ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ซื้อแล็ปท็อปแบรนด์ดังนั้นสะดวกดี แต่บางทีก็น่าหงุดหงิด เพราะฟีเจอร์ต่างๆ ไม่ตรงใจในที่เดียว แถมราคาก็แพงทั้งที่บางอย่างแทบไม่ได้ใช้งาน โดยเฉพาะโปรแกรมบังคับต่างๆ ที่ติดมา จริงๆ แล้วการประกอบแล็ปท็อปไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าสละเวลาและแรงกายสักหน่อย คุณสามารถประกอบแล็ปท็อปออกมาได้ตรงใจกว่าเยอะเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รวบรวมชิ้นส่วน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จะใช้งานแล็ปท็อปในด้านไหน.
    ถ้าใช้แค่พิมพ์งาน (word processor) กับส่งอีเมล สเปคก็แตกต่างจากใช้เล่นเกมเทพๆ แน่นอน อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ก็สำคัญ เพราะถ้าอยากพกพาไปใช้ที่ไหนต่อไหน แล็ปท็อปที่ประกอบก็ต้องประหยัดแบตหน่อย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เลือก processor ที่ตรงกับการใช้งาน.
    อย่าง shell หรือตัวโครงของแล็ปท็อปก็ต้องยึดตามขนาด processor ที่จะติดตั้งเป็นหลัก เพราะงั้นให้เลือก processor ก่อน โดยเปรียบเทียบรุ่นต่างๆ ว่ารุ่นไหนแรงแต่ไม่เปลืองแบตและไม่ร้อนไว ถ้าซื้อตามเน็ตจะเปรียบเทียบได้แบบรุ่นต่อรุ่นเลย
    • ต้องเลือก mobile processor หรือของแล็ปท็อปโดยเฉพาะ ไม่ใช่ desktop processor ที่ใช้กับคอมตั้งโต๊ะ
    • processor ที่ใช้กันหลักๆ มี 2 ยี่ห้อ คือ Intel กับ AMD แต่ละยี่ห้อก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป แค่ว่า AMD จะราคาถูกกว่า ยังไงให้ลองศึกษาดูดีๆ เรื่องรุ่น processor ที่สนใจ จะได้คุ้มค่าคุ้มราคา
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เลือกโครงแล็ปท็อป.
    notebook shell หรือ shell จะเป็นตัวกำหนดชิ้นส่วนอื่นๆ ของแล็ปท็อป โดย shell หรือโครงแล็ปท็อปปกติจะมาพร้อมเมนบอร์ดอยู่แล้ว ซึ่งจะกำหนด memory หรือความจำที่คุณใช้ได้
    • ขนาดหน้าจอและรูปแบบของคีย์บอร์ดก็สำคัญ เพราะแล็ปท็อปปรับขนาดหน้าจอกับคีย์บอร์ดทีหลังไม่ได้ ต้องคิดให้ดีก่อนเลือก แต่ถ้าอยากได้หน้าจอใหญ่ๆ ขนาดของเคสหรือโครงแล็ปท็อปก็จะใหญ่ตาม ทำให้พกพาลำบาก แถมหนักขึ้นอีกเยอะ
    • โครงแล็ปท็อปเปล่าๆ นั้นหายากพอตัว ให้ลองพิมพ์คำว่า “barebones notebook” หรือ “whitebook shell” ส่วนภาษาไทยลองพิมพ์ว่า “ประกอบ โน้ตบุ๊ค” หรือ “โครง โน้ตบุ๊ค” ใน search engine ที่ชอบดู อย่าง MSI ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่เจ้าที่ยังผลิตโครงแล็ปท็อปออกมาขายอยู่
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หาซื้อ memory.
    แล็ปท็อปต้องมี RAM หรือ memory ถึงจะใช้งานได้ และชนิดหรือฟอร์แมตของ memory ที่ใช้ก็จะแตกต่างกับของ PC ให้มองหา SO-DIMM memory ที่ใช้กับเมนบอร์ดที่มีได้ ถ้า RAM แรงๆ ก็ใช้งานได้ลื่นไหล แต่ระวังแบตจะหมดเร็ว
    • ถ้าใช้งานประจำวัน ให้เลือก RAM ขนาด 8 หรือ 16 GB กำลังดี
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เลือกฮาร์ดไดรฟ์.
    ปกติแล็ปท็อปจะใช้แบบ 2.5” ส่วน PC เป็น 3.5” และต้องเลือกมาตรฐาน 5400 RPM หรือ 7200 RPM ด้วย ไม่ก็เลือก solid state drive (SSD) ที่ไม่มีส่วนไหนขยับเขยื้อน ซึ่งแบบ SSD ปกติจะแรงกว่า แต่ข้อเสียคือใช้ยากกว่าในระยะยาว ถ้าอยากได้แล็ปท็อปพกพาสะดวก เลือกไดรฟ์แบบ SSD จะดีที่สุด เพราะทนต่อแรงกระทบกระเทือนได้มากกว่าแบบ hard disk drive (HDD)
    • เลือกฮาร์ดไดรฟ์ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลเพียงพอกับการใช้งาน ปกติโครงแล็ปท็อปจะมีที่ใส่ได้แค่ไดรฟ์เดียว เพราะฉะนั้นจะอัพเกรดทีหลังลำบาก ควรเลือกใช้ไดรฟ์ที่ยังเหลือพื้นที่พอหลังติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้ว (ประมาณ 15 - 20 GB) โดยคนใช้แล็ปท็อปสมัยนี้จะนิยมใช้ประมาณ 800 GB - 1.5 TB
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ต้องใช้การ์ดจอแยก (dedicated graphics...
    ต้องใช้การ์ดจอแยก (dedicated graphics card) หรือเปล่า (ไม่จำเป็น). บางโครงแล็ปท็อปก็ใส่การ์ดจอแยกอีกไม่ได้ จะใช้การ์ดจอออนบอร์ด (integrated graphics card) ของ CPU แทน แต่ถ้าโครงของคุณติดตั้งการ์ดจอแยกได้ด้วย ก็ต้องพิจารณาจากการใช้งานว่าจำเป็นไหม ถ้าเป็นคอเกมหรือกราฟิกดีไซเนอร์ก็ขาดไม่ได้
  7. How.com.vn ไท: Step 7 หาไดรฟ์อ่านแผ่น (optical drive) (ไม่จำเป็น).
    เดี๋ยวนี้ถือเป็นอุปกรณ์เสริมมากกว่าอุปกรณ์บังคับ เพราะแล็ปท็อปรุ่นใหม่ๆ ติดตั้งระบบปฏิบัติการได้จากไดรฟ์ USB แถมดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ ได้จากในเน็ต เลยไม่ค่อยมีไดรฟ์อ่านแผ่นติดมา จากไรท์ข้อมูลใส่แผ่น ก็เปลี่ยนเป็นใช้ memory card กับ removable drive อย่าง USB แทน
    • โครงแล็ปท็อปบางแบบจะมีไดรฟ์ติดมาด้วยเลย แต่ถ้าแยกกัน ก็ต้องเช็คดีๆ ว่าไดรฟ์นั้นใช้กับโครงที่มีได้
    • วิธีพิจารณาว่าจะใช้ไดรฟ์อ่านแผ่นหรือไม่ก็ง่ายๆ ถ้าปกติคุณต้องใช้แผ่น CD/DVD ก็ต้องมี แต่เดี๋ยวนี้ก็มีไดรฟ์อ่านแผ่นแบบ external เสียบผ่านพอร์ท USB ได้เลย ไม่ต้องฝังในเครื่อง
  8. How.com.vn ไท: Step 8 เลือกแบตเตอรี่.
    ต้องเลือกที่มีรูปร่างและขั้วเสียบที่ใช้กันได้ (แบตของแล็ปท็อปจะมีหลาย pin และมี IC บอกอุณหภูมิเครื่อง กับบอกว่าแบตใช้งานได้ตามปกติไหม ต้องชาร์จหรือเปล่า สุดท้ายคือบอกเปอร์เซ็นต์ของแบต) ถ้าคิดจะพกพาแล็ปท็อปไปไหนมาไหนตลอด ก็ต้องเลือกที่แบตไม่หมดง่ายๆ โดยลองเปรียบเทียบดูหลายๆ รุ่นก่อนซื้อ
    • เลือกที่รีวิวดีๆ ให้อ่านในเว็บคอมหรือตามกระทู้ก่อน จะได้รู้ความเห็นผู้ใช้จริงๆ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ประกอบร่าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รวบรวมเครื่องมือสำหรับประกอบชิ้นส่วน.
    ต้องมีชุดไขควงสำหรับซ่อมแว่นตาหรือเครื่องประดับ ถ้าเป็นแม่เหล็กได้จะดีที่สุด เพราะน็อตของแล็ปท็อปจะเล็กและไขยากกว่าของ PC เยอะเลย อีกอย่างที่ต้องใช้คือคีมปากแหลม เอาไว้คีบน็อตที่ตกหล่นไปในร่องเล็กๆ
    • เก็บน็อตไว้ในถุงพลาสติกหรือซิปล็อคเสมอ ใช้เมื่อไหร่ค่อยหยิบออกมา จะได้ไม่กลิ้งหายไปไหน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ต่อสายดินให้ตัวเอง.
    ไฟฟ้าสถิตแค่นิดเดียวก็ทำชิ้นส่วนต่างๆ ของคอมเจ๊งได้เลย เพราะงั้นให้ ground หรือต่อสายดินให้ตัวเองก่อนประกอบแล็ปท็อป โดยใส่สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต นอกจากปลอดภัยแล้วยังราคาถูกด้วย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หงายโครงแล็ปท็อปขึ้น.
    เพื่อเปิดฝาต่างๆ เข้าไปถึงเมนบอร์ด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เปิดฝาปิด drive bay.
    เป็นฝาปิดช่องขนาด 2.5” สำหรับใส่ฮาร์ดไดรฟ์ ส่วนจะอยู่ตรงไหนก็แล้วแต่โครงแล็ปท็อปที่เลือกใช้ แต่ปกติจะอยู่ค่อนมาทางหน้าแล็ปท็อป
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใส่ฮาร์ดไดรฟ์ในถาด.
    ปกติแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊คต้องใส่ฮาร์ดไดรฟ์ในถาดขนาดพอดีกันก่อน แล้วค่อยเอาไปใส่ในช่อง (bay) เวลาใส่ถาดแล้วต้องยึดน็อตทั้ง 4 ตัวให้แน่นหนาด้วย ปกติรูน็อตจะเห็นชัดเจน ไม่ไขผิดแน่นอน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เลื่อนถาดฮาร์ดไดรฟ์กลับเข้าไปในช่อง.
    ใช้ grip tape ยึดไดรฟ์ให้แน่น พอใส่ไดรฟ์เข้าที่แล้วถาดจะต้องตรงกับรูน็อต 2 รู จากนั้นให้ไขน็อตยึดให้แน่นหนา
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ติดตั้งไดรฟ์อ่านแผ่น.
    วิธีจะต่างกันไปตามโครงแล็ปท็อปที่ใช้ แต่ปกติต้องใส่เข้าไปในช่องเปิดด้านหน้า ให้ไหลเข้าไปใน SATA connector
  8. How.com.vn ไท: Step 8 เปิดฝาปิดเมนบอร์ด.
    จะเปิดยากกว่าแผ่นปิดช่องใส่ฮาร์ดไดรฟ์ ต้องแงะเปิดออกหลังไขน็อตทั้งหมดแล้ว
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ติดตั้ง memory.
    พอเปิดฝาแล้ว ก็จะเข้าถึงเมนบอร์ดกับ memory slot ได้ ให้ใส่ SO-DIMM memory chip ในช่องแบบเฉียงๆ แล้วกดลงให้เข้าที่ดังคลิก แท่ง memory จะใส่ได้ทิศทางเดียวเท่านั้น ถ้าไม่เข้าแสดงว่าใส่ผิด อย่าฝืนกด
  10. How.com.vn ไท: Step 10 ติดตั้ง CPU.
    รอบๆ socket หรือช่องใส่ CPU อาจจะมีตัวล็อคอยู่ ให้เอาไขควงปากแบนหมุนไปที่ “unlocked” หรือปลดล็อค
    • พลิก CPU ให้เห็น pin จะมีอยู่มุมหนึ่งที่ไม่มี pin รอยบากนี้ต้องตรงกันกับรอยบากในช่อง
    • CPU จะใส่ลงในช่องหรือ socket ได้ทิศทางเดียวเท่านั้น ถ้าไม่ลงล็อคก็อย่าฝืน ไม่งั้น pin จะงอได้ เท่ากับ processor เสียไปเลย
    • พอใส่ CPU แล้ว ให้ไขล็อคคืนที่ “locked”
  11. How.com.vn ไท: Step 11 ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ (ปกติแล็ปท็อปจะใช้พัดลมหอยโข่ง หรือ...
    ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ (ปกติแล็ปท็อปจะใช้พัดลมหอยโข่ง หรือ centrifugal fan). พัดลมนี้มีทั้งแบบช่วยให้ CPU เย็น หรือช่วยให้ทั้ง CPU และชิ้นส่วนต่างๆ เย็น ปกติ CPU จะมาพร้อม cooling fan หรือพัดลมระบายอากาศอยู่แล้ว พัดลมส่วนใหญ่จะมี thermal paste หรือซิลิโคนกันความร้อนติดอยู่ข้างใต้ (ส่วนที่ต้องประกบกับ CPU) อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มี ก็ต้องทาเองแล้วค่อยติดพัดลมเข้าไป
    • พอทา paste นี้แล้ว ก็ติดตั้งพัดลมได้เลย ให้ฝั่งที่อากาศออกตรงกับช่องระบายอากาศของโครงแล็ปท็อป เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างละเอียด ต้องดูให้ดีๆ อย่าฝืนกด heatsink (แผงระบายความร้อน) กับชิ้นส่วนพัดลม ให้ค่อยๆ ขยับเข้าไป บางทีก็มีสลักด้วย ถ้าเคสมีช่องใส่ตัวกรองฝุ่นของพัดลม ก็ให้ใส่ด้วย ฝุ่นจะได้ไม่อุดตัน heatsink[1]
    • เอียง heatsink ทำมุมจนเจอตำแหน่งที่ใช่ thermal paste จะได้ไม่เลอะเทอะไปหมด
    • ติดตั้งพัดลมเสร็จแล้วให้เสียบสายไฟของพัดลมกับเมนบอร์ด ถ้าไม่เสียบพัดลมให้ดี แล็ปท็อปจะ overheat หรือร้อนจัดจนปิดตัวเองหลังใช้งานไปไม่กี่นาที
  12. How.com.vn ไท: Step 12 ปิดฝาทั้งหมด.
    พอติดตั้งทุกชิ้นส่วนเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดทุกฝากลับคืน แล้วไขน็อตยึดให้แน่นหนาเหมือนเดิม เท่านี้แล็ปท็อปของคุณก็พร้อมใช้แล้ว!
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ตั้งค่าก่อนใช้งาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อย่าลืมใส่แบต.
    อาจจะฟังดูตลก แต่บางทีเราก็ลืมใส่แบตระหว่างประกอบได้เหมือนกัน ห้ามลืมเด็ดขาด แล้วชาร์จให้เต็มก่อนเปิดเครื่องใช้งาน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เช็ค memory.
    ก่อนติดตั้งระบบปฏิบัติการ ให้ใช้ Memtest86+ ทดสอบก่อน ว่า memory เรียบร้อยดี และคอมใช้งานได้ คุณดาวน์โหลด Memtest86+ ได้ฟรี จะบูทจากแผ่น CD หรือไดรฟ์ USB ก็ได้
    • คุณเช็คได้ด้วย ว่า memory ที่ติดตั้งไปใช้งานได้จริงหรือเปล่า โดยเข้า BIOS หาส่วน Hardware หรือ Monitor แล้วดูว่า memory ขึ้นไหม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ติดตั้งระบบปฏิบัติการ.
    ถ้าประกอบแล็ปท็อปเอง คุณเลือกได้ว่าจะใช้ Microsoft Windows หรือ Linux ถ้า Windows ของแท้ก็แพงหน่อย แถมเสี่ยงโดนไวรัสได้ แต่ก็จะใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลายกว่า ส่วน Linux นั้นใช้ฟรี แถมปลอดภัยกว่า Windows และมีชุมชนนักพัฒนาให้ได้ปรึกษาหารือ
    • Linux มีหลายเวอร์ชั่นให้เลือกใช้ แต่ที่คนนิยมกันก็คือ Ubuntu, Mint และ Debian
    • ถ้าจะใช้ Windows ต้องติดตั้งเวอร์ชั่นล่าสุด เพราะเวอร์ชั่นเก่าๆ เดี๋ยวทาง Microsoft ก็ทยอยเลิกสนับสนุน
    • ถ้าไม่ได้ติดตั้งไดรฟ์อ่านแผ่นไว้ ให้เซฟไฟล์ระบบปฏิบัติการลงไดรฟ์ USB สำหรับติดตั้ง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ติดตั้งไดรฟ์เวอร์ต่างๆ...
    ติดตั้งไดรฟ์เวอร์ต่างๆ. พอติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว ให้ติดตั้งไดรฟ์เวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย ปกติถ้าเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ จะติดตั้งไดรฟ์เวอร์ส่วนใหญ่ให้อัตโนมัติ เหลือแค่บางไดรฟ์เวอร์ที่คุณต้องลงเอง
    • ปกติอุปกรณ์ต่างๆ จะมาพร้อมแผ่นติดตั้งไดรฟ์เวอร์ ให้ติดตั้งจากแผ่นเลยถ้าระบบปฏิบัติการของคุณสแกนหาไดรฟ์เวอร์ที่ต้องใช้ไม่เจอ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Matt Ham
ร่วมเขียน โดย:
ผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมคอมพิวเตอร์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Matt Ham. แมตต์ แฮมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังเป็นซีอีโอและประธานบริษัท Computer Repair Doctor อีกด้วย แมตต์มีประสบการณ์มากว่าทศวรรษ เชี่ยวชาญด้านการซ่อมแซมและการอัปเกรด Mac, PC, iPhone, iPad และสมารต์โฟน แมตต์ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโลไรนาสเตท และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แมตต์ได้ขยายสาขา Computer Repair Doctor ไปแล้วถึง 7 แห่ง นอกจากนี้เขายังเป็นเจ้าของร่วม Repair Life เอเจนซีการตลาดครบวงจรที่เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ให้แก่ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 8,222 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,222 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา