วิธีการ ฝึกหนูตะเภาให้เชื่อง

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

Guinea pigs คือหนูตะเภา คนไทยส่วนใหญ่มักเรียกหนูแกสบี้ (cavies) เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงแสนรักที่นิยมกันมากในหลายประเทศทั่วโลก[1] เพราะนอกจากจะน่ารักน่าเอ็นดูแล้วยังเลี้ยงง่าย แถมร่าเริงทำนู่นทำนี่ให้เราดูเล่นตลอด แต่ตอนเอามาเลี้ยงใหม่ๆ ก็อาจต้องรอให้หนูคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ซะก่อน พอหนูตะเภาเชื่อง คุ้นเคยกับคุณและที่ทางแล้ว รับรองว่าจะเล่นกันสนุก น่ารักมากๆ เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดูแลหนูตะเภาตัวใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จัดพื้นที่ส่วนตัวให้หนูตะเภา.
    คือต้องมีกรงหรือบ้านหนูโดยเฉพาะ (มีขายทั่วไปตามร้านขายสัตว์เลี้ยง) ไว้ให้กินอยู่วิ่งเล่น แต่จริงๆ แล้วจะอยู่ในกรงหรือข้างนอกก็ได้ ขอแค่ให้หนูสบายตัวสบายใจ ปลอดภัยก็แล้วกัน
    • หนูตะเภาเป็นสัตว์สังคม เลยไม่ชอบอยู่ตัวเดียว แต่จะดีเป็นพิเศษถ้าคุณเลี้ยงหนูมาด้วยกันตั้งแต่เล็กๆ จะได้รู้ใจกัน ถ้าคุณเลี้ยงหนูตะเภาไว้มากกว่า 1 ตัว ให้แยกตัวผู้ตัวเมียจะได้ไม่จับคู่ออกลูกมาเต็มไปหมด แต่ถึงจะเป็นเพศเดียวกันก็ต้องมีมุมส่วนตัวในกรงไว้ให้แต่ละตัวด้วย เผื่ออารมณ์ไหนหนูอยากหลบมุมขึ้นมา ไม่งั้นเดี๋ยวตีกันตายเพราะแย่งกันเป็นผู้นำ (กรณีที่เป็นตัวผู้ด้วยกัน) ไม่ก็จ้องแต่จะผสมพันธุ์กันตลอด (ถึงต้องแยกตัวผู้ตัวเมีย)[2] ลักษณะกรงหนูตะเภาที่ดีก็คือ[3][4]
      • มีขนาดใหญ่ (พื้นกรงกว้างอย่างน้อย 8 ตารางฟุต)[5]
      • สร้างจากไม้ บุพื้นแน่หนาแข็งแรง (พื้นไม่ได้เป็นซี่กรงเฉยๆ หรือลวดเส้นๆ)
      • แบ่งพื้นที่สำหรับนอนหลับพักผ่อนและวิ่งเล่นแยกกัน
      • ทนทุกสภาพอากาศ (ถ้ากรงอยู่นอกบ้าน)
      • วัสดุรองพื้นกรง ถ้าเป็นฟางหรือหญ้าแห้งจะดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยอย่าใช้อะไรที่ขนฟูๆ นุ่มๆ เพราะหนูตะเภาอาจกินเข้าไป
      • ใช้ชามดินเผาหรือสแตนเลสที่หนีบติดกับกรงหรือบ้านได้ (ไว้ใส่อาหารและน้ำ)
      • ประตูเปิดปิดได้ หนูตะเภาจะได้ออกไปฝั่งวิ่งเล่นได้ ไม่ต้องให้คุณคอยหยิบ (แต่มีหรือไม่มีก็ได้)[6]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เงียบหน่อยก็ดี.
    [7][8] หนูตะเภาน่ะไวต่อเสียงมาก เพราะงั้นให้อยู่ในที่สงบ ไกลจากต้นตอของเสียงต่างๆ จะดีกว่า (เช่น เสียงรถรา ผู้คน เสียงทีวีดังๆ หรือเสียงเด็กเล่นกันตึงตัง) ยิ่ง 2 - 3 วันแรกที่พาหนูเข้าบ้านยิ่งต้องรักษาความสงบ หนูจะได้มีเวลาปรับตัว
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อย่าเพิ่งไปกวนใจหนู.
    ช่วงแรกๆ ที่คุณพาหนูเข้าบ้าน อย่าเพิ่งไปยุ่งมันมาก อย่างชวนเล่นหรือเอามากอด แค่คอยสังเกตการณ์อยู่เงียบๆ เป็นระยะก็พอ ว่าหนูยังสบายดีอยู่[10] หนูตะเภาต้องใช้เวลาค่อยๆ ทำความรู้จัก สร้างความไว้ใจที่มีต่อคุณ อย่าลืมสิว่าตามธรรมชาติมีแต่สัตว์อื่นจ้องจะล่าหนูตะเภาด้วยกันทั้งนั้น[11] เพราะงั้นแรกๆ ให้เวลาหนูบ้าง จะได้ทำความคุ้นเคยกับที่ทางใหม่
    • ถ้าบ้านคุณมีเด็กเล็กๆ ต้องอธิบายให้เข้าใจว่าปล่อยให้หนูตะเภาอยู่เงียบๆ ไปก่อน อย่าเพิ่งไปจับเล่น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ให้อาหารหนูตะเภาเวลาเดิมทุกวัน.
    [12] ถ้าให้อาหารเพียงพอและเป็นเวลา หนูตะเภาก็จะมีความสุข สุขภาพดี แถมพอคุณให้อาหารเวลาเดิมประจำ (2 ครั้งต่อวันกำลังดี) หนูตะเภาก็จะเชื่อมโยงเสียงคุณกับอาหารและความสะดวกสบาย ลองปรึกษาคุณหมอ ร้านขายของสัตว์เลี้ยง หรือคนที่เลี้ยงหนูตะเภาดู ว่าควรให้อาหารยังไง แต่หลักๆ หนูตะเภาควรกิน[13][14]
    • หญ้าแห้ง
    • Guinea pig mix (อาหารสำเร็จรูปสำหรับหนูตะเภา)
    • ผักผลไม้ (เพิ่มวิตามินซี) อย่างเมล่อน ส้ม ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่ เคล แล้วก็กะหล่ำปลี แต่ห้ามเด็ดขาดคือ "ผักกาดหอม"
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เช็คให้แน่ใจว่าหนูตะเภายอมกินอาหาร.
    ตอนแรกหนูตะเภาอาจไม่ยอมกินอาหารต่อหน้าคุณ[15] คุณต้องคอยดูแลให้หนูกินอาหารครบถ้วน จะได้ร่างกายแข็งแรง โดยหมั่นเช็คชามอาหารและน้ำตอนเช้า ถ้าหนูยอมกิน อาหารและน้ำที่ให้ไว้ก็จะพร่องไป
    • หนูตะเภาบางตัวอาจกินอาหารและน้ำไม่มากนัก หรือไม่กินเลยในช่วงวันสองวันแรกที่คุณพาเข้าบ้าน แต่ถ้านานหลายวันแล้วก็ยังไม่ยอมกิน ควรพาไปหาหมอด่วน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปล่อยให้หนูทำความรู้จักคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุยกับหนูตะเภา.
    เวลาคุณแวะไปตรวจตราความเรียบร้อย ให้ลองพูดคุยกับหนูตะเภาเบาๆ แบบใจเย็น และอย่าลืมรักษาระยะห่างในช่วงแรกๆ[16] หนูตะเภาจะได้ค่อยๆ เคยชินกับเสียงของคุณและตัวคุณเอง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้หนูตะเภาดมมือ.
    พอแวะมาคุย 2 - 3 ครั้ง คราวนี้ลองยื่นมือไปในกรง ถ้าหนูตะเภาของคุณใจกล้าหน่อย ก็อาจจะขยับมาใกล้แล้วดมมือคุณ[17] ตอนนี้อย่าเพิ่งรีบร้อนอุ้มหนูตะเภาขึ้นมา ยื่นมือค้างไว้เฉยๆ ก่อน
    • ใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไป เพราะตอนแรกหนูตะเภาอาจจะยังไม่ดมมือคุณ ความเชื่อใจเป็นอะไรที่ต้องใช้เวลา
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ลองอุ้มหนูตะเภาขึ้นมา.
    พอมันเริ่มคุ้นเคยกับคุณแล้ว ให้ต้อนเข้ามุมกรง จากนั้นเอามือนึงช้อนใต้พุง ส่วนอีกมือรองใต้ก้นไว้ แล้วค่อยๆ ยกขึ้นมา[18][19] หรือจะใช้มือเดียวจับรอบไหล่ก็ได้ แล้วอีกมือช้อนใต้ก้นไว้[20] อุ้มหนูตะเภาแนบอกไว้ แล้วพูดคุยกับมันเบาๆ
    • ถ้าหนูตะเภาดูสงบดี ก็นั่งลงที่เก้าอี้แล้วลูบเล่นได้เลย แต่ถ้าหนูตะเภาไม่ยอม ให้รีบเอาใส่กลับไปในกรง วันหลังค่อยลองใหม่
    • หรือจะลองเอาผ้าห่อตัวหนูตะเภาไว้ก็ได้ แล้วค่อยช้อนตัวขึ้นมา จากนั้นอุ้มไว้แนบอก หนูตะเภาจะได้รู้สึกปลอดภัย
    • ช่วงอาทิตย์แรกๆ ให้หมั่นอุ้มหนูตะเภาทุกวัน ถึงหนูจะดูกลัวๆ เครียดๆ ก็เถอะ ถ้าคุณใจเย็นและอดทน อีกหน่อยก็เป็นเพื่อนรักกันเอง
    • ถ้าหนูตะเภาเริ่มส่งเสียงครืดคราด (เหมือนเวลาแมวคราง) แสดงว่ามันกำลังกลัว[21]
    • ปกติหนูตะเภาจะอ่อนโยน ไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่ถ้ากลัวจัดๆ ก็แว้งกัดหรือข่วนได้เหมือนกัน[22]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

สนุกกับหนูตะเภา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ให้หนูตะเภากินขนมเยอะๆ.
    โดยเฉพาะช่วง 2 - 3 อาทิตย์แรก เวลาคุณพยายามผูกมิตรกับหนูตะเภา ให้ใช้ขนมนี่แหละเป็นรางวัล หนูจะได้ยิ่งรู้สึกดี[23][24] ทุกครั้งที่คุณเข้าใกล้หรืออุ้มหนูตะเภาขึ้นมา ก็ต้องให้ขนมด้วย แต่ห้าม “หลอก” อุ้มโดยที่สุดท้ายไม่ให้ขนมเด็ดขาด เพราะหนูตะเภาจะเลิกไว้ใจคุณไปเลย[25] ขนมที่น่าสนใจก็คือ
    • ผักใบเขียว
    • อาหาร (ชิ้นเล็กๆ) ที่อุดมวิตามินซี อย่างเมล่อนกับบร็อคโคลี่
    • อาหารเม็ดสำหรับหนูตะเภา
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้หนูตะเภาที่เลี้ยงในบ้านได้วิ่งเล่นบ้าง.
    หนูตะเภาที่เลี้ยงนอกบ้านส่วนใหญ่จะมีกรงใหญ่ พื้นที่ให้วิ่งเล่นเลยเยอะกว่า แต่ถ้าเป็นหนูตะเภาในบ้านแต่ฝึกจนเชื่องแล้ว นานๆ ทีคุณก็ปล่อยออกไปวิ่งเล่นได้เหมือนกัน ลองหาห้องโล่งๆ ที่ไม่มีหลุมมีรูอะไร (หนูจะได้ไม่หลุดออกไปโดยบังเอิญ) และปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ (ไม่มีสายไฟหรือพลาสติกที่หนูแอบแทะได้ เป็นต้น)[26] ถ้าคุณคอยคุมอยู่ละก็ รับรองว่าหนูตะเภาจะวิ่งเล่นสนุกแถมได้ออกกำลังกายอีกต่างหาก
    • เครื่องเล่นสำหรับหนูตะเภาอย่างกรงที่มีท่อ บันได กล่อง และอุปกรณ์อื่นๆ ไว้ให้หนูตะเภาวิ่งลอดไปมาก็น่าสนใจเหมือนกัน[27] จริงๆ คุณก็สร้างเองได้ แต่หาซื้อแบบสำเร็จมาเลยจะสวยและถูกกว่า มีขายทั้งตามร้านขายสัตว์เลี้ยงและตามเว็บทั่วไป
    • หรือจะลองสอนทริคสนุกๆ ให้หนูตะเภา อย่างการกระโดดขึ้นกล่อง หรือวิ่งลอดท่อมากินขนมจากมือคุณ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาอะไรทำกระชับมิตร.
    พอหนูตะเภาสนิทกับคุณและยอมให้อุ้มจนชินแล้ว ให้หาเวลาในแต่ละวันมาเล่นกับหนูบ้าง อุ้มหนูตะเภาไว้บนตักแล้วลูบเล่นไปเรื่อยๆ ตอนดูรายการโปรด ตอนฟังเพลง หรือจะแค่อุ้มแล้วคุยกันเฉยๆ ก็ได้ (บอกเลยว่าหนูตะเภาเนี่ยจอมเม้าท์เลย)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หนูตะเภาอยู่ได้ประมาณ 5 - 8 ปี แต่ก็มีบ้างที่นานกว่านั้น[28] ถ้าคิดจะเลี้ยงก็ต้องพร้อมจะรับผิดชอบนานขนาดนั้นด้วยล่ะ
  • ระวังอย่าให้หนูตะเภากัด (จะกัดก็ต่อเมื่อกลัวจัดเท่านั้น เพราะปกติหนูตะเภาน่ะใจดี๊ดี)
  • อาหารบางอย่างก็เยอะหรือใหญ่เกินไปสำหรับหนูตะเภา ให้ลองเอาไปปั่นในเครื่องปั่นดู น่าจะช่วยได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Pippa Elliott, MRCVS
ร่วมเขียน โดย:
สัตวแพทย์ ราชวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Pippa Elliott, MRCVS. ดร.เอลเลียตเป็นสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์กว่าสามสิบปี เธอสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในปี 1987 และทำงานเป็นศัลยสัตวแพทย์นาน 7 ปี หลังจากนั้น ดร.เอลเลียตทำงานเป็นสัตวแพทย์ในคลินิกสัตว์มานานนับสิบปี บทความนี้ถูกเข้าชม 71,602 ครั้ง
หมวดหมู่: สัตว์เลี้ยง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 71,602 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา