วิธีการ บอกใครสักคนว่าเขาพูดมากเกินไป

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การนั่งฟังใครสักคนพล่ามไม่หยุดเป็นประสบการณ์ที่น่าเหนื่อยหน่ายไม่น้อย จะให้พูดออกไปตรงๆ ก็มีแต่จะอึดอัดใจทั้งสองฝ่ายมากกว่า แต่ไม่ว่าอย่างไรคนๆ นั้นอาจจะไม่รู้ตัวก็ได้ว่าเขาพูดมากและอาจจะรู้สึกขอบคุณที่มีคนมาสะกิดเขาด้วยซ้ำ ถ้าคุณอยากบอกใบ้ให้ใครสักคนรู้ตัวว่าเขาพูดมากไปหน่อย ลองมาอ่านเคล็ดลับดีๆ ในบทความนี้กันเลย!

1

กำหนดขอบเขตล่วงหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: วิธีนี้เป็นวิธีตัดไฟตั้งแต่ต้นล้มอย่างมีชั้นเชิง....
    วิธีนี้เป็นวิธีตัดไฟตั้งแต่ต้นล้มอย่างมีชั้นเชิง. คุณอาจจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ทุกครั้ง แต่หากคุณกำลังจะเริ่มประชุมหรือพูดคุยกับคนที่พูดมาก ให้ตั้งกฎพื้นฐานตั้งแต่แรก เช่น หากเป็นการพูดคุยกันเป็นกลุ่ม คุณอาจจะเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการขอให้ทุกคนยกมือก่อนพูดและพูดสั้นๆ เท่านั้น[1]
    • คุณอาจจะพูดประมาณว่า "ในการประชุมครั้งนี้ผมมีประเด็นที่ต้องชี้แจงหลายเรื่อง เพราะฉะนั้นผมจึงขอให้ทุกคนฟังให้จบก่อนแล้วค่อยถามนะครับ"[2]
    โฆษณา
2

ส่งสัญญาณให้เขาเห็นสักเล็กน้อยก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: หวังว่าเขาจะเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการสื่อและเป็นฝ่ายจบบทสนทนาเอง....
    หวังว่าเขาจะเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการสื่อและเป็นฝ่ายจบบทสนทนาเอง. ถ้าการต้องเผชิญหน้ากับคนๆ นี้ทำให้คุณรู้สึกจึ๊กกะดึ๋ย ลองหามาตรการป้องกันล่วงหน้า เช่น ถ้าเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดินมาหาคุณที่โต๊ะและเริ่มจ้อไม่หยุด ให้ก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไป จากนั้นก็กระแอมสัก 2-3 ครั้ง ไม่ค่อยสนใจฟัง และดูนาฬิกาข้อมือบ่อยๆ[3]
    • ถ้าคุณคิดว่าเขากำลังจะเดินเข้ามาหาคุณแล้ว ให้ลองใส่หูฟัง
    • ถ้าคุณทำงานในออฟฟิศของตัวเอง ลองแขวนป้ายไว้ที่ประตูว่า “ห้ามรบกวน” “กำลังคุยโทรศัพท์” หรือ “กำลังประชุม”
3

พูดเรื่องนี้เป็นการส่วนตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: ถ้ากำลังคุยกันเป็นกลุ่ม อย่าลากเขามาตบกลางสี่แยกต่อหน้าทุกคน....
    ถ้ากำลังคุยกันเป็นกลุ่ม อย่าลากเขามาตบกลางสี่แยกต่อหน้าทุกคน. การพูดคุยเรื่องนี้อาจทำให้รู้สึกกระอักกระอ่วน เพราะฉะนั้นคุณควรแยกเขาออกจากคนอื่นและพูดคุยกันแค่สองคน พูดคุยกันเป็นการส่วนตัวสักครู่หรือนัดคุยกันต่อหน้าสั้นๆ โดยที่ปิดประตูไม่ให้ใครเห็น ชวนเขาคุยกันหลังไมค์แบบสบายๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้คนอื่นๆ ในกลุ่มสงสัย[4]
    • คุณอาจจะบอกเขาว่า “ประเด็นนี้น่าสนใจค่ะคุณสุภาวดี แต่เดี๋ยวเราพักเรื่องนี้กันไว้ก่อนนะคะ ประชุมเสร็จแล้วเราค่อยคุยเรื่องนี้กันต่อ”[5]
    • ถ้าคุณกำลังพักกินข้าวกลางวันกันเป็นกลุ่มและเพื่อนคนนึงเอาแต่พูดอยู่ฝ่ายเดียว คุณอาจจะพูดว่า "ส้ม เดี๋ยวกินข้าวเสร็จเราค่อยคุยเรื่องนี้กันดีกว่าเพราะว่ามันเป็นแค่เรื่องของเราสองคน แถมเธอเองก็อยากฟังอะตอมเล่าเรื่องที่ไปเที่ยวมาให้ฟังเหมือนกันไม่ใช่เหรอ!"
    โฆษณา
4

ขัดจังหวะอย่างสุภาพที่สุด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: พยายามขัดจังหวะตอนท้ายประโยคแทนที่จะพูดตัดบท....
    พยายามขัดจังหวะตอนท้ายประโยคแทนที่จะพูดตัดบท. แม้ว่าอีกฝ่ายจะน่ารำคาญขนาดไหน แต่การพูดขัดจังหวะกลางประโยคมันก็รุนแรงเกินไป พยายามรอให้เขาพูดจบประโยคหรือพูดสิ่งที่คิดให้เสร็จก่อนค่อยพูดขัดจังหวะ คุณอาจจะขอโทษที่คุณต้องขัดจังหวะก็ได้ แต่ต้องพูดสิ่งที่คุณต้องการอย่างหนักแน่น[6] เช่น คุณอาจจะพูดว่า :
    • "ฉันขอขัดคุณนิดนึงนะคะ ฉันมีเรื่องที่ต้องพูดน่ะค่ะ"
    • "ฉันขอโทษนะคะที่ต้องขัดจังหวะ แต่ฉันอยากเล่าสิ่งที่ฉันเพิ่งสังเกตเมื่อไม่นานมานี้ให้คุณฟัง"
5

บอกว่าคุณมีเวลาคุยไม่มาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: วิธีนี้ช่วยได้หากคุณต้องรีบไปที่อื่น.
    ถ้าคุณกำลังรีบหรือแค่ไม่เหลือพลังงานที่จะพูดคุยกับใครอย่างเปิดอกในตอนนี้ ให้บอกว่าคุณกำลังจะไปประชุมหรือมีนัดแล้วรีบเดินออกมา วิธีนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาชั่วคราวและเดี๋ยวคุณก็ต้องกลับไปคุยเรื่องนี้กับเขาอีก แต่มันก็ช่วยได้นะ![7] คุณอาจจะพูดว่า :
    • "ผมขอโทษนะที่ต้องขัดจังหวะ แต่ผมเพิ่งเดินออกมาจากประตูเองครับ ผมกำลังรีบ ไว้เราค่อยคุยกันได้ไหมครับ"
    • "ผมมีนัดในอีก 5 นาทีนี้ รีบพูดหน่อยนะครับ เดี๋ยวผมสาย"
    • "ผมมีเวลาคุยแค่แป๊บเดียวนะครับ ผมต้องไปที่อื่นต่อ"
    โฆษณา
6

พูดถึงปัญหานี้อย่างชัดเจนและไม่มีอคติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: พูดด้วยน้ำเสียงเรียบๆ และเจาะจงเพื่อให้เขาเข้าใจ....
    พูดด้วยน้ำเสียงเรียบๆ และเจาะจงเพื่อให้เขาเข้าใจ. เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่คุณอยากจะพูดมากกว่า 1 ครั้ง เพราะฉะนั้นอย่าอ้อมค้อม! แต่ถึงอย่างนั้นคุณก็ยังต้องรักษามารยาท พยายามแสดงสีหน้าเรียบเฉย และอย่าวิจารณ์โดยใช้อารมณ์[8] เช่น คุณอาจจะพูดว่า :
    • "เอย วันนี้คุณไม่เปิดโอกาสให้ผมได้แสดงความคิดเห็นในชมรมหนังสือบ้างเลย พอผมพยายามจะพูด คุณก็พูดแทรกผม"
    • "ประเด็นที่คุณพูดในการประชุมวันนี้ดีมากเลยนะรอน แต่กว่าคุณจะเข้าเรื่องได้มันใช้เวลามากไปหน่อย ผมกังวลว่าเพื่อนร่วมงานของคุณจะเบื่อฟังเสียก่อนและไม่ทันได้ฟังข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์จากคุณ"
    • "เต้ย ฉันดีใจนะที่นายโทรมาหา แต่ตั้งแต่เราคุยโทรศัพท์กันเนี่ยฉันไม่ได้เป็นฝ่ายพูดบ้างเลยนะ! ฉันอยากเล่าเรื่องที่ฉันเพิ่งไปเที่ยวมาให้นายฟังจะแย่อยู่แล้ว ฉันว่านายต้องชอบเกาะบอร์เนียวแน่ๆ"
7

ลองพูดขำๆ ถ้าคุณกับอีกฝ่ายรู้จักกันดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: ยิ้มและพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนเพื่อให้เขารู้ว่าคุณพูดเล่น....
    ยิ้มและพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนเพื่อให้เขารู้ว่าคุณพูดเล่น. บางครั้งเพื่อนที่พูดเป็นต่อยหอยก็ตื่นเต้นมากไปหน่อยและเริ่มพล่ามไม่หยุด เราทุกคนต่างมีเพื่อนแบบนี้และเราเองก็ชอบเขา! การใช้อารมณ์ขันเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เพื่อนรู้ว่าเขาเอาแต่พูดอยู่ฝ่ายเดียว[9] คุณอาจจะพูดว่า :
    • "ฮัลโหล จำฉันได้ไหม ฉันยังอยู่ตรงนี้นะ"
    • "หายใจก่อนเพื่อน! ฉันขอเป็นฝ่ายพูดบ้างได้ไหม"
    • จ้องนาฬิกาเขม็งแล้วพูดว่า "อ๋อม เวลาเป็นสิ่งมีค่า เธอพูดจนลืมเวลาเลยใช่ไหม สาว ให้ฉันพูดบ้าง! เธอต้องตกใจแน่ถ้าฉันเล่าให้ฟังว่าเสาร์อาทิตย์นี้ตะวันทำอะไร"
    โฆษณา
8

บอกเขาว่าคุณรู้ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: ส่วนใหญ่แล้วอีกฝ่ายจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองพูดไปเรื่อย....
    ส่วนใหญ่แล้วอีกฝ่ายจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองพูดไปเรื่อย. ถ้าคุณไม่เคยพูดเรื่องนี้กับเขาตรงๆ มาก่อน อย่าเพิ่งถือสา เขาอาจจะไม่รู้ตัวจริงๆ ว่าเขาพูดมาก และถึงเขาจะรู้ตัว เขาก็คงไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี บทสนทนาอาจจะดำเนินไปได้ด้วยดีมากขึ้นหากคุณพูดว่าคุณเข้าใจในจุดนี้[10] เช่น คุณอาจจะพูดว่า :
    • "บิณฑ์ ผมรู้ว่าคุณไม่ได้ตั้งใจจะพูดแทรกทุกคน ผมเข้าใจว่าคุณแค่ไม่ทันระวัง"
    • "ตรัย ผมรู้ว่าคุณไม่ได้ตั้งใจจะปิดโอกาสไม่ให้ผมพูด"
    • พยายามอย่าตำหนิและอย่าพูดเหมารวม เช่น "ไม่มีใครเขาชอบหรอกที่คุณพูดมาก" หรือ "คุณไม่เคยเปิดโอกาสให้คนอื่นเขาได้พูดบ้างเลย"
9

ใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย “ฉัน” เพื่อให้ฟังดูนุ่มนวลมากขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: วิธีนี้ช่วยถนอมน้ำใจคนที่รับคำวิจารณ์.
    การพูดออกไปตรงๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย! การใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย “คุณ” ฟังดูเหมือนเป็นการกล่าวโทษ เพราะฉะนั้นลองใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย “ฉัน” ในการพูดถึงปัญหา ความคิดเห็นของคุณจะไม่ฟังดูเป็นการด่วนสรุปคนอื่นมากจนเกินไปและอีกฝ่ายก็ไม่น่าจะเคืองด้วย[11] เช่น :
    • "ผมรู้สึกว่าคุณไม่ค่อยสนใจฟังผมเท่าไหร่"
    • "บางครั้งฉันก็กังวลนะว่านายอาจจะไม่อยากเป็นเพื่อนกับฉันแล้ว เพราะเวลาคุยกันนายไม่เปิดโอกาสให้ฉันแสดงความคิดเห็นบ้างเลย"
    • "ผมกังวลเรื่องการมีส่วนร่วมในที่ประชุม เพราะผมมีหน้าที่ที่จะต้องให้พนักงานทุกคนได้แสดงความคิดเห็น แต่ช่วงหลังมานี้คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้พูดเลย"
    โฆษณา
10

ให้คำแนะนำหรือวิธีแก้ปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: วิธีนี้จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณอยากช่วยเขาจากใจจริง....
    วิธีนี้จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณอยากช่วยเขาจากใจจริง. พยายามพูดเรื่องนี้ด้วยเจตนาที่ตั้งใจจะช่วยเหลือ ถ้าคุณรู้วิธีที่อาจช่วยแก้ไขปัญหาได้ บอกเขาเลย! แต่ถ้าไม่รู้ แค่ถามเขาว่ามีอะไรที่คุณพอจะช่วยเขาได้บ้างไหม[12] เช่น :
    • "คุณอยากลองใช้วิธีการใหม่ๆ ในที่ประชุมบ้างไหมละ เราอาจจะตั้งกฎว่าทุกคนต้องพูด 1-2 นาที"
    • "มีวิธีอื่นอีกไหมที่ฉันจะสามารถรับฟังคุณได้มากขึ้นหรือช่วยเหลือคุณได้ในฐานะเพื่อน"
    • "ฉันช่วยคุณฝึกพรีเซนต์งานให้กระชับมากขึ้นได้นะถ้าคุณต้องการ เรามาฝึกกันเงียบๆ ในออฟฟิศของฉันก็ได้ ไม่ต้องบอกใครหรอก"[13]
11

เปิดโอกาสให้เขาได้อธิบายสั้นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: เขาจะรู้สึกว่าคุณรับฟังและอาจมีเหตุผลที่ทำให้เขาเป็นแบบนั้น....
    เขาจะรู้สึกว่าคุณรับฟังและอาจมีเหตุผลที่ทำให้เขาเป็นแบบนั้น. มีหลายเหตุผลที่ทำให้เขาอาจจะพูดมากเกินไปหน่อย เขาอาจจะกำลังรับมือกับความวิตกกังวลหรือปกปิดความรู้สึกไม่มั่นใจของตัวเอง เปิดโอกาสให้เขาได้อธิบายและรับฟังเขาสักครู่ แค่อย่าปล่อยให้เขาพูดเยอะเท่านั้นแหละ![14]
    • เช่น ถ้าเขาบอกว่าเขาประหม่า ลองพูดประมาณว่า"ผมเข้าใจคุณนะ เรายังคงต้องปรับพฤติกรรมนี้กันอยู่ แต่ผมก็ดีใจที่ได้เข้าใจมากขึ้นว่ามันเกิดจากอะไร ผมจะพยายามกำหนดแบบแผนในการประชุมครั้งหน้าให้มากขึ้นเพื่อช่วยคุณนะ"
    • ถ้าเพื่อนบอกว่าเธอไม่รู้ตัวเลยว่าเธอพูดมากและกล่าวขอโทษ ให้พูดประมาณว่า "อย่าคิดมากแก้ว! ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรหรอก ไว้คุยกันสัปดาห์หน้าไหม นัดกินกาแฟกัน"
    • รู้ไว้ว่าพฤติกรรมพูดมากอาจเกิดจากโรคหรือความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ (เช่น โรคสมาธิสั้น)[15]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Supatra Tovar, PsyD, RD
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาต (PSY #31949)
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Supatra Tovar, PsyD, RD. ดร. สุพัตรา โทวาร์เป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาต (PSY #31949) นักกำหนดอาหารที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายและเจ้าของ Dr. Supatra Tovar and Associates ดร. โทวาร์ทำงานด้านสุขศึกษา การกำหนดอาหาร และจิตวิทยาคลินิก เธอใช้การบำบัดจิตแบบสุขภาพองค์รวม โดยมีประสบการณ์การบำบัดตามหลักสุขภาพที่ดีแบบองค์รวมมากกว่า 25 ปี เธอนำจิตวิทยา การกำหนดอาหาร และความรู้ด้านการออกกำลังกายมาผสมผสานกันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหามีภาวะซึมเศร้า ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่ม การกินผิดปกติ เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต และความสัมพันธ์มีปัญหา ดร.โทวาร์ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาชีววิทยาสภาวะแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโภชนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแอนเจลิส และจบปริญญาเอกด้านจิตวิทยาสุขภาพทางคลินิกจากมหาวิทยาลัยนานาชาติอไลอันต์ วิทยาเขตลอสแอนเจลิส
มีการเข้าถึงหน้านี้ 534 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา