ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องหาซื้อทีวีชุดใหม่ที่ทันสมัยและมีการอัพเดทฟังก์ชันต่างๆ คุณคงอยากให้ทีวีมีขนาดพอดีกับตู้ที่มีอยู่แล้ว หรือมีขนาดเหมาะเจาะให้แทรกเข้าไประหว่างของใช้ 2 ชิ้นได้ คุณจึงต้องแน่ใจว่าตัวเองรู้วิธีการวัดขนาดทีวีที่ถูกต้อง การวัดขนาดทีวีอาจดูเป็นเรื่องง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่วันนี้ เรามีข้อมูลเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจช่วยให้คุณตามล่าหาทีวีเหมาะๆ ได้ง่ายขึ้นอีกสักนิดมาฝากกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วิธีการวัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 วัดขนาดทีวีตามแนวทแยงจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมเพื่อหาขนาดที่ผู้ผลิตใช้กัน....
    วัดขนาดทีวีตามแนวทแยงจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมเพื่อหาขนาดที่ผู้ผลิตใช้กัน. คุณอาจคิดว่าทีวีขนาด 32 นิ้ว (81 ซม.) คือทีวีที่มีความกว้าง 32 นิ้ว จากมุมซ้ายล่างไปยังมุมขวาล่าง ซึ่งไม่ใช่เลย ความจริงแล้ว ขนาด 32 นิ้ว (81 นิ้ว) ที่ว่านี้ได้มาจากการวัดจากมุมล่างซ้ายไปยังมุมบนขวา หรือจากมุมล่างขวาไปยังมุมบนซ้ายต่างหาก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 วัดขนาดจาก “หน้าจอไปยังหน้าจอ” ไม่ใช่จากกรอบด้านหนึ่งไปยังกรอบอีกด้าน....
    วัดขนาดจาก “หน้าจอไปยังหน้าจอ” ไม่ใช่จากกรอบด้านหนึ่งไปยังกรอบอีกด้าน. บางคนอาจทำเรื่องผิดพลาด ด้วยการวางสายวัดจากมุมด้านนอกของกรอบหรือโครงทีวีไปยังมุมด้านตรงข้ามของกรอบทีวี ซึ่งจะทำให้คุณได้ตัวเลขที่ผิด วิธีการที่ถูกต้องคือให้วัดในแนวทแยงจากมุมตรงขอบหน้าจอไปยังมุมด้านตรงข้ามของขอบหน้าจอ เพราะกรอบของทีวีมักมีขนาดใหญ่กว่าหน้าจอค่อนข้างมาก การวัดจากกรอบทีวีจึงทำให้คุณได้ค่าที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การติดตั้งทีวีในพื้นที่จำกัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 วัดขนาดของทีวีทั้งชุด ทั้งความกว้าง ความสูง...
    วัดขนาดของทีวีทั้งชุด ทั้งความกว้าง ความสูง และความลึก. วัดขนาดทั้งหมดของตัวเครื่องทีวี (รวมส่วนกรอบด้วย) ไม่ใช่เฉพาะขนาดของหน้าจอ การวัดขนาดตามวิธีนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อคุณพยายามจะติดตั้งทีวีชุดใหม่ลงในพื้นที่ที่มีอยู่แล้ว หรือนำไปติดตั้งในศูนย์รวมความบันเทิง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เว้นระยะห่างเพิ่มเติมเมื่อติดตั้งทีวีในพื้นที่แคบ....
    เว้นระยะห่างเพิ่มเติมเมื่อติดตั้งทีวีในพื้นที่แคบ. สมมุติว่าคุณกำลังคิดจะซื้อทีวีขนาด 46 นิ้ว (117 ซม.) ทีวีของคุณจะมีความกว้างประมาณ 44.5 นิ้ว (113 ซม.) และสูงประมาณ 25 นิ้ว (63.5 ซม.) โดยหลักการแล้ว ทีวีของคุณอาจนำไปติดตั้งในศูนย์รวมความบันเทิงที่มีพื้นที่กว้าง 45 นิ้ว สูง 45 นิ้วได้ แต่มันอาจจะดู “คับเกินไป” จนดูไม่สวยงามน่ามอง คุณจึงควรเลือกทีวีขนาด 40 นิ้ว (102 ซม.) แทน ถ้าตั้งใจจะนำไปติดตั้งในศูนย์รวมความบันเทิงของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

อัตราส่วนจอภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทำความเข้าใจว่าอัตราส่วนจอภาพมีความเชื่อมโยงกับขนาดทีวีอย่างไร....
    ทำความเข้าใจว่าอัตราส่วนจอภาพมีความเชื่อมโยงกับขนาดทีวีอย่างไร. อัตราส่วนจอภาพ คืออัตราส่วนของความกว้างภาพที่แสดงผลต่อความสูงของภาพนั้น ทีวีมาตรฐานรุ่นเก่าๆ จะมีอัตราส่วนจอภาพต่างจากทีวีหน้าจอกว้างรุ่นใหม่ๆ ทีวีมาตรฐานส่วนใหญ่จะใช้อัตราส่วนจอภาพที่ 4:3 นั่นหมายความว่าคุณจะได้ความสูง 3 นิ้วในทุกๆ 4 นิ้วของความกว้างหน้าจอ ในขณะที่ทีวีหน้าจอกว้างรุ่นใหม่ๆ ทั่วไปจะใช้อัตราส่วนจอภาพ 16:9 ซึ่งหมายความว่าคุณจะได้ความสูง 9 นิ้วสำหรับความกว้าง 16 นิ้ว
    • แม้ทีวีมาตรฐาน (4:3) กับทีวีจอกว้าง (16:9) อาจวัดค่าในแนวทแยงได้เท่ากัน เช่น วัดขนาดหน้าจอได้ 32 นิ้ว ทั้ง 2 รูปแบบ แต่ขนาดทั้งหมดของหน้าจออาจต่างกัน เพราะทีวีมาตรฐานจะมีพื้นที่หน้าจอใหญ่กว่าและภาพจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมากกว่า ในขณะที่ทีวีจอกว้างจะให้ภาพที่มีความกว้างในแนวนอนมากกว่า
    • ทีวีจอกว้างเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ผลิตทีวีเริ่มมีการปรับอัตราส่วนจอภาพเพื่อดึงดูดให้ผู้ชมสนใจภาพยนตร์กันมากขึ้น[1] เพราะอัตราส่วนจอภาพที่กว้าง (16:9) จะให้ภาพที่ใหญ่กว่าและทำให้เห็นฉากหลังได้ชัดเจนขึ้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้วิธีการคำนวณง่ายๆ เพื่อหาขนาดหน้าจอของทีวีมาตรฐานที่ตรงกับทีวีจอกว้าง....
    ใช้วิธีการคำนวณง่ายๆ เพื่อหาขนาดหน้าจอของทีวีมาตรฐานที่ตรงกับทีวีจอกว้าง. สมมุติว่าตอนนี้คุณมีทีวีขนาด 4:3 และยังอยากดูภาพในอัตราส่วน 4:3 บนทีวีจอกว้าง ให้คูณความยาวในแนวทแยงของทีวีรุ่นเก่าด้วย 1.22 ผลลัพธ์ที่ได้คือขนาดหน้าจอในแนวทแยงของทีวีจอกว้างที่จะให้ภาพเหมือนกับทีวีรุ่นเก่า
    • เช่น สมมุติว่าคุณมีทีวี 40 นิ้ว (102 ซม.) ที่มีอัตราส่วนจอภาพ 4:3 และกำลังคิดอยากอัพเกรดทีวีกับเขาสักหน่อย แต่ไม่อยากให้ขนาดหน้าจอเล็กลง คุณจะต้องใช้หน้าจอขนาดอย่างน้อย 50 นิ้ว (127 ซม.) เพื่อดูภาพ 4:3 โดยที่ภาพไม่มีขนาดเล็กลง เพราะ 1.22 x 40 = 49 และเนื่องจากทีวีขนาด 49 นิ้วไม่มีผลิตกันทั่วไป คุณจึงต้องเพิ่มขนาดเป็น 50 นิ้ว (127 ซม.) นั่นเอง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เรียนรู้วิธีการจัดวางที่นั่งให้ห่างออกมาตามขนาดทีวี....
    เรียนรู้วิธีการจัดวางที่นั่งให้ห่างออกมาตามขนาดทีวี. เมื่อได้ขนาดทีวีที่ต้องการพร้อมแล้ว จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายคือการเลือกว่าคุณควรจัดวางที่นั่งให้ห่างออกมามากแค่ไหน ลองนำคำแนะนำต่อไปนี้ไปใช้เมื่อจัดวางที่นั่งดูหน่อยเป็นไง[2]
    โฆษณา
หน้าจอระยะการดู
27"3.25 - 5.5'
32"4.0 - 6.66'
37"4.63 - 7.71'
40"5.0 - 8.33'
46"5.75 - 9.5'
52"6.5 - 10.8'
58"7.25 - 12'
65"8.13 - 13.5'


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 132,507 ครั้ง
หมวดหมู่: โทรทัศน์
มีการเข้าถึงหน้านี้ 132,507 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา