ยาซีน
ซูเราะฮ์ยาซีน (อาหรับ: سورة يس) เป็นซูเราะฮ์ที่ 36 ของอัลกุรอาน เป็นหนึ่งในซูเราะฮ์มักกียะฮ์ที่มี 83 อายะฮ์ (โองการ) ถึงแม้ว่านักวิชาการได้อธิบายว่าอายะฮ์ที่ 12 มาจากมะดีนะฮ์ก็ตาม[1] ชื่อของซูเราะฮ์นี้มีจากตัวอักษรสองตัวของอายะฮ์แรก[2] ซึ่งมีข้อถกเถียงกันมาก โดยทางตัฟซีร อัล-ญาลาลัยน์ ผู้ตีความหมายนิกายซุนนี (ตัฟซีร) ได้ตีความหมายและพูดว่า "อัลลอฮ์เท่านั้นที่รู้ความหมายของสิ่งนี้ [คำศัพท์]"[3] และเป็นหนึ่งในชื่อของศาสดามุฮัมมัด ที่รายงานโดยอะลี "ฉันได้ยินศาสนทูตของอัลลอฮ์กล่าวว่า "แท้จริงแล้ว อัลลอฮ์ได้ตั้งชื่อของฉันถึง 7 ชื่อในอัลกุรอาน: มุฮัมมัด [3:144; 33:40; 47:2; 48:29], อะฮ์หมัด [61:6], ฏอฮา, [20:1], ยาซีน [36:1], [อัลมุซซัมมิล; 73:1], [อัลมุดดัซซิร; 74:1] และ[อับดุลลอฮ์; 72:19]."[4]
รายละเอียด
แก้ซูเราะฮ์นี้เริ่มต้นโดยการยืนยันความถูกต้องตามกฎหมายของมูฮัมหมัด[5] ตัวอย่างเช่น อายะฮ์ที่ 2-6 "ขอสาบานด้วยอัลกุรอานที่มีคำสั่งอันรัดกุม แท้จริง เจ้าเป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้ถูกส่งมาอย่างแน่นอน (เป็นผู้) อยู่บนแนวทางอันเที่ยงธรรม อัลกุรอานนี้เป็นการประทานลงมาจากพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงเมตตาเสมอ เพื่อเจ้าจะได้ตักเตือนกลุ่มชนหนึ่งซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขามิได้ถูกตักเตือนมาก่อนดังนั้น พวกเขาจึงไม่สนใจ"[6] ในช่วงของอายะฮ์ที่ 1-12 ได้กล่าวให้ผู้คนนำกุรอานเป็นทางนำ โดยกล่าวเป็นคำเตือนแก่ผู้ปฏิเสธไว้ว่า 36:10 "และมีผลเท่ากันแก่พวกเขา เจ้าจะตักเตือนพวกเขาหรือไม่ตักเตือนพวกเขาก็ตาม พวกเขาก็จะไม่ศรัทธา"[6]
จากนั้นจึงเล่าเรื่องราวของศาสดาที่ถูกส่งมาตักเตือนผู้ปฏิเสธ แต่พวกเขากลับไม่สนใจ[5] ถึงแม้ว่าศาสดาท่านนั้นได้กล่าวว่าเป็นสิ่งที่ดีแล้ว แต่ถูกผู้ปฏิเสธกล่าวไว้ว่า 36:14-15 " เมื่อเราส่งทูตสองคนไปยังพวกเขา พวกเขาได้ปฏิเสธเขาทั้งสอง ดังนั้น เรา (อัลลอฮฺ) จึงเพิ่มพลังด้วยการส่งทูตคนที่สามแล้วพวกเขา (บรรดาทูต) ได้กล่าวว่า “แท้จริงพวกเราถูกส่งมายังพวกท่าน“ พวกเขา (ชาวเมือง) กล่าวว่า “พวกท่านมิใช่ใครอื่น นอกจากเป็นสามัญชนเช่นเดียวกับพวกเรา และพระผู้ทรงกรุณาปรานีมิได้ประทานสิ่งใดลงมา พวกท่านมิได้เป็นอื่นใดนอกจากกล่าวเท็จ”[7] หลังจากที่เขาตายแล้ว ศาสดาคนที่สามได้เข้าสวรรค์ 36:26 - 27 "เขากล่าวว่า “โอ้ มาตรว่าหมู่ชนของฉันได้รู้ (สภาพของฉัน) ถึงการที่พระเจ้าของฉันทรงอภัยให้แก่ฉัน และทรงทำให้ฉันอยู่ในหมู่ผู้มีเกียรติ”"[8] และตักเตือนผู้ปฏิเสธศรัทธาในสิ่งที่พวกเขาปฏิเสธ แต่อายะฮ์ที่ 36:30 ได้ยืนยันว่า พวกเขาไม่มีทางรู้ถึงสิ่งนี้แน่นอน "โอ้ อนิจจาต่อปวงบ่าว ไม่มีรอซูลคนใดมายังพวกเขา เว้นแต่พวกเขาได้เย้ยหยันเขา"[9]
หลังจากนั้นได้กล่าวถึงสัญญาณอำนาจสูงสุดของอัลลอฮ์เหนือธรรมชาติ[5] ตัวอย่างเช่น 36:33-37:
และสัญญาณหนึ่งสำหรับพวกเขาก็คือ แผ่นดินที่แห้งแล้งเราได้ให้มันมีชีวิตชีวาขึ้นมาและเราได้นำเมล็ดพืชออกมาจากมัน ซึ่งส่วนหนึ่งจากเมล็ดพืชนั้นพวกเขาใช้กิน และเราได้ทำให้มีในแผ่นดินนั้นเรือกสวนมากหลาย จากอินทผลัมและองุ่น และเราได้ทำมีตาน้ำในนั้น เพื่อพวกเขาจะได้กินผลไม้ของมันและจากสิ่งที่มือของพวกเขาได้กระทำมันขึ้นแล้วพวกเขาจะไม่ขอบคุณกระนั้นหรือ ? มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระผู้ทรงสร้างทุกสิ่งทั้งหมดเป็นคู่ ๆ จากสิ่งที่แผ่นดินได้ (ให้มัน) งอกเงยขึ้นมา และจากตัวของพวกเขาเองและจากสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ และสัญญาณหนึ่งสำหรับพวกเขาก็คือกลางคืน เราได้ถอนกลางวันออกจากมัน แล้วพวกเขาก็อยู่ในความมืด[8]
หลังจากนั้นจึงกล่าวถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้าใครปฏิเสธทางนำที่ถูกต้องของมุฮัมมัดและอัลลอฮ์ ในวันสุดท้าย วันแห่งการชำระบัญชี ผู้ปฏิเสธจะต้องรับกรรมของตนเองและถูกลงโทษไปตามกัน[5] อัลลอฮ์ได้เตือนไม่ให้หลงตามชัยฏอน แต่มันนำทางลูกหลานอาดัมไปสู่ความหายนะ 36:60-63 "ข้ามิได้บัญชาพวกเจ้าดอกหรือ โอ้ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย! ว่าพวกเจ้าอย่าได้เคารพบูชาชัยฏอนมารร้าย แท้จริงมันนั้นเป็นศัตรูตัวฉกาจของพวกเจ้า และพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า นี่คือแนวทางอันเที่ยงแท้ และโดยแน่นอน มันได้ทำให้หมู่ชนจำนวนมากของพวกเจ้าหลงทาง ทำไมพวกเจ้าจึงไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญเล่า? นี่คือนรกญะฮันนัม ซึ่งพวกเจ้าถูกสัญญาไว้"[10] อย่างไรก็ตาม อัลลอฮ์ได้เตือนไม่ให้หลงตามชัยฏอน แต่ผู้ปฏิเสธศรัทธากลับหูหนวกต่อสัจธรรม จึงต้องรับกรรมในวันแห่งการชำระบัญชี 36:63-64 "นี่คือนรกญะฮันนัม ซึ่งพวกเจ้าถูกสัญญาไว้ วันนี้พวกเจ้าจะเข้าไปลิ้มรสมัน เนื่องเพราะพวกเจ้าปฏิเสธ"[10]
ซูเราะฮ์นี้ได้ยืนยันว่ามุฮัมมัดคือศาสดาที่แท้จริง[5] 36:69 "เรามิได้สอนกวีนิพนธ์แก่เขา (มุฮัมมัด) และไม่เหมาะสมแก่เขาที่จะเป็นกวีคัมภีร์นี้มิใช่อื่นใดเลย นอกจากเป็นข้อตักเตือนและเป็นคัมภีร์อันชัดแจ้ง"[11] และกล่าวถึงความยิ่งใหญ่กับอำนาจของอัลลอฮ์ 36:82-83 "แท้จริงพระบัญชาของพระองค์ เมื่อทรงประสงค์สิ่งใด พระองค์ก็จะตรัสแก่มันว่า “จงเป็น” แล้วมันก็จะเป็นขึ้นมา ดังนั้น มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ซึ่งในพระหัตถ์ของพระองค์มีอำนาจเหนือทุกสิ่งและยังพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจะถูกนำกลับไป"[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ Joseph E. B. Lumbard, "Introduction to Sūrat Yā Sīn", in The Study Quran ed. S.H. Nasr, Caner Dagli, Maria Dakake, Joseph Lumbard, and Mohammed Rustom (HarperOne, 2015), p. 1069.
- ↑ The Qur'an. A new translation by M.A.S. Abdel Haleem. Oxford University Press. 2004.
- ↑ Tafsir al-Jalalayn. Translated by Firas Hamza. Royal Al al-Bayt Institute for Islamic Thought. Amman, 2007.
- ↑ Joseph E. B. Lumbard, "Commentary on Sūrat Yā Sīn", in The Study Quran, ed. S.H. Nasr, Caner Dagli, Maria Dakake, Joseph Lumbard, and Mohammed Rustom (HarperOne, 2015), p. 1070.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อlinguisticmiracle.com
- ↑ 6.0 6.1 The Qur'an. A new translation by M.A.S. Abdel Haleem. Oxford University Press. 2004. Pg. 281
- ↑ The Qur'an. A new translation by M.A.S. Abdel Haleem. Oxford University Press. 2004. Pg.281
- ↑ 8.0 8.1 The Qur'an. A new translation by M.A.S. Abdel Haleem. Oxford University Press. 2004. Pg. 282
- ↑ The Qur'an. A new translation by M.A.S. Abdel Haleem. Oxford University Press. 2004. Pg.282
- ↑ 10.0 10.1 The Qur'an. A new translation by M.A.S. Abdel Haleem. Oxford University Press. 2004. Pg. 283
- ↑ 11.0 11.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อThe Qur'an 2004. Pg. 284