่ต้องการ โดยเลือก Distribution zip ที่คุณสร้างไว้ก่อนหน้านี้แล้วอัพโหลดไป uploader จะเช็คไฟล์ใน bundle แล้วรายงาน error ที่พบ เช่น เลขเวอร์ชั่นที่ไม่ตรงกัน หรือไอคอนที่หายไป เป็นต้น ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดี ก็จะอัพโหลดแอพที่ zip ไว้ของคุณขึ้นไป เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รอ review แอพ.
    ตอนนี้ก็ได้แต่รอให้เสร็จสิ้นกระบวนการ review แอพ Apple จะแจ้งมาภายใน 2 - 3 วัน หรือบางครั้งก็เป็นอาทิตย์ โดยจะส่งอีเมลมาบอกถ้าสถานะของแอพเปลี่ยนเป็น "In review" พอเข้าสู่กระบวนการ review แล้ว แป๊บเดียวก็เสร็จ แต่ถ้าไม่ผ่านด่านแรก ก็จะได้อีเมล reject หรือปฏิเสธแอพนั้นแทนพร้อมสาเหตุ แถม Apple จะแนะนำมาด้วยว่าควรจะแก้ไขตรงไหน แต่ถ้าแอพคุณผ่านการตรวจสอบ Apple จะส่งอีเมลมาแจ้งว่าแอพคุณพร้อมขายแล้ว แอพคุณก็จะไปโผล่อยู่ใน iTunes app store ให้คนได้โหลดกัน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 โปรโมทแอพสิ จะรออะไร.
    ตอนนี้พอแอพใหม่เอี่ยมอ่องของคุณพร้อมให้ดาวน์โหลดแล้ว ก็ถึงเวลากระจายข่าวให้โลกรู้ ใช้ social media ให้เป็นประโยชน์ ส่งข่าวออกไปเลย แนบเว็บของแอพคุณไปด้วย หรือจะทำคลิปใน YouTube ก็ดี อะไรก็ได้ที่จะทำให้คนเขาฮือฮาพูดถึงแอพของคุณกัน
    • จะส่งแอพฟรีไปให้พวกบล็อกเกอร์ก็ได้ เขาจะได้ใช้แล้วเขียนรีวิวไว้ในเว็บหรือบล็อกของเขา ไม่ก็ในทำคลิปรีวิวลง YouTube ยิ่งถ้าเป็นพวกบล็อกเกอร์หรือ vlogger ดังๆ คราวนี้ล่ะจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
  7. How.com.vn ไท: Step 7 คอยติดตามยอดขาย.
    ดาวน์โหลดแอพ iTunes Connect Mobile มาใช้ใน iPhone ของคุณฟรีๆ ล็อกอินเข้าไปดูทุกวันเพื่อเช็คยอดขาย สำรวจกลุ่มเป้าหมาย และประเทศที่ขายได้ ตรงนี้แหละสนุก! Apple เองก็จะคอยส่งอีเมลมารายงานเป็นระยะ พร้อมลิงค์ไว้ดูข้อมูลการขายล่าสุด ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาเก็บเป็นบันทึกข้อมูลได้ จากนี้ก็ขอให้ขายดีๆ ละกัน!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เป็นตัวของตัวเองเข้าไว้ อย่าไปทำแอพเหมือนของคนอื่นที่ขายกันอยู่เต็ม App Store ให้ลองใช้เวลาสำรวจแอพอื่นๆ ใน App Store ดูว่าเขาขายอะไรกันบ้าง ถ้าคิดว่าแอพของคุณจะเจ๋งกว่าเขา ก็ลงมือทำเลยจะรออะไร
  • ต้องหมั่นพัฒนาแอพของคุณอยู่เสมอ
  • ถ้าชอบอ่านหนังสือมากกว่าข้อมูลลายตาตามอินเทอร์เน็ต ให้รีบเข้า Amazon.com หรือเว็บอื่นๆ เพื่อหาหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาแอพสำหรับ iPhone มาอ่านเพิ่มเติม
  • ให้ลองใช้แอพของคุณในต่าง iDevice ให้มากที่สุด ยิ่งถ้าต่าง iOS กันด้วยก็ยิ่งดี
  • ถ้าคุณเลือกจ้างนักพัฒนาแอพ iOS แล้วอยากจะแน่ใจว่าแอพจะออกมาอย่างที่คิดไว้ ให้ออกแบบหน้าตาและเมนูต่างๆ ของแอพคร่าวๆ ไว้ก่อนด้วย Photoshop แล้วใช้เครื่องมือแปลงเป็นแอพ Xcode/iOS ที่ใช้งานได้จริง!
โฆษณา

คำเตือน

  • SDK ของ iPhone นั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดพอๆ กับที่ Apple ขยันออกเครื่องรุ่นใหม่ ถ้ามี SDK เวอร์ชั่นใหม่ให้อัพเกรดระหว่างคุณกำลังพัฒนาแอพ ให้ดูให้ดีๆ ว่ามีอะไรใหม่เพิ่มมา มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป แล้วค่อยคิดอัพเกรด ถ้า Apple ไม่ได้บังคับว่าแอพใหม่ที่ส่งไปให้พิจารณาต้องใช้กับ SDK เวอร์ชั่นใหม่ได้ จะไม่อัพเกรดก็ไม่เป็นไร ถ้าเลือกอัพเกรดไป วิธีการหรือฟังก์ชั่นต่างๆ ที่คุณใช้อาจไร้ประโยชน์ไปซะเฉยๆ หรืออาจกลายเป็น error แสดงขึ้นมาด้วยซ้ำ เรื่องแบบนี้มันก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อน
  • ลงขายแอพใหม่ๆ ก็ใช่ว่าจะมีคนมาโหลดถล่มทลาย อย่าเพิ่งรีบถอดใจล่ะ
  • แค่แอพคุณผ่านด่าน Apple จนได้ไปลงขายใน App Store ก็ถือว่าเก่งแล้ว อย่าเก็บเอารีวิวห่วยๆ มาใส่ใจให้เครียด บางคนน่ะติเพื่อก่อ แต่ก็มีเหมือนกันที่แค่หยาบคายไปวันๆ
  • พอสร้างได้แอพนึงก็ฉลุยแล้ว ระวังจะสนุกจนวันๆ เอาแต่คิดสร้างแอพใหม่ล่ะ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Imran Alavi
ร่วมเขียน โดย:
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Imran Alavi. อิมราน อลาวี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการพัฒนาแอพ รวมถึง CEO ของ Proleadsoft บริษัทด้านการตลาดออนไลน์และพัฒนาแอพในซานฟรานซิสโก ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี อิมรานเชี่ยวชาญด้านการออกแบบเว็บไซต์ SEO (Search Engine Optimization) การตลาดด้าน search engine (Google, Facebook, LinkedIn AdWords) การพัฒนาแอพ และกลยุทธ์ด้านซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร อิมรานจบการศึกษาชั้นปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก National University of Computer and Emerging Sciences ปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานฟรานซิสโก และจบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สาขาธุรกิจ การตลาด และการสื่อสาร บทความนี้ถูกเข้าชม 14,924 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,924 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา