ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าใครต่างก็ต้องเคยเศร้ากันบ้าง ในหลายกรณีที่ความเศร้าเป็นปฏิกิริยาปกติของมนุษย์ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์ในชีวิต ข่าวดีก็คือทุกคนต่างมีความสามารถในการที่จะมีความสุข และมีสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อปลดล็อกความสามารถนั้นเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ค้นหาความสุขภายใน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เขียนความรู้สึกออกมา.
    ลองซื้อสมุดบันทึกที่คุณสามารถเอาไว้เขียนความคิดและความรู้สึกของคุณได้โดยเฉพาะ หลายครั้งที่การเขียนถึงความรู้สึกโศกเศร้าเพื่อให้เราเข้าใจมันมากขึ้นนั้นเป็นวิธีการที่ดี วิธีนี้ช่วยให้คุณได้ "ปรับตัว" เข้าหาตัวเองและเข้าใจตนเองได้ในระดับที่ลึกขึ้น[1]
    • การเขียนบันทึก แม้จะเขียนแค่วันละ 20 นาที ก็ช่วยทำให้ความคิดของคุณกระจ่างและได้จัดระเบียบความคิดของคุณที่มีต่อความเศร้า ซึ่งช่วยให้คุณสามารถระบุได้ว่า ทำไมคุณถึงรู้สึกเศร้า นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณได้ติดตามรูปแบบพฤติกรรมและอารมณ์ของตัวเองอีกด้วย งานวิจัยพบว่า การเขียนบันทึกทำให้สุขภาพกายของคุณดีขึ้น และเพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกันเพราะช่วยลดความเครียด[2]
    • ขณะเขียนให้สนใจสิ่งที่คุณกำลังเขียน ไม่ต้องสนใจว่าจะเขียนอย่างไร พูดอีกอย่างก็คือ ไม่ต้องสนใจเรื่องความสละสลวยหรือการสะกด ตัวอย่างเรื่องที่คุณเขียนในบันทึกอาจจะเป็น : "วันนี้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ความเศร้าเรื่องการหย่ายังคงตามหลอกหลอนฉัน บางทีฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฉันควรเศร้ากับมันหรือเปล่า เพราะถึงจะเพิ่งหย่าเมื่อปีที่แล้ว แต่ชีวิตแต่งงานของเราก็จบลงไปนานก่อนหน้านั้น ฉันรู้ดี แต่ฉันก็กังวลว่าตัวเองกำลังติดอยู่กับอดีต ลูกๆ เองก็ทุกข์ใจ ฉันก็โกรธตัวเองเหมือนกันที่ปล่อยวางความเศร้าไม่ได้สักที คนอื่นเขาก็หย่ากันตั้งเยอะตั้งแยะ ทำไมฉันถึงต้องมาทุกข์ใจขนาดนี้นะ ตอนที่มีวันแย่ๆ ครั้งที่แล้วฉันคุยกับน้องสาว เดี๋ยวโทรหาน้องดีกว่า ฉันรู้ดีว่าพรุ่งนี้ทุกอย่างก็จะยังดำเนินต่อไป
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หัวเราะและยิ้มเข้าไว้.
    งานวิจัยพบว่า การยิ้มทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น[3] นอกจากนี้การหัวเราะยังหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นด้วย[4]
    • แม้ว่าคุณจะไม่ค่อยอยากยิ้มหรือหัวเราะเท่าไหร่ แต่การใช้กล้ามเนื้อเล็กๆ ที่ช่วยในการหัวเราะและยิ้มเหล่านั้นก็ทำให้คุณมีความสุขขึ้นได้จริงๆ เพราะฉะนั้นลองแกล้งยิ้มดูสิ มันอาจจะรู้สึกฝืนๆ ในช่วงแรก แต่การหัวเราะหรือยิ้มกระตุ้นความทรงจำที่สนุกๆ หรือมีความสุขได้ และทำให้คุณหัวเราะหรือยิ้มออกมาได้จริงๆ ด้วย[5]
    • ถ้าคุณไม่อยากลองฝืนยิ้มหรือหัวเราะ ให้ลองดูหนังตลก อ่านหนังสือตลกๆ หรือใช้เวลากับเพื่อนที่คุณรู้ดีว่าจะทำให้คุณยิ้มได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ร้องไห้เพื่อระบายความเศร้า.
    ถึงคุณจะไม่อยากร้องไห้เพราะคุณกำลังพยายามทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นและกลับมามีความสุขอีกครั้ง แต่บางครั้งการร้องไห้ก็ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้ ถ้าคุณรู้สึกอยากร้องไห้ ก็อย่ากลั้นไว้และปล่อยให้น้ำตาไหลออกมา การร้องไห้อาจทำให้คุณรู้สึกดีและโล่งมากยิ่งขึ้น เพราะการปล่อยให้น้ำตาไหลออกมาช่วยสร้างความรู้สึกที่ว่า คุณได้ระบายความเศร้า " ออกจากอก" แล้ว
    • งานวิจัยชี้ว่า คนส่วนใหญ่รู้สึกดีขึ้นหลังร้องไห้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า การร้องไห้เป็นหนึ่งในวิธีกำจัดฮอร์โมนความเครียดออกจากร่างกายตามธรรมชาติ[6][7]
    • แต่ถึงการร้องไห้จะมีประโยชน์ในการลดความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น แต่คุณก็ต้องรู้ว่าการไม่สามารถควบคุมน้ำตาได้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาด้านอารมณ์หรือฮอร์โมนที่ร้ายแรงกว่า[8] ถ้าคุณพบว่าตัวเองไม่สามารถหยุดร้องไห้ได้ คุณควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอย่างแพทย์หรือนักบำบัด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พยายามมองภาพรวม.
    สิ่งอื่นๆ ในชีวิตที่ควรค่าแก่การมีชีวิตอยู่คืออะไร พยายามนึกถึงทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตที่คุณให้คุณค่า เช่น เพื่อนๆ ครอบครัว และสุขภาพ แล้วคุณอาจจะเห็นว่าคุณมีเรื่องให้สุขใจและขอบคุณมากมาย แม้ว่าช่วงเวลานั้นคุณจะไม่รู้สึกมีความสุขหรือรู้สึกขอบคุณสักเท่าไหร่ก็ตาม งานวิจัยมากมายพบว่า ความรู้สึกขอบคุณเชื่อมโยงกับความสุขอย่างลึกซึ้ง[9]
    • นึกถึงความทรงจำดีๆ[10] ถ้าคุณเคยผ่านช่วงเวลาดีๆ มาแล้ว นั่นหมายความว่าช่วงเวลาดีๆ ย่อมเกิดกับคุณได้อีก และสิ่งนี้เองที่เป็นความงดงามของความทรงจำ แค่เพราะตอนนี้คุณรู้สึกแย่ก็ไม่ได้แปลว่าว่าพรุ่งนี้คุณจะยังรู้สึกแบบนี้อยู่
    • ในกรณีที่ความเศร้านั้นเกิดจากเหตุการณ์เล็กๆ ในชีวิต เช่น ได้คะแนนการบ้านไม่ดี ก็ให้ปรับมุมมองและคิดว่าอีก 10 ปีข้างหน้าคุณจะยังเศร้าเรื่องนี้อยู่ไหม และถึงตอนนั้นเหตุการณ์นี้จะยังสำคัญอยู่หรือเปล่า ลองพิจารณาคำพูดโบราณๆ อย่าง "อย่าไปเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่อง" ดูบ้าง[11]
    • พยายามหาสิ่งที่ทำให้คุณสุขใจให้ได้วันละ 1 อย่าง มีคำท้ามากมายในเว็บไซต์โซเชียลมีเดียทั้ง Facebook Twitter และ Instagram ที่มีแฮชแท็กอย่าง "100happydays" หรือ "findthelight" เพื่อกระตุ้นให้คนมองหาช่วงเวลาแห่งความสุขและความรู้สึกขอบคุณเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน[12]
    • แม้แต่ความเศร้าที่มาจากเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดในชีวิตอย่างการสูญเสียสามี/ภรรยา การทบทวนชีวิตในมุมกว้างก็อาจช่วยคุณได้ เช่น คุณอาจจะพบความสุขใจจากการได้นึกถึงความทรงจำดีๆ ที่มีร่วมกับคนรักที่เสียชีวิตไปแล้ว และได้สัมผัสถึงความสุขและการรู้สึกขอบคุณที่คุณได้มีเขาอยู่ในชีวิต แม้ว่าคุณจะเศร้าที่เขาจากคุณเร็วเกินไปก็ตาม
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เบี่ยงเบนความสนใจ.
    บางครั้งเวลาที่เราเศร้า มันก็ยากที่จะคิดเรื่องอื่น แต่การจมอยู่กับความเศร้าอาจเป็นอันตรายมากกว่ามีประโยชน์ และทำให้คุณรู้สึกสิ้นหวังและไร้พลังมากยิ่งขึ้น[13] การเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่เรื่องดีๆ สามารถช่วยให้คุณจดจ่ออยู่กับเรื่องอื่นๆ นอกจากความเศร้าได้ และยังช่วยลดความเครียดอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "การลื่นไหล" คุณไม่ได้หนีปัญหา แต่คุณจดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่ทำให้คุณลืมเวลาและสถานที่ต่างหาก[14] วิธีที่ช่วยให้คุณเบี่ยงเบนความสนใจได้ก็เช่น :
    • ฟังเพลง พยายามอย่าฟังเพลงเศร้า ลองฟังเพลงที่ทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แสดงถึงความกังวล บอกเล่าความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง หรือฟังเพลงจังหวะสนุกๆ ควบคู่ไปกับเพลงที่สร้างแรงบันดาลใจหรือเตือนให้คุณนึกถึงช่วงเวลาดีๆ เพลงเป็นเครื่องมือที่ช่วยบำบัดจิตใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ[15]
    • ดูรูปตอนเด็กๆ หรือรูปถ่ายตอนไปเที่ยว ตอนเรียนจบ และภาพเหตุการณ์สำคัญในชีวิต ถ้ามีรูปตลกๆ โผล่ขึ้นมาก็อย่าข้ามไป จ้องมองนานๆ เพราะมันช่วยเตือนให้คุณรู้ว่า ชีวิตในแต่ละวันผ่านไปอย่างรวดเร็ว และคุณก็มีช่วงเวลาที่มีความสุข (และตลกๆ!) มากมายควบคู่ไปกับช่วงเวลาที่โศกเศร้าในชีวิต
  6. How.com.vn ไท: Step 6 อ่านหนังสือ.
    ปล่อยให้ตัวเองหลงอยู่ในอีกโลกหนึ่งหรือโลกในอดีต บ่อยครั้งที่หนังสือพาเราไปยังที่ๆ เราไม่เคยไป และที่เหล่านั้นก็มีเรื่องราวน่าตื่นตาตื่นใจและโรแมนติกกว่าที่ๆ เราอยู่ตอนนี้ ไม่ว่าคุณจะอ่านนิยายอิงประวัติศาสตร์หรือนิยายรักสุดเร่าร้อน การดื่มด่ำไปกับโลกอีกใบหนึ่งช่วยให้ใจของคุณได้ผ่อนคลายและทำให้คุณได้จดจ่อกับสิ่งอื่น การอ่านหนังสือแค่ 6 นาทีก็ช่วยลดระดับความเครียดได้ถึง 2 ใน 3[16]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ประเมินความเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เข้าใจความเศร้า.
    ความเศร้าเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ความทุกข์ที่ใหญ่กว่า ความเศร้าเป็นอารมณ์เจ็บปวดที่มักเกิดขึ้นชั่วคราวและปกติแล้วมักมาจากปัจจัยภายนอก เช่น การเลิกรา การทะเลาะหรือเห็นไม่ตรงกับเพื่อนสนิท การอยู่ห่างจากครอบครัว หรือการสูญเสียคนที่รัก ความเศร้าเป็นอารมณ์ปกติที่คนส่วนใหญ่รู้สึกในหลายช่วงของชีวิต[17]
    • ความเศร้าที่มาจากปฏิกิริยาความทุกข์อาจมีผลต่อสมาธิ ความอยากอาหาร และการนอนของคุณ[18]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้ความแตกต่างระหว่างความเศร้ากับโรคซึมเศร้า....
    รู้ความแตกต่างระหว่างความเศร้ากับโรคซึมเศร้า. คุณต้องรู้ความแตกต่างระหว่างความเศร้ากับโรคซึมเศร้า เพราะการรักษานั้นแตกต่างกันออกไป โรคซึมเศร้าไม่เหมือนความเศร้าตรงที่โรคซึมเศร้ามักไม่สามารถระบุสาเหตุภายนอกได้อย่างชัดเจน เราแค่รู้สึกไปอย่างนั้น เมื่อเทียบกันแล้วโรคซึมเศร้านั้นร้ายแรงกว่าเพราะมันทำให้อารมณ์ไม่ดี นอนน้อยเกินไปหรือเยอะเกินไป น้ำหนักลดหรือน้ำหนักขึ้น อยากอาหารมากขึ้นหรืออยากอาหารน้อยลง พลังงานน้อย ไม่สนใจโลกรอบข้าง หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม สมาธิสั้น และรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า[19]
    • หนึ่งในข้อแตกต่างหลักๆ ระหว่างโรคซึมเศร้ากับความเศร้าก็คือ ความสามารถในการรู้สึกถึงความพอใจ ความรัก และความหวัง คนเราเวลาเศร้า เรามักจะรับรู้ถึงช่วงเวลาของความสุขหรือความพอใจได้อยู่ แต่ในกรณีของโรคซึมเศร้า คนที่เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถรับรู้ถึงความพอใจ ความหวัง หรือความรู้สึกใดๆ ได้เลย และกลายเป็นไม่รับรู้ถึงอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้นสำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ความเศร้าของพวกเขาเป็นเหมือนเมฆบนหัวที่พวกเขาไม่สามารถหลีกหนีไปได้เลย พวกเขามีแนวโน้มที่จะเอาแต่คิดวกไปวนมาและจมอยู่กับความเศร้า และไม่รู้สึกว่าตัวเองจะ "มีความสุข" ได้เลย[20]
    • นอกจากนี้โรคซึมเศร้ายังคงอยู่เป็นเวลานาน และอาจเป็นสิ่งที่หลายคนต้องต่อสู้อยู่เป็นเดือนๆ เป็นปีๆ หรือตลอดชีวิต ในขณะที่ความเศร้ามักจะเกิดขึ้นประเดี๋ยวประด๋าวชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ถ้าคุณพบว่าตัวเองไม่สามารถรับมือกับความเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความเศร้าส่งผลที่ไม่ดีต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสงสัยว่าจริงๆ แล้วตัวเองอาจเป็นโรคซึมเศร้า ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต การรักษาโรคซึมเศร้าสามารถทำได้ด้วยการเข้ารับจิตบำบัดและการใช้ยา เพราะฉะนั้นคุณต้องประเมินว่าความรู้สึกของคุณมันเรื้อรังหรือเป็นแค่ความเศร้าแค่ชั่วครั้งชั่วคราว เพื่อที่คุณจะได้เข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทบทวนอารมณ์ของตัวเอง.
    เพิ่งมีเหตุการณ์อะไรในชีวิตที่ช่วยอธิบายสิ่งที่คุณกำลังรู้สึกอยู่ตอนนี้ได้หรือเปล่า เช่น คุณเพิ่งเลิกราหรือสูญเสียคนในครอบครัวไปหรือเปล่า การระบุสาเหตุของความเศร้าจะช่วยให้คุณเข้าใจและข้ามผ่านมันไปได้ การทบทวนปัจจัยภายนอกยังช่วยยืนยันได้ว่า สิ่งที่คุณเผชิญอยู่นั้นเป็นปฏิกิริยาความเศร้าปกติที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่โรคซึมเศร้าเรื้อรัง
    • นอกจากนี้การได้รู้ว่าอะไรทำให้คุณเศร้ายังช่วยให้คุณรู้วิธีที่จะบรรเทาความเศร้าอย่างเหมาะสมได้อีกด้วย เช่น ความเศร้าที่คุณรู้สึกหลังจากเลิกรากับแฟนหนุ่มที่คบกันมาได้ 3 เดือนนั้นต่างจากความเศร้าหลังจากสามีที่แต่งงานกันมา 10 ปีเพิ่งเสียชีวิต
    • ถ้าคุณเป็นทุกข์จากการสูญเสียครั้งใหญ่หรือเหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำทางจิตใจ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่สามารถช่วยคุณวางแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความเศร้าและความทุกข์ได้อาจเป็นประโยชน์กับคุณ ระดับความเครียดในชีวิต Holmes-Rahe ระบุว่า เหตุการณ์ตึงเครียดที่มีผลต่อความเป็นอยู่ด้านจิตใจและร่างกายมากที่สุดก็คือ การตายของสามี/ภรรยา การหย่าร้าง การแยกกันอยู่กับสามี/ภรรยา และการตายของสมาชิกในครอบครัวที่สนิท ในกรณีที่ความเศร้าดูท่าจะรุนแรงแบบนี้ เทคนิคด้านล่างควบคู่ไปกับการบำบัดอาจช่วยคุณได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ทำกิจกรรมสนุกๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ออกกำลังกาย.
    ออกไปเดินเล่น วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือขี่จักรยาน เล่นกีฬาเป็นทีม ทำอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณได้ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหว การออกกำลังกายทำให้ร่างกายของคุณหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินส์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ "ทำให้รู้สึกดี" ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นและยับยั้งการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย[21][22]
    • การออกกำลังกายหรือกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบใดก็ได้ที่ทำให้คุณต้องใช้พลังงานมากขึ้นและทำให้กล้ามเนื้อหดตัวจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ที่มีประโยชน์แก่คุณ เพราะฉะนั้นถึงคุณจะไม่มีอารมณ์ไปคลาสปั่นจักรยานหรือวิ่ง 5 กิโลเมตร แค่ทำความสะอาดบ้านหรือออกไปเดินเล่นสัก 15 – 20 นาทีก็ช่วยให้ร่างกายของคุณเริ่มหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ที่คุณต้องการเพื่อให้มีความสุขมากขึ้นได้แล้ว[23]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินของขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพ.
    นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า สิ่งที่คุณกินและช่วงเวลาที่คุณกินมีผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของคุณ ถ้าคุณกำลังเศร้า ลองกินของขบเคี้ยวที่มีไขมันต่ำ โปรตีนต่ำ แต่คาร์โบไฮเดรตสูง เช่น อิงลิชมัฟฟินปิ้งกับแยม การที่เรารับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่าโปรตีนหรือไขมันจะทำให้เกิดการหลั่งกรดอะมิโนที่ชื่อว่าทริปโตเฟนเข้าไปในสมอง จากนั้นทริปโตเฟนก็จะกลายเป็นเซอโรโทนิน สารส่งผ่านประสาทที่ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้ภายใน 30 นาที[24]
    • นอกจากนี้คุณอาจจะกินอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตอย่างป๊อปคอร์นถุงหรือขนมปังโฮลวีตสักแผ่นก็ได้ แต่คุณต้องไม่กินอาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างชีสและสัตว์ปีก อาหารเหล่านี้จะไปยับยั้งเซอโรโทนินเพราะกรดอะมิโนทั้งหมดในอาหารเหล่านี้จะแข่งกับเซอโรโทนิน และสุดท้ายก็จะกันไม่ให้ทริปโตเฟนหลั่งเข้าไปในสมอง [25]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อยากทำอะไรก็ทำเลย.
    บางครั้งกิจวัตรที่เหมือนเดิมและน่าเบื่อก็ทำให้คุณรู้สึกแย่ได้[26] อยู่ๆ นึกอยากจะทำอะไรก็ทำเลย (แต่ต้องไม่ใช่การตัดสินใจแบบหุนหันพลันแล่นนะ!) ไปเยี่ยมเพื่อนหรือไปพิพิธภัณฑ์ ทำอาหารกลางวันให้แม่ประหลาดใจ หรือไปเที่ยวเมืองหรือจังหวัดอื่นในวันหยุดสุดสัปดาห์ การผสมนั่นนิดนี่หน่อยอาจช่วยให้คุณได้ค้นพบความปรารถนาในชีวิตอีกครั้งก็ได้
    • คุณอาจจะเปลี่ยนแปลงกิจวัตรด้วยการเพิ่ม "สิ่งกวนใจ" เล็กๆ น้อยๆ เข้าไปในตารางประจำวันของคุณ เช่น ตอนเช้าก็อาจจะทำอะไรสลับกันจากที่เคยทำ เช่น ชงกาแฟหลังอาบน้ำ ไปทำงานเช้ากว่าปกติ แค่พักจากกิจวัตรประจำวันสักหน่อยและดูว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร บางครั้งกิจวัตรที่เราคุ้นเคย แม้จะทำให้เราสบายใจในช่วงแรกๆ ก็อาจกลายเป็นกับดักได้[27]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทำงานอดิเรก.
    แสดงอารมณ์เชิงลบหรืออารมณ์ที่หนักหนาผ่านกิจกรรมอื่น ทำกิจกรรมที่คุณชอบและช่วยให้คุณผ่อนคลาย เช่น ระบายสี ถ่ายภาพ เขียนบทกวี หรือปั้นเซรามิกส์ หาอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณรู้สึกสงบและช่วยย้ายคุณ "ออกจาก" การต่อสู้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณจะ "หลบหนี" จากความเศร้าได้ แต่หมายความว่าคุณสามารถรับมือได้ดีขึ้นด้วยการหาเวลาทำในสิ่งที่คุณชอบ
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถทำกิจกรรมใหม่ๆ ได้ด้วย คุณอาจจะอยากลองเล่นโยคะมาตลอดแต่ไม่มีโอกาสสักที กระโดดเข้าไปทำอะไรใหม่ๆ เพื่อให้ชีวิตกลับมากระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง การลองทำกิจกรรมใหม่ๆ หรืองานอดิเรกใหม่ๆ เป็นอีกวิธีที่ยอดเยี่ยมที่จะทำให้คุณได้พบคนอื่นๆ ที่มีความชอบเหมือนกัน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อาบน้ำฝักบัว...
    อาบน้ำฝักบัว หรือแช่อ่างอาบน้ำ. แล้วคุณจะต้องประหลาดใจว่าการอาบน้ำฝักบัวทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้แค่ไหน ลองอาบน้ำเย็นกว่าปกติ เพราะน้ำเย็นมีประโยชน์และช่วยเยียวยาได้ งานวิจัยพบว่า น้ำเย็นช่วยทำให้การไหลเวียนเลือดและการไหลของเลือดดีขึ้น ลดความเครียดและความตึง และทำให้อารมณ์ดี ความเย็นทำให้เกิดการหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์เข้าไปในกระแสเลือดและสมอง ทำให้คุณรู้สึกเหมือนได้เติมพลังและรู้สึกถึงพลังเชิงบวกมากยิ่งขึ้น[28]
    • ถ้าคุณอยากแช่อ่างอาบน้ำมากกว่า ลองใส่เกลือยิบซอม (สัก 1 – 2 ถ้วย) ลงไปในอ่างอาบน้ำ เพราะนอกจากจะช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและลดความตึงแล้ว ยังมีรายงานว่าเกลือยิบซอมกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ ซึ่งช่วยลดความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น[29]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เข้าสังคม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุยกับเพื่อน.
    ปัจจัยหลักของความสุขคือ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม[30] การพูดคุยกับเพื่อนเรื่องความเศร้าหรือสถานการณ์ที่ทำให้คุณเศร้าช่วยลดความเจ็บปวดได้ เพราะคุณจะรู้ว่ามีคนห่วงใยคุณและความรู้สึกของคุณ การพูดออกมาดังๆ ยังช่วยให้คุณได้ "ปลดปล่อย" อารมณ์และอธิบายความรู้สึกของคุณได้อย่างชัดเจนด้วย เพราะมันบังคับให้คุณต้องแสดงความรู้สึกเหล่านั้นออกมาเป็นคำพูด ความเศร้าของคุณจะไม่เป็นนามธรรมอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เป็นสิ่งที่คุณสามารถตั้งชื่อและพูดคุยเกี่ยวกับมันได้ผ่านการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด[31]
    • งานวิจัยพบว่า คนที่เผชิญกับความเครียดจากเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต เช่น การสูญเสียคนรักหรือตกงานสามารถข้ามผ่านความยากลำบากได้ง่ายขึ้นถ้าเขามีกลุ่มเพื่อนและครอบครัวที่เขาสามารถเข้าหาและพึ่งพิงได้[32]
    • นอกจากนี้คุณอาจจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากการคุยกับเพื่อนด้วย เช่น บางทีเพื่อนอาจจะเคยเผชิญความรู้สึกเดียวกันหรือสถานการณ์เดียวกันมาก่อนและสามารถสนับสนุนพร้อมกับให้คำแนะนำคุณได้ หรือเพื่อนอาจจะช่วยให้คุณได้มองสถานการณ์จากมุมมองที่แตกต่างและอาจจะแนะนำวิธีรับมือกับสถานการณ์ในแบบที่คุณนึกไม่ถึงมาก่อน เช่น ถ้าคุณเลิกกับแฟน เพื่อนอาจจะเตือนคุณถึงทุกช่วงเวลาที่คุณโทรศัพท์มาบ่นว่าแฟนไม่สนใจและเห็นแก่ตัวแค่ไหน ในแง่นี้เพื่อนอาจช่วยเตือนคุณอีกครั้งว่า ทำไม คุณถึงเลิกกับแฟนในเวลาที่คุณยังคงติดกับดักความเศร้าที่ต้องเลิกกันอยู่
    • นอกจากนี้เพื่อนๆ ยังช่วยให้คุณรู้สึกว่ามีคนคอยสนับสนุนคุณและบรรเทาความรู้สึกที่เหมือนอยู่ตัวคนเดียว เพื่อนๆ รับฟังและมอบความเข้าใจให้แก่คุณ และแค่การคุยกับเพื่อนๆ ยังอาจะช่วยให้อารมณ์ของคุณดีขึ้นด้วย เพราะคุณจะต้องยิ้มและหัวเราะบ้างล่ะน่า!
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ออกไปเข้าสังคมข้างนอก.
    ออกไปดูหนัง ไปกินข้าวเย็นนอกบ้าน หรือออกไปปั่นจักรยานกับเพื่อนๆ หรือครอบครัว การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนอกบ้านควบคู่ไปกับการเบี่ยงเบนความสนใจจะช่วยให้คุณลืมเรื่องเศร้าไปได้ 2–3 ชั่วโมง แค่การคุยเรื่อยเปื่อยกับคนอื่นแม้แต่การพูดหยอกล้อธรรมดาๆ และการเปลี่ยนบรรยากาศรอบข้างก็ช่วยให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้แล้ว[33]
    • ถ้าธรรมชาติของคุณคือชอบอยู่คนเดียว คุณก็ไม่ควรเข้าสังคมมากเกินไปเพราะอาจทำให้คุณเครียดและประหม่ามากกว่าเดิม พยายามมีปฏิสัมพันธ์แต่น้อยในระดับที่จำกัด เช่น ไปทำธุระ ไปซื้อของใช้เข้าบ้าน หรือไปทำเล็บเท้ากับเพื่อน แทนที่จะเข้าผับโน้นออกบาร์นี้กับเพื่อนๆ ในค่ำคืนที่แสนยาวนาน [34]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้เวลากับสัตว์เลี้ยง.
    ถ้าคุณไม่อยากเข้าสังคมกับมนุษย์ด้วยกัน ลองใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงน่าฟัดของคุณก็ได้! การกอดหรือสัมผัสสัตว์ตัวโปรดอย่างเอ็นดูช่วยให้อารมณ์เศร้าของคุณดีขึ้นด้วยการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์อย่างการเชื่อมโยงและความใกล้ชิด[35] งานวิจัยพบว่าการใช้เวลากับสุนัขเพิ่มความเข้มข้นของเอนดอร์ฟินส์ สารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับหน่วยรับความรู้สึกในสมองที่กระตุ้นความรู้สึกเชิงบวกและทำให้อารมณ์ของคุณดีขึ้น[36]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใส่ใจผู้อื่น.
    การให้เวลาและพลังงานในการช่วยเหลือผู้อื่นไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณยุ่งตลอดเวลาเท่านั้น แต่ยังทำให้คุณรู้สึกถึงการได้รับรางวัลและเป้าหมาย ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองและสถานการณ์มากขึ้น[38]
    • หากิจกรรมอาสาสมัครที่คุณสนใจเป็นพิเศษ เช่น ช่วยงานที่ศูนย์พึ่งพิงคนไร้บ้านหรือโรงทาน ดูแลหรือพาสุนัขเร่ร่อนไปเดินเล่น หรือเป็นอาสาสมัครที่บ้านพักคนชรา[39]
    • แม้แต่การทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ให้คนอื่นอย่างการให้คนอื่นต่อคิวที่ซูเปอร์มาร์เก็ตก่อนก็ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ การแสดงความเมตตาทำให้เรารู้สึกถึงความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น เพราะมันเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่เราสามารถลงมือทำได้ ไม่ใช่แค่คิดอย่างเดียว[40]
    โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามซ่อนความรู้สึกจากคนอื่นเพราะมันไม่ได้ทำให้คุณหรือสถานการณ์ของคุณดีขึ้น เล่าให้เพื่อนที่คุณไว้ใจหรือคนในครอบครัวฟังว่าคุณรู้สึกอย่างไร และพวกเขาก็อาจจะให้กำลังใจคุณ แต่ถ้าคุณต้องการกำลังใจเพิ่ม ลองปรึกษานักบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอื่นๆ อย่างน้อยที่สุดพวกเขาก็สามารถพัฒนากลยุทธ์ที่ช่วยให้คุณรับมือกับความเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โฆษณา
  1. http://www.barriedavenport.com/2013/04/28/10-ways-to-snap-out-of-apathy/
  2. http://www.cnn.com/2014/01/13/living/sweat-small-stuff-real-simple/
  3. http://100happydays.com/
  4. http://cpx.sagepub.com/content/3/1/15
  5. http://www.huffingtonpost.com/2014/04/03/feel-happier-today_n_5022621.html
  6. http://www.childrenshospitaloakland.org/child_life/music_therapy.asp
  7. http://www.telegraph.co.uk/news/health/news/5070874/Reading-can-help-reduce-stress.html
  8. https://www.neumann.edu/life/counseling/mental_health/depression/sadness_depression.htm
  9. https://www.neumann.edu/life/counseling/mental_health/depression/sadness_depression.htm
  10. https://www.neumann.edu/life/counseling/mental_health/depression/sadness_depression.htm
  11. https://www.neumann.edu/life/counseling/mental_health/depression/sadness_depression.htm
  12. http://www.webmd.com/depression/guide/exercise-depression
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6091217
  14. http://www.huffingtonpost.com/2014/04/03/feel-happier-today_n_5022621.html
  15. http://www.prevention.com/food/healthy-eating-tips/food-and-mood-best-foods-make-you-feel-better
  16. http://www.prevention.com/food/healthy-eating-tips/food-and-mood-best-foods-make-you-feel-better
  17. http://www.barriedavenport.com/2013/04/28/10-ways-to-snap-out-of-apathy/
  18. http://www.barriedavenport.com/2013/04/28/10-ways-to-snap-out-of-apathy/
  19. http://thehealthylivinglounge.com/2010/02/15/12-essential-reasons-to-take-cold-showers/
  20. http://healthylilybee.com/2015/05/15/top-tips-to-alleviate-stress/
  21. http://www.huffingtonpost.com/2014/04/03/feel-happier-today_n_5022621.html
  22. http://www.apa.org/helpcenter/manage-stress.aspx
  23. Billings, A. G., & Moos, R. H. (1985) “Life stressors and social resources affect posttreatment outcomes among depressed patients.”Journal of Abnormal Psychology, 94, 140-153.
  24. http://www.prevention.com/mind-body/emotional-health/how-do-you-cope-sadness
  25. http://www.prevention.com/mind-body/emotional-health/how-do-you-cope-sadness
  26. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12672376
  27. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12672376
  28. http://www.helpguide.org/articles/emotional-health/the-health-benefits-of-pets.htm
  29. http://www.prevention.com/mind-body/emotional-health/how-do-you-cope-sadness
  30. http://www.prevention.com/mind-body/emotional-health/how-do-you-cope-sadness
  31. http://www.huffingtonpost.com/2014/04/03/feel-happier-today_n_5022621.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Leah Morris
ร่วมเขียน โดย:
ไลฟ์โค้ช
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Leah Morris. ลีอาห์ มอร์ริสเป็นโค้ชด้านชีวิตและความสัมพันธ์และเป็นเจ้าของ Life Remade ด้วยประสบการณ์กว่าสามปี เธอเชี่ยวชาญในการนำพาผู้คนผ่านช่วงเปลี่ยนผ่านในชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ลีอาห์จบปริญญาตรีด้านการสื่อสารองค์กรจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตทและได้ประกาศนียบัตรการเป็นไลฟ์โค้ชจากสถาบันเซาธ์เวสต์ บทความนี้ถูกเข้าชม 4,187 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,187 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา