ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ผิวไหม้แดดขึ้นมาแล้วแสนจะทรมาน แถมถ้าใครผิวไหม้แดดตอนอายุน้อยๆ ก็เสี่ยงลุกลามไปเป็นมะเร็งผิวหนังในภายหลังได้[1] ผิวหน้านั้นบอบบาง เสียหายง่ายกว่าจุดอื่น จึงสำคัญมากว่าคุณต้องรู้วิธีรักษาและป้องกันอาการไหม้แดด บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการสังเกต รักษา และป้องกันอาการผิวหน้าไหม้แดดให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาบรรเทาอาการไหม้แดดทันทีทันใด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เข้าที่ร่ม.
    ทันทีที่รู้สึกแสบร้อนใบหน้า หรือสังเกตเห็นว่าหน้าเริ่มแดง ให้เข้าบ้านหรือในอาคาร หรืออย่างน้อยก็หลบเข้าที่ร่ม กว่าอาการไหม้แดดจะแสดงอาการ ก็ต้องใช้เวลา 4 - 6 ชั่วโมงหลังหลบแดด แต่ถ้าหลบแดดทันที จะป้องกันไม่ให้ผิวไหม้แดดรุนแรงได้[2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดื่มน้ำ.
    ทันทีที่เริ่มมีอาการผิวไหม้แดด ให้รีบดื่มน้ำ เติมความชุ่มชื้นให้ผิว[3] ไหม้แดดแล้วทำให้ขาดน้ำได้ จนหลอดเลือดขยาย (vasodilation) ทำให้ยิ่งขาดน้ำอย่างรวดเร็วและอ่อนเพลีย ถ้าดื่มน้ำเรื่อยๆ จะป้องกันผลที่จะตามมาได้ เช่น ปวดหัว[4]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 วักน้ำเย็นใส่หน้า.
    ถ้าร้อนหน้าเพราะผิวไหม้แดด ให้หมั่นสาดน้ำเย็นใส่หน้าเพื่อระบายความร้อน จากนั้นใช้ผ้านุ่มๆ ซับให้แห้งเบาๆ จะใช้ผ้าเปียกเย็นๆ โปะหน้าผากหรือประคบที่แก้มคลายร้อนก็ได้[5]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทาหน้าด้วยมอยส์เจอไรเซอร์หรือว่านหางจระเข้....
    ทาหน้าด้วยมอยส์เจอไรเซอร์หรือว่านหางจระเข้. อย่าใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีปิโตรเลียม, benzocaine หรือ lidocaine ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้สดๆ หรือมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองหรือว่านหางจระเข้แทน[6] ถ้าระคายผิวเป็นพิเศษ หรือหน้าบวม ให้ทาครีมสเตียรอยด์ (ครีม hydrocortisone 1%)[7] โดยอ่านคำแนะนำในการใช้งานให้ละเอียดหลังซื้อจากร้านขายยา[8]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินยาไอบูโพรเฟน แอสไพริน หรือพารา (acetaminophen).
    ให้กินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID (nonsteroidal anti-inflammatory drug) คือยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ทันทีที่รู้ตัวว่าผิวไหม้แดด จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ระคายเคือง และเจ็บปวดได้ โดยอ่านและทำตามคำแนะนำการใช้งานที่ฉลากอย่างเคร่งครัด[9]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สำรวจผิวตัวเอง.
    พออาการผิวไหม้แดดเห็นเด่นชัด ให้สำรวจผิวตัวเองอย่างใกล้ชิด ว่าไหม้แดดรุนแรงแค่ไหน[10] ถ้ามีอาการคลื่นไส้ หนาวสั่น ตาพร่ามัว มีแผลพุพองขนาดใหญ่ตามร่างกาย หรือมีไข้ ให้รีบไปหาหมอโดยเร็วที่สุด[11]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ดูแลผิวหน้าไหม้แดดระหว่างฟื้นตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดื่มน้ำเยอะๆ.
    จะช่วยคืนความชุ่มชื้นให้ผิวหลังไหม้แดด เพราะผิวไหม้แดดแล้วทำให้ขาดน้ำได้ จนปวดหัวและอ่อนเพลีย นอกจากนี้น้ำยังจำเป็นต่อร่างกาย ส่วนเครื่องดื่มเกลือแร่ (sports drinks) ก็ทดแทนเกลือแร่ (electrolytes) ที่เสียไปได้[12]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทาครีมบ่อยๆ.
    ผิวไหม้แดดต้องได้รับมอยส์เจอไรเซอร์บ่อยๆ แต่อย่าเลือกที่มีปิโตรเลียม, benzocaine และ lidocaine[13] ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้สดๆ หรือมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองหรือว่านหางจระเข้แทน[14] ถ้าระคายผิวเป็นพิเศษ หรือหน้าบวม ให้ทาครีมสเตียรอยด์ (ครีม hydrocortisone 1%)[15]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ห้ามแกะเกาตุ่มพองหรือลอกหนัง.
    เพราะเสี่ยงเกิดแผลเป็นตามใบหน้า[16] ถ้ามีตุ่มพองหรือผิวแห้งลอก ก็ปล่อยไป รอจนหายสนิทเอง[17]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าออกแดดจนกว่าจะอาการดีขึ้น.
    ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ให้ทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 - 50 ใส่หมวก หน้ากากอนามัย แว่นกันแดด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และพยายามหลบแดดตามที่ร่มหรือเข้าตึกอาคารให้ได้มากที่สุด[18]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใช้วิธีแบบบ้านๆ.
    มีของใช้ในบ้านหลายอย่างเลย ที่ใช้รักษาผิวไหม้แดดได้ตามธรรมชาติ ลองใช้ควบคู่ไปกับวิธีอื่นๆ ที่แนะนำมาดู[19]
    • ประคบชาคาโมไมล์หรือชามินต์อุ่นนิดๆ ที่ใบหน้า โดยชงชาคาโมไมล์สักถ้วย ทิ้งไว้ให้เย็นลงเท่าอุณหภูมิห้อง จากนั้นเอาสำลีก้อนมาจุ่ม นำไปประคบหรือซับๆ ตามใบหน้า[20]
    • ประคบด้วยนมสด[21] เอาผ้าก๊อซหรือผ้าขนหนูจุ่มนมสดเย็นๆ แล้วบิดหมาด จากนั้นนำไปประคบใบหน้า นมจะช่วยสร้างชั้นป้องกันให้ผิว แถมช่วยให้ผิวเย็น รักษาบรรเทาอาการระคายเคือง[22]
    • พอกหน้าด้วยมันฝรั่งที่ปั่นจนเหนียวข้นเป็น paste เริ่มจากหั่นและปั่นมันฝรั่งดิบ จากนั้นใช้สำลีก้อนจุ่มจนชุ่ม แล้วนำมาโปะที่หน้า[23]
    • มาสก์หน้าด้วยแตงกวา ปอกแล้วบดหรือปั่นแตงกวาให้เขละๆ จากนั้นพอกหน้าไว้ paste แตงกวาจะช่วยคลายร้อนให้ผิวได้[24]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันผิวหน้าไหม้แดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทาครีมกันแดดทุกวัน.
    ปกป้องผิวหน้าและผิวกายโดยทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 - 50 เสมอเมื่อรู้ตัวว่าต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยทาครีมกันแดดอย่างน้อย 15 นาทีก่อนออกแดด และทาซ้ำทุก 90 นาที ถ้าจะไปว่ายน้ำหรือทำอะไรให้เหงื่อออก ต้องใช้ครีมกันแดดแบบกันน้ำ[25]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สวมหมวกตอนออกแดด.
    หมวกปีกกว้าง (4 นิ้ว) จะช่วยป้องกันไม่ให้หนังศีรษะ หู และคอไหม้แดด[26]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สวมแว่นกันแดด.
    ที่กันรังสียูวีได้ ดวงตาจะได้ไม่โดนแดดจัดๆ จนเสียสายตา[27]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าลืมปกป้องริมฝีปาก!.
    เพราะไหม้แดดได้เหมือนส่วนอื่นๆ เพราะงั้นต้องทาลิปมันเสมอ โดยเลือกที่มี SPF อย่างน้อย 30[28]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อย่าออกแดดทีละนานๆ.
    ถ้าเป็นไปได้ อย่าพยายามอยู่กลางแจ้งนานๆ ช่วง 10 โมง - 4 โมงเย็น เพราะเป็นช่วงที่ไหม้แดดง่ายกว่าช่วงเวลาอื่นของวัน[29]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สำรวจผิวตัวเองเรื่อยๆ.
    เวลาออกแดดต้องหมั่นสังเกตผิวตัวเอง ถ้าเริ่มแสบ คัน หรือแดง แสดงว่าเริ่มไหม้แดด ต้องรีบเข้าร่มด่วน[30]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 แค่กางร่มยังปกป้องผิวไม่พอ.
    ถึงร่มจะช่วยให้ผิวไม่โดนแดดเผาโดยตรง แต่พื้นทรายก็สะท้อนแสงแดดมาไหม้ผิวได้ เพราะงั้นต้องทาครีมกันแดดเสมอ กระทั่งกางร่มเป็นประจำก็เถอะ[31]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผิวไหม้แดด ป้องกันง่ายกว่ามานั่งรักษาทีหลัง เพราะงั้นต้องดูแลตัวเองแต่เนิ่นๆ ทุกครั้งที่ออกแดด[32]
  • ถึงจะแต่งหน้าปกปิดผิวไหม้แดดได้ ก็ไม่แนะนำ (ทั้งรองพื้น แป้ง และบลัชออน) ควรรอให้หายดีก่อน โดยเฉพาะถ้าไหม้แดดรุนแรง[33]
  • ใครๆ ก็เสี่ยงผิวไหม้แดดทั้งนั้น แต่เด็กเล็กและผู้ใหญ่ที่ผิวขาวหรือผิวบาง ต้องระวังเป็นพิเศษ (ทาครีมกันแดด สวมหมวก เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และอื่นๆ) เพราะผิวไหม้แดดง่ายกว่าคนอื่น[34]
  • เวลาออกแดด ต้องทาครีมกันแดดเสมอ เพื่อป้องกันผิวไหม้แดด
โฆษณา

คำเตือน

  • ให้รีบหาหมอทันที ถ้าคลื่นไส้ วิงเวียน ปวดหัว ไข้จับสั่น หน้าบวม หรือเจ็บปวดรุนแรง เพราะคุณอาจเป็นฮีทสโตรกได้[35]
โฆษณา
  1. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  2. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  3. http://www.huffingtonpost.com/2014/08/17/sunburn-treatment_n_5679751.html
  4. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  5. http://www.medicinenet.com/10_home_remedies_for_sunburn_treatment/views.htm
  6. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  7. http://www.huffingtonpost.com/2014/08/17/sunburn-treatment_n_5679751.html
  8. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  9. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  10. http://everydayroots.com/sunburn-remedies
  11. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/other-home-treatment-measures-for-a-first-degree-burn-or-sunburn-topic
  12. http://everydayroots.com/sunburn-remedies
  13. http://www.medicinenet.com/10_home_remedies_for_sunburn_treatment/views.htm
  14. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/other-home-treatment-measures-for-a-first-degree-burn-or-sunburn-topic
  15. http://www.medicinenet.com/10_home_remedies_for_sunburn_treatment/views.htm
  16. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/sunburn-prevention
  17. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/sunburn-prevention
  18. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/sunburn-prevention
  19. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003227.htm
  20. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/sunburn-prevention
  21. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  22. http://www.cnn.com/2012/07/10/living/guide-to-sun-safety/
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003227.htm
  24. http://www.huffingtonpost.com/2013/06/26/makeup-for-sunburn_n_3502676.html
  25. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003227.htm
  26. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/sun-poisoning

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Mohiba Tareen, MD
ร่วมเขียน โดย:
หมอผิวหนังที่มีใบรับรอง
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Mohiba Tareen, MD. โมฮิบา ทารีนเป็นหมอผิวหนังที่มีใบรับรองและเป็นผู้ก่อตั้ง Tareen Dermatology ในโรสวิลล์, เมเปิลวูดและฟาริโบต์ในมินนิโซตา ดร.ทารีนจบจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนแห่งแอนน์อาเบอร์ด้วยเกียรตินิยม และเคยเป็นแพทย์ผิวหนังประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก เธอได้รับรางวัลคอนราด สตริซเลอร์และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารแพทย์แห่งนิวอิงแลนด์ บทความนี้ถูกเข้าชม 6,362 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,362 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา