วิธีการ รักษาอาการท้องเสียของนกคอกคาทีล

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้านกคอกคาทีล (หรือที่คนไทยเรียกนกค๊อกคาเทล) เกิดป่วยขึ้นมา ต้องรีบสังเกตอาการและหาสาเหตุทันที โดยเฉพาะตอนท้องเสีย ปกติขี้นกจะเหลวอยู่แล้วเพราะมีฉี่ผสมด้วย เลยดูไม่ค่อยออกว่าท้องเสียหรือเปล่า คุณจึงต้องรู้จักสังเกตลักษณะของขี้นกเป็นประจำ สังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย และพานกไปตรวจร่างกายกับสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นกท้องเสียหรือป่วยเมื่อไหร่จะได้รู้และรักษาได้ทันท่วงที[1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้จักอาการท้องเสียของนก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตขี้นกที่ก้นกรงว่านกท้องเสียไหม.
    ถ้าเลี้ยงนกมาสักพักแล้ว ก็น่าจะรู้ว่าปกติขี้นกที่ก้นกรงหน้าตาเป็นยังไง ถ้าอยู่ๆ หน้าตาเปลี่ยนไป เหลวขึ้นถึงขั้นเป็นน้ำ เป็นไปได้มากว่านกกำลังท้องเสีย[2]
    • ขี้นกคอกคาทีลปกติจะประกอบด้วยน้ำใสๆ, ฉี่นก, urate สีขาว (เป็นของเสียจากไต) และขี้นกสีอ่อนๆ บางทีก็สีต่างออกไป แล้วแต่ว่านกกินอะไร[3]
    • คุณต้องแยกให้ออกระหว่างฉี่นกกับตัวเนื้อของขี้นก ถ้ามีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อปน เป็นไปได้มากว่านกท้องเสีย[4]
    • ปกติคุณต้องเปลี่ยนกระดาษหรือวัสดุรองกรงอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งอยู่แล้ว นั่นแหละคือเวลาที่ควรสังเกตลักษณะของเสียของนก ถ้ารู้อยู่แล้วว่าขี้นกปกติหน้าตาเป็นยังไง จะรู้ทันทีถ้านกท้องเสีย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พฤติกรรมที่บอกว่านกป่วย.
    นกคอกคาทีลป่วยทีไรแทบดูไม่ออก แต่ถ้าสังเกตเห็นสัญญาณต่อไปนี้ ก็เป็นไปได้มากว่านกกำลังป่วย[5]
    • ไม่แต่งขนตัวเอง
    • เฉื่อยชา ไม่ร่าเริง
    • ไม่ร้องเจื้อยแจ้วเหมือนเดิม
    • ลังเลเวลาจะกินอาหาร
    • กระสับกระส่าย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 มีอาการอื่นร่วมด้วย.
    ที่นกท้องเสียมักมีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น มีแบคทีเรีย salmonella เวลานกท้องเสียคุณจึงควรสังเกตอาการผิดปกติทางกายอื่นๆ ร่วมด้วย จะได้แน่ใจว่านกป่วยจริง อาการที่ว่าก็เช่น[6]
    • อาเจียน
    • ขย้อนอาหาร
    • มีน้ำมูกหรือขี้ตาเยิ้ม
    • ขนยุ่งเหยิงเพราะนกไม่แต่งขน
    • ขี้นกมีเลือดปน เลยออกมาสีเข้มดำ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สำรวจหาสาเหตุที่อาจทำนกป่วย.
    บางทีพอปล่อยนกคอกคาทีลมาบินเล่นนอกกรง อาจไปเล่นซนทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อตัวเอง แบบนี้ต้องลองสำรวจรอบบ้านหรือห้องที่ปล่อยนกบินเล่นตามสะดวก เพื่อหาว่ามีอะไรที่อาจเป็นอันตรายหรือทำนกป่วยได้บ้าง ของที่อาจเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อนกก็เช่น[7]
    • อาหารที่เป็นพิษต่อนก เช่น ช็อคโกแลต เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์
    • ยารักษาโรคของคน
    • โลหะที่เป็นพิษต่อนก เช่น ตะกั่ว หรือสังกะสี
    • ยาฆ่าแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคต่างๆ เช่น ยาเบื่อหนู
    • พืชที่เป็นพิษต่อนก เช่น ลิลลี่ ต้นคริสต์มาส (poinsettia) บอน และอื่นๆ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พานกไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พานกไปตรวจร่างกาย.
    ถ้าพฤติกรรมของนกเปลี่ยนไปและมีอาการผิดปกติทางกาย ควรหาไปตรวจร่างกายกับสัตวแพทย์ คุณหมอจะตรวจและวินิจฉัยเองว่าสุขภาพโดยรวมเป็นยังไง มีปัญหาตรงไหน
    • หนึ่งในการตรวจที่จำเป็นก็เช่น ตรวจเลือดและเอ็กซเรย์[8]
    • สาเหตุยอดนิยมที่มักทำนกท้องเสียก็เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา เป็นเพราะสารพิษต่างๆ อาหารเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงลำไส้อุดตัน[9]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รักษานกตามที่คุณหมอแนะนำ.
    อันนี้แล้วแต่โรคที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย วิธีรักษาที่คุณหมอแนะนำจะแตกต่างกันไป เช่น เปลี่ยนอาหาร กินยา เปลี่ยนสภาพแวดล้อม หรือกิจวัตรประจำวัน[10]
    • ถ้านกติดเชื้อราหรือแบคทีเรียรุนแรง คุณหมอมักจ่ายยาให้ ปกติคือยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อรา
    • ถ้านกติดเชื้อไวรัส ที่ทำได้ก็คือดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ ไม่ให้นกขาดน้ำ เพื่อให้ภูมิคุ้มกันของนกแข็งแรง กำจัดไวรัสออกไปเอง
    • บางทีคุณหมออาจแนะนำให้เปลี่ยนอาหารชั่วคราวหรือถาวร เช่น เปลี่ยนเมล็ดพืช หรืองดผักผลไม้ชั่วคราว จนกว่าขี้นกจะหายเหลว
    • ถ้าลำไส้นกอุดตันร้ายแรง คุณหมออาจแนะนำให้ผ่าตัดเอาอะไรที่กีดขวางออกไป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เพิ่มความอบอุ่นให้นก.
    ช่วงที่ดูแลนกเองที่บ้าน ต้องเพิ่มแหล่งทำความร้อนให้นก เพราะนกป่วยจะตัวเย็นง่ายมาก ลองใช้โคมไฟสำหรับส่องให้ความอบอุ่นกับนกโดยเฉพาะดู
    • อย่าใช้โคมไฟตั้งโต๊ะทั่วไป เพราะตอนกลางคืนอาจรบกวนการนอนของนกได้ ที่สำคัญคือหลอดไฟปกติจะมีสารที่เป็นพิษต่อนกระเหยออกมาเหมือนเวลาคุณทอดอาหารด้วยกระทะ Teflon เลย[11]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ติดตามอาการของนก.
    ระหว่างดูแลนก ต้องคอยสังเกตอาการด้วย อย่าคิดว่าหมอให้ยามาแล้วจะหายเป็นปลิดทิ้ง ต้องหมั่นสังเกตว่านกเลิกท้องเสียหรือยัง อาการผิดปกติอื่นๆ หายไปไหม ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ก็ต้องพาไปหาหมออีกรอบ[12]
    • ถ้ารักษาตามหมอสั่งแล้วนกไม่ดีขึ้น ก็ต้องพากลับไปหาหมอทันที อย่าปล่อยไว้เพราะคิดว่าจะหายเอง สำคัญมากว่านกต้องได้รับการดูแลรักษาให้ถูกโรคและต่อเนื่อง
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เตรียมน้ำสะอาดและเมล็ดพืชรวม (seed mix) ให้นก.
    ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ ให้น้ำสะอาดอยู่เสมอ เมล็ดพืชรวมที่เคยให้นกกินตามปกติก็ยังให้ได้ แต่ขอให้งดพวกของสด เช่น ผักและผลไม้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันไม่ให้นกท้องเสีย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พาไปตรวจร่างกายเป็นประจำ.
    ถึงนกคอกคาทีลจะไม่เจ็บป่วยตรงไหน ก็ควรหาไปตรวจร่างกายตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันโรคแต่เนิ่นๆ เพราะโรคของนกสังเกตอาการได้ยากมาก โดยเฉพาะอาการท้องเสีย หรือโรคที่ทำให้ท้องเสีย ถ้าหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ นกคอกคาทีลก็จะอยู่เป็นเพื่อนรักของคุณไปได้อีกนาน[13]
    • วิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณหมอหาสาเหตุและรักษาได้ง่ายขึ้น ก็คือต้องเช็คว่านกไม่มีพยาธิหรือปรสิตต่างๆ เพราะมักเป็นสาเหตุทำให้นกท้องเสีย[14]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ค่อยๆ เปลี่ยนอาหาร.
    การเปลี่ยนอาหารกะทันหันก็มักเป็นสาเหตุทำนกท้องเสีย เพราะอาหารไม่ย่อย ต้องค่อยๆ เปลี่ยนแปลงทีละน้อย จนเหลือแต่อาหารใหม่ในที่สุด[15]
    • ค่อยๆ ผสมอาหารใหม่ลงในอาหารเดิมที่นกกินอยู่ทีละนิด ให้ค่อยๆ เพิ่มปริมาณอาหารใหม่ไปเรื่อยๆ ใช้เวลาหลายอาทิตย์หน่อย จนสุดท้ายเหลือแต่อาหารชนิดใหม่อย่างเดียว
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หมั่นทำความสะอาดกรง.
    อย่างที่บอกว่านกท้องเสียได้เพราะหลายโรค ถ้าป้องกันโรคต่างๆ แต่แรกจะช่วยได้มาก วิธีทำให้นกปลอดโรคได้ดีที่สุด ก็คือกรงต้องสะอาดอยู่เสมอ
    • ให้ทำความสะอาดคร่าวๆ ทุกวัน เช่น ล้างชามแล้วเปลี่ยนน้ำ/อาหาร รวมถึงเปลี่ยนกระดาษหรือวัสดุรองกรง
    • ล้างทำความสะอาดทั้งกรงเป็นประจำ โดยเอาทุกอย่างในกรงออก และย้ายนกไปไว้กรงอื่นชั่วคราว จากนั้นล้างทำความสะอาดของใช้ของนกทุกอย่าง รวมถึงล้างและฆ่าเชื้อกรง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กักโรคนกใหม่.
    คุณป้องกันการระบาดของโรคได้ โดยกักโรคนกใหม่ แยกจากนกเก่า จนแน่ใจว่าไม่ได้เป็นพาหะนำโรคต่างๆ เท่านี้นกก็ไม่ท้องเสียและไม่ต้องกลัวโรคอื่นๆ แล้ว
    • ต้องแยกนกใหม่ไว้คนละห้องเป็นเวลา 30 วัน รวมถึงแยกของใช้ต่างๆ เช่น ชามน้ำชามอาหาร และอุปกรณ์ทำความสะอาดด้วย[16]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Pippa Elliott, MRCVS
ร่วมเขียน โดย:
สัตวแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Pippa Elliott, MRCVS. ดร.เอลเลียต, BVMS, MRCVS เป็นสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์การผ่าตัดและช่วยเหลือสัตว์มากว่า 30 ปี เธอจบปริญญาด้านการผ่าตัดและให้ยาสัตว์จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในปี 1987 และทำงานในคลินิกสัตวแพทย์ที่บ้านเกิดมากว่า 20 ปี บทความนี้ถูกเข้าชม 51,475 ครั้ง
หมวดหมู่: นก
มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,475 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา