วิธีการ ถ่ายรูปให้ดีขึ้น

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

หลายคนคิดว่าจะพัฒนาการถ่ายรูปของตนเองด้วยการซื้อกล้องใหม่ แต่ที่จริงแล้วในการถ่ายรูปนั้นเทคนิคที่คุณใช้สำคัญมากกว่าคุณใช้อุปกรณ์อะไรถ่าย ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ใครๆ ก็สามารถถ่ายภาพให้ดีได้ด้วยกล้องอะไรก็ได้ ถ้าคุณฝึกฝนมาเพียงพอและหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่คนทั่วๆ ไปไม่ค่อยรู้ตัว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 9:

หากล้อง และอุปกรณ์ที่เหมาะกับรูปแบบการถ่ายรูปของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    ลองคิดถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของคุณ และวิธีที่คุณใช้กล้อง. การเลือกซื้อกล้องคุณอาจจะพบว่ามันมีตัวเลือกหลายรุ่นหลายยี่ห้อเหลือเกิน มีกล้องหลายแบบ ความแตกต่างของลักษณะกล้องและความสามารถของกล้องแต่ละกล้องก็เยอะซะจนไม่สามารถเขียนได้หมดในบทความเดียว แต่ให้คุณลองใช้หลักง่ายๆ เหล่านี้ดู
    • ถ้าคุณอาศัยอยู่ในย่านที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย อย่าเดินถือกล้องที่ดูหรูหราแกว่งไปมา ยังมีกล้องที่มีความสามารถดีในระดับมืออาชีพที่ดูภายนอกแล้วก็เหมือนกล้องธรรมดา กล้องขนาดเล็กก็เหมาะกับงานในลักษณะนี้
    • อย่าเลือกกล้องจากสี. กล้องสีอ่อนจะมองเห็นได้ง่ายเกินไปเมื่อคุณพยายามจะแอบถ่ายภาพสัตว์ หรือภาพแอบถ่ายอื่นๆ แถมยังดูเก่าแล้วก็ไม่สวยได้ง่ายด้วย
    • ขนาด เทคโนโลยี และราคาของกล้อง อาจจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญเสมอไป ไม่ใช่ว่ากล้องราคาถูกจะไม่ดี แล้วก็ไม่ใช่ว่ากล้องราคาแพงจะดีเสมอไป กล้อง DSLR ขนาดใหญ่ อาจจะใหญ่เกินไปแล้วก็ไม่คล่องตัวกับช่างภาพ ในทางกลับกัน กล้องราคาถูกที่คุณภาพต่ำก็อาจจะทำให้ได้ภาพมัวๆ คุณภาพติ่เช่นเดียวกัน
    • กล้องแต่ละตัวมีข้อดีข้อเสียของมันเอง กล้องบางตัวก็ซับซ้อน เต็มไปด้วยความสามารถมากมายที่คุณอาจไม่ได้ใช้งานมัน ซึ่งความสามารถเหล่านี้ก็มีผลกับราคาของกล้องด้วย ถ้าโทรศัพท์ของคุณมี GPS อยู่แล้วคุณก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบ GPS ในกล้องอีก ถ้าคุณมีโปรแกรมตกแต่งรูปที่บ้านอยู่แล้ว คุณอาจไม่จำเป็นต้องใช้ฟิลเตอร์สร้างเอฟเฟกต์จากกล้อง กล้องส่วนมากมักไม่สามารถกันน้ำ กันความเย็น กันกระแทกจากการหล่น ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณควรพิจารณาหากคุณเป็นนักผจญภัย หรือเป็นพวกซุ่มซ่าม
  2. 2
    เลือกกล้องที่สามารถถ่ายภาพคมชัดได้ง่าย. มีเลนส์ที่สามารถขยายภาพ (Optical Zoom) ในอัตราสูง ความเร็วชัตเตอร์สูง มีความไวในการรับแสงได้ดี (ISO) และมีลักษณะการถ่ายภาพที่หลากหลาย ไม่ต้องกังวลนักว่าความละเอียดของภาพจะละเอียดกี่ล้านพิกเซล กล้องคุณภาพต่ำที่มีจำนวนพิกเซลสูงๆ ก็ยังไม่สามารถให้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพดีเท่ากับกล้องคุณภาพสูงที่มีพิกเซลน้อยได้ ช่างภาพมืออาชีพหลายคนถ่ายภาพที่มีคุณภาพด้วยกล้องเก่าๆ การใช้กล้องที่มีความละเอียดมากกว่า 10 ล้านพิกเซลก็จะเหมาะกับงานที่ต้องการภาพถ่ายคุณภาพสูง
    • ให้เลือกกล้องที่ใช้การขยายภาพ (Zoom) ด้วยเลนส์ (Optical Zoom) ไม่ใช่การซูมภาพด้วยวิธีอื่น การซูม คือ การดึงวัตถุให้ปรากฏในกล้องได้ใกล้ขึ้น ซึ่งมีประโยชน์มากกับการถ่ายภาพในสวนสัตว์ หรือการถ่ายภาพกีฬา การซูมด้วยเลนส์จะให้ภาพคมชัดไม่ว่าคุณจะดึงภาพเข้ามาใกล้แค่ไหน ในขณะที่การขยายแบบดิจิทัล (Digital Zoom) หรือแบบอื่นๆ จะทำให้วัตถุสูญเสียความคมชัดไป และจะยิ่งเบลอมากขึ้นเมื่อคุณขยายภาพมากขึ้น
    • ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) เป็นตัวกำหนดว่าคุณจะถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้เร็วที่สุดเท่าไหร่ ยิ่งค่านี้สูงก็แปลว่าคุณสามารถจับภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวให้เป็นภาพนิ่งได้ แต่ว่าคุณก็สามารถ “โกง” โดยใช้ความสามารถของกล้องวิดีโอความละเอียดสูงในการจับภาพที่เคลื่อนไหวเร็วๆ ได้ โดยการใช้โปรแกรมจับภาพหน้าจอขณะที่หยุดภาพจากวิดีโอที่คุณถ่ายมา
    • ค่าความไวแสง (ISO) สูงๆ มีประโยชน์ในการถ่ายภาพในที่แสงน้อย และวัตถุเคลื่อนไหว ถ้าไม่มีตัวรับภาพที่ค่าความไวแสงดีๆ คุณอาจได้ภาพที่มีจุดๆ (noise) เต็มไปหมดเมื่อถ่ายภาพในที่แสงน้อย คุณคงเคยเห็นภาพที่ดูสวยบนเว็บไซต์ แต่เมื่อขยายภาพเข้าไปคุณจะเห็นจุดสีกระจายอยู่เต็มภาพ นั่นคือ noise อย่างไรก็ตามพวกช่างภาพมืออาชีพก็รู้ดีว่าจะยอมให้จุดรบกวนพวกนี้เข้ามาในภาพได้ขนาดไหน ในขณะที่ยังสามารถรักษาความคมชัดของภาพไว้ได้อยู่
    • เช่นเดียวกัน คือ กล้องที่มีตัวรับแสงความไวสูงจะถ่ายภาพในที่แสงน้อยซึ่งห้ามใช้แฟลชหรือ ไม่ต้องการใช้แฟลช ได้ดีกว่า เช่น ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ การถ่ายภาพวัตถุที่มีผิวสะท้อนแสง การถ่ายภาพกลางคืน หรือคอนเสิร์ต
    • ควรระวังเวลาเลือกซื้อกล้องที่มีระบบออโต้โฟกัส เพราะข้อเสียของระบบนี้ในกล้องคุณภาพต่ำก็คือ มันจะใช้เวลานานในการจับภาพและทำให้คุณพลาดการเก็บภาพในจังหวะที่ดีที่สุดไป และยังทำให้เปลืองแบตเตอรี่ด้วย เพราะกล้องจะพยายามจับภาพวัตถุให้คมที่สุด แต่หากเป็นภาพเคลื่อนไหว เช่น ดอกไม้ปลิวอยู่บนอากาศ กล้องจะไม่สามารถจับภาพได้ กล้องที่มีระบบออโต้โฟกัสคุณภาพดีอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า และคุณก็ยังสามารถปิดระบบนี้ได้ด้วยหากคุณไม่ต้องการใช้มัน
    • ตัวเลือกรูปแบบการถ่ายภาพ (Mode) ในกล้องจะมีประโยชน์มาก เมื่อคุณไม่แน่ใจว่าควรจะตั้งค่าอะไรบ้างเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด กล้องบางตัวจะมีโหมดอัจฉริยะ ซึ่งกล้องจะเลือกรูปแบบที่เหมาะสมให้เอง ทั้งการเลือกค่าอุณหภูมิสี ความคมชัด ความเข้มสี สีของแสง และภาพเคลื่อนไหวด้วย เมื่อคุณเข้าใจเรื่องพวกนี้แล้วคุณก็ค่อยๆ ปรับไปตามรูปแบบของคุณเอง
    • ซื้อขาตั้งกล้อง ซึ่งจะช่วยให้กล้องของคุณอยู่นิ่งได้จริงๆ บางครั้งมันก็ยากที่จะได้ภาพที่ดีที่สุดในบางสถานการณ์ เพราะว่ากล้องตอบสนองกับทุกอย่างได้เร็วมาก จนแม้กระทั่งการสั่นไหวเพียงนิดเดียวก็ทำให้ภาพที่ออกมาดูน่าผิดหวัง บางครั้งขาตั้งกล้องก็สามารถช่วยให้กล้องคุณภาพต่ำเก็บภาพที่ดูดีได้ด้วย
    • สะสมอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น กระเป๋ากล้อง การ์ดความจำ แบตเตอรี่ หรือที่ชาร์จ และถ้าคุณไปเที่ยวที่เปียกๆ คุณควรมีชุดกันน้ำที่พอดีสำหรับกล้องของคุณโดยเฉพาะ และอย่าลืมอุปกรณ์ทำความสะอาดเลนส์และฝาปิดเลนส์ หากคุณจะมีกล้องมากกว่า 1 กล้องเพื่อใช้ในรูปแบบที่ต่างไปก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
    • เลือกใช้หน่วยความจำที่เยอะที่สุดให้กับกล้องของคุณ เพราะหน่วยความจำขนาดเล็กอาจนำไปสู่การได้ภาพคุณภาพต่ำ
    • ใช้กล้องจากมือถือหรือแท็บเล็ตถือเป็นความเสี่ยงของคุณเอง เพราะไม่ว่าคุณจะทำยังไง กล้องพวกนี้จะไม่สามารถให้ภาพที่มีคุณภาพสูงได้เลย ยกเว้นว่ากล้องของคุณจะมีความละเอียดมากกว่า 10 ล้านพิกเซล มีอัตราการขยายภาพสูง และมีตัวรับแสงที่ดี ซึ่งถ้ามีครบโดยทั่วไปก็จะราคาแพงมาก
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 9:

ทำความเข้าใจกล้องของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อ่านคู่มือกล้อง.
    ทำความเข้าใจว่าสวิตช์ ปุ่ม และเมนูแต่ละอันมีไว้ทำอะไร ศึกษาวิธีการใช้ขั้นพื้นฐาน เช่น การใช้แฟลช (เปิด ปิด หรือเปิดอัตโนมัติ) การดึงภาพเข้า ออก และการใช้ปุ่มชัตเตอร์ กล้องบางรุ่นจะให้คู่มือฉบับพิมพ์สำหรับผู้เริ่มต้นมา แต่ก็มีคู่มือขนาดใหญ่ให้ฟรีในเว็บไซต์ของผู้ผลิตด้วย ถ้ากล้องของคุณไม่ได้ให้คู่มือมา ไม่ต้องตกใจ ลองค้นหาวิธีใช้ในอินเตอร์เน็ตได้
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 9:

การเริ่มต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ตั้งค่าความละเอียดของกล้องให้สูงที่สุดเพื่อถ่ายภาพที่มีคุณภาพสูง....
    ตั้งค่าความละเอียดของกล้องให้สูงที่สุดเพื่อถ่ายภาพที่มีคุณภาพสูง. ภาพถ่ายความละเอียดต่ำจะแก้ไขอะไรภายหลังได้ยากกว่า เช่น คุณจะไม่สามารถตัดภาพบางส่วนออกไปได้เยอะเท่าที่คุณจะทำกับภาพความละเอียดสูงกว่า (โดยภาพที่เหลือยังละเอียดพอที่จะพิมพ์ออกมาได้) เพิ่มหน่วยความจำให้เยอะขึ้น ถ้าคุณไม่อยากเปลี่ยนหรือ ยังไม่มีเงินซื้อมันตอนนี้ ลองดูว่าหากกล้องของคุณสามารถทำได้ ก็ให้ตั้งค่าคุณภาพภาพถ่ายไว้ที่ “คุณภาพดี” (fine) โดยใช้ความละเอียดที่น้อยลง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เริ่มต้นจากการตั้งค่ากล้องของคุณให้เริ่มต้นที่โหมดอัตโนมัติสักโหมดหนึ่ง....
    เริ่มต้นจากการตั้งค่ากล้องของคุณให้เริ่มต้นที่โหมดอัตโนมัติสักโหมดหนึ่ง. โหมดที่มีประโยชน์ที่สุดในกล้อง DSLR คือ โหมดโปรแกรม หรือ โหมด “P” อย่าพึ่งสนใจคำแนะนำที่บอกให้คุณตั้งค่ากล้องทุกอย่างด้วยตัวเอง เพราะการพัฒนาพวกระบบออโต้โฟกัสหรือการวัดแสงเขาทำขึ้นมาเพื่อการนี้ แต่ถ้าคุณถ่ายภาพแล้วพบว่ามันโฟกัสผิด หรือ วัดแสงผิด ถึงตอนนั้นก็ค่อยตั้งค่าทุกอย่างด้วยตนเอง
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 9:

หาโอกาสถ่ายภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นำกล้องติดตัวคุณไป “ทุกที่”.
    เมื่อคุณมีกล้องอยู่ติดตัว คุณจะเริ่มมองโลกเปลี่ยนไป คุณจะมองหาโอกาสที่จะได้ถ่ายภาพที่สวยที่สุด และนั่นก็จะทำให้คุณ “ถ่ายภาพมากขึ้น” และยิ่งคุณถ่ายภาพมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็จะเป็นช่างภาพที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ [1] ยิ่งกว่านั้น หากคุณถ่ายภาพเพื่อนๆ หรือครอบครัวของคุณ พวกเขาก็จะชินกับการที่คุณมีกล้องติดตัวตลอดเวลา ดังนั้นพวกเขาจะไม่รู้สึกเขินอาย หรือถูกคุกคามเวลาที่คุณเอากล้องออกมา ซึ่งก็จะทำให้คุณได้ภาพที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น
    • หากคุณใช้กล้องดิจิทัล อย่าลืมเตรียมแบตเตอรี่สำรองหรือชาร์จแบตให้เต็มก่อน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ออกไปข้างนอก.
    กระตุ้นตัวเองให้ออกไปถ่ายภาพภายใต้แสงธรรมชาติ ลองถ่ายภาพแบบ “เล็งแล้วถ่าย” หลายๆ ภาพ เพื่อให้เห็นความแตกต่างของสภาพแสงในแต่ละช่วงเวลาของวัน ทั้งกลางวันและกลางคืน หลายๆ คนอาจจะรู้สึกว่า “ช่วงเวลาทองคำ" (2 ชั่วโมงสุดท้ายของแสงอาทิตย์) เป็นช่วงที่แสงสวยที่สุดสำหรับการถ่ายภาพ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่ถ่ายภาพในช่วงอื่นของวัน ในวันที่แสงแดดแรง บางครั้งแสงที่ลอดผ่านธรรมชาติลงมาก็สร้างแสงสวยๆ ดึงดูดใจได้เหมือนกัน (โดยเฉพาะกับคน) จงออกไปข้างนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผู้คนกำลังทานอาหาร ดูทีวี หรือนอนหลับ การจัดแสงมักจะทำให้หลายๆ คนรู้สึกทึ่งได้เสมอ “เพราะว่าพวกเขาไม่เคยเห็นมัน”
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 9:

ใช้กล้องของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อย่าให้หมวก นิ้วมือ สายคล้อง...
    อย่าให้หมวก นิ้วมือ สายคล้อง หรือวัตถุอื่นๆ มาบดบังเลนส์ของคุณ. มันเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่สิ่งเหล่านี้ซึ่งคุณมักจะไม่ทันสังเกตเห็น จะทำลายภาพของคุณ มันอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับกล้องสมัยใหม่ที่มีช่องดูภาพแบบดิจิทัล และยิ่งไม่เป็นปัญหากับกล้อง SLR อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากก็ยังพลาดสิ่งเล็กๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องถ่ายภาพแบบเร็วๆ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตั้งค่าสมดุลแสงขาว (white balance).
    พูดง่ายๆ คือ ตาคนเราจะปรับชดเชยเข้ากับสภาพแสงต่างๆ โดยอัตโนมัติ เราจะเห็นสีขาวเป็นสีขาวในเกือบทุกสภาพแสง แต่กล้องดิจิทัลจะปรับชดเชยค่านี้โดยการขยับค่าสีไปทางใดทางหนึ่ง

    ตัวอย่างเช่น ภายใต้แสงทังสเตน (หลอดไส้) กล้องจะขยับค่าแสงเข้าหาสีน้ำเงิน เพราะแสงทังสเตนจะค่อนไปทางสีแดง ในทางตรงข้าม ถ้าเป็นแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนท์ กล้องจะขยับค่าสีไปทางสีแดงเพื่อชดเชยค่าแสงสีน้ำเงิน กล้องบางรุ่นจะมีการตั้งค่าสมดุลแสงขาว ทังสเตน และ ฟลูออเรสเซนท์ด้วย การทดลองใช้การตั้งค่าแบบต่างๆ และสังเกตผลของมันเพื่อเรียนรู้การตั้งค่าเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับคุณเอง “ค่าสมดุลแสงขาว เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่กลับถูกใช้งานน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในกล้องสมัยใหม่” ลองเรียนรู้ที่จะตั้งค่ามัน ดูว่าผลที่ได้ต่างกันอย่างไร ถ้าคุณไม่ได้ถ่ายภาพภายใต้แสงสังเคราะห์ การตั้งค่าให้เป็น “ในร่ม” (Shade) หรือ “เมฆมาก” (Cloudy) มักจะใช้ได้กับทุกสถานการณ์ จะทำให้ได้ภาพที่แสงดูอบอุ่น ถ้าสีภาพออกมาแดงเกินไป สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ในโปรแกรม ขณะที่การตั้งค่า “อัตโนมัติ” เป็นค่าเริ่มต้นของกล้อง บางครั้งก็ได้ภาพที่ดี แต่บางครั้งก็ทำให้ภาพออกมาสีอมฟ้า [2]
    • การตั้งค่านี้เรียกอีกอย่างได้ว่าการตั้งค่าอุณหภูมิสี
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถ้าไม่ได้อยู่ในที่แสงน้อยลองตั้งค่าความไวแสงให้ช้าลง....
    ถ้าไม่ได้อยู่ในที่แสงน้อยลองตั้งค่าความไวแสงให้ช้าลง. นี่อาจไม่ใช่ปัญหาสำหรับกล้องดิจิทัล SLR แต่กับกล้องแบบเล็งแล้วถ่าย (ซึ่งมักจะมีเซนเซอร์เล็กและเกิดคลื่นรบกวนได้ง่าย) การตั้งค่า ISO ให้ช้าลง (ตัวเลขน้อยลง) จะช่วยทำให้ปริมาณจุดรบกวนน้อยลง แต่ก็เป็นการบังคับคุณให้ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงด้วย ความสามารถในการถ่ายวัตถุที่เคลื่อนไหวก็จะถูกจำกัดตามไปด้วย หากคุณถ่ายวัตถุนิ่งในที่แสงเพียงพอ (หรือถ่ายวัตถุนิ่งในที่แสงน้อย แต่คุณใช้ขาตั้งกล้องและรีโมทกับกล้อง) ให้ใช้ค่าความไวแสงที่ต่ำที่สุดที่คุณมี
    โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 9:

การถ่ายภาพที่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จัดองค์ประกอบภาพอย่างตั้งใจ.
    วางกรอบภาพในหัวของคุณก่อนที่จะมองผ่านกล้อง คิดถึงกฎต่อไปนี้ โดยเฉพาะข้อสุดท้าย
    • ใช้กฎสามส่วน จุดสำคัญที่สุดของภาพควรจะอยู่บนเส้นที่ 3 อย่าให้เส้นแนวนอนหรือเส้นอื่น “ตัดผ่ากลางภาพ” [3]
    • กำจัดพื้นหลังที่ดูรกยุ่งเหยิง ลองเลื่อนตำแหน่งเพื่อหลีกเลี่ยงภาพที่ดูเหมือนมีต้นไม้งอกออกมาจากศีรษะของแบบ เปลี่ยนมุมเพื่อหลีกเลี่ยงแสงสะท้อนจากกระจกที่อยู่ฝั่งตรงข้ามถนน ถ้าคุณถ่ายภาพการไปเที่ยวพักผ่อน ลองให้เวลาครอบครัวของคุณวางของรกๆ ที่พวกเขากำลังหิ้วอยู่ เอากระเป๋าเป้และกระเป๋าคาดเอวออก และก็เอาของเหล่านั้นออกไปให้พ้นภาพด้วย แล้วคุณจะได้ภาพที่ไม่ดูรกยุ่งเหยิง และดูสวยขึ้น ถ้าคุณสามารถทำให้ฉากหลังเบลอได้เวลาถ่ายรูปคน ทำเลย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ลืมคำแนะนำข้างบนซะ.
    คิดว่ามันเป็น “กฎ” ที่บังคับใช้แต่ก็มักจะขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย และก็ไม่ใช่กฎที่บังคับใช้ตลอดเวลา เพราะการยึดติดกับคำแนะนำเหล่านั้นตลอดจะทำให้คุณได้ภาพที่ดูน่าเบื่อ ลองถ่ายภาพฉากหลังที่ดูยุ่งเหยิงเห็นทุกรายละเอียดก็อาจสร้างบริบท ความแตกต่าง และสี การถ่ายภาพที่สมมาตรกันสุดๆ ก็สามารถทำให้ภาพดูน่าสนใจ เป็นต้น กฎทุกข้อสามารถและ “ควรจะ” ถูกทำลายได้หลายๆ ครั้ง เพื่อผลทางศิลปะ นี่เป็นวิธีที่ภาพเจ๋งๆ หลายภาพเกิดขึ้นมา
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถ่ายภาพแบบเต็มกรอบ.
    อย่ากลัวที่จะเข้าใกล้แบบของคุณ หรือถ้าคุณใช้กล้องที่มีความละเอียดพิกเซลสูงมากๆ ก็อาจจะไปตัดภาพในโปรแกรมทีหลังก็ได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ลองถ่ายภาพในมุมที่น่าสนใจ.
    แทนที่จะถ่ายวัตถุจากมุมตรงธรรมดา ก็ลองถ่ายจากมุมสูงลงมา หรือคุกเข่าแล้วถ่ายเสยขึ้น เลือกมุมที่โชว์สีเยอะที่สุดแล้วเห็นเงาน้อยที่สุด การถ่ายภาพจากมุมต่ำจะทำให้วัตถุดูสูงยาวขึ้น หรือลองถือกล้องเหนือวัตถุก็จะทำให้วัตถุดูเล็กลง หรือทำให้รู้สึกว่าคุณลอยอยู่เหนือวัตถุนั้น ลองถ่ายภาพจากมุมแปลกๆ บ้าง จะทำให้ภาพที่ได้ดูน่าสนใจมากขึ้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 โฟกัสให้ถูก.
    การโฟกัสภาพผิดเป็นสาเหตุหลักอันหนึ่งที่ทำให้ภาพดูแย่ ถ้ากล้องของคุณมีโหมดออโต้โฟกัสให้ใช้มันซะ ปกติการกดปุ่มชัตเตอร์ครึ่งนึงกล้องจะโฟกัสวัตถุให้คุณเอง และถ้าคุณจะถ่ายภาพโคลสอัพ ก็ใช้ “โหมดมาโคร” “อย่าโฟกัสภาพด้วยตัวเอง” นอกจากว่าระบบโฟกัสอัตโนมัติของคุณจะมีปัญหา เพราะการใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติก็เหมือนกับการวัดแสงนั่นแหละ ที่กล้องมักจะทำได้ดีกว่าคุณเสมอ
  6. 6
    จัดสมดุลให้กับค่า ISO ความเร็วชัตเตอร์ และ รูรับแสง. ISO คือ ค่าที่แสดงว่ากล้องของคุณจะตอบสนองต่อแสงได้ไวขนาดไหน ความเร็วชัตเตอร์เป็นตัวกำหนดว่า กล้องของคุณจะใช้เวลานานแค่ไหนในการถ่ายภาพ (ซึ่งแปรผกผันกับปริมาณแสงที่เข้ามา) รูรับแสง คือ ค่าที่บอกว่าเลนส์ของคุณเปิดออกขนาดไหน ซึ่งความสามารถเหล่านี้ไม่ได้มีในกล้องทุกชนิด แต่กล้องดิจิทัลโดยมากจะมี การตั้งค่าเหล่านี้ให้สมดุลกันโดยที่แต่ละค่าอยู่ใกล้ค่าตรงกลางให้มากที่สุด จะช่วยลดโอกาสการเกิด noise จากการใช้ค่าความไวแสงสูง หรือภาพไม่ชัดเพราะใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป หรือ ช่วงระยะภาพที่มีความคมชัดน้อยเพราะใช้ค่ารูรับแสงกว้างไป แต่ก็ขึ้นกับว่าคุณต้องการภาพแบบไหนด้วย คุณควรตั้งค่าเหล่านี้ให้ภาพออกมาตามที่คุณต้องการและยังคงได้แสงที่พอเหมาะด้วย ยกตัวอย่างเช่น คุณถ่ายภาพนกที่บินขึ้นมาจากน้ำ คุณต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อให้ภาพนกคมชัด และต้องใช้ค่ารูรับแสงต่ำ หรือค่าความไวแสงสูงเพื่อชดเชยแสง แต่การใช้ค่าความไวแสงสูงจะทำให้ภาพคุณดูเป็นเม็ดๆ ดังนั้นคุณควรเลือกใช้ค่ารูรับแสงต่ำ เพราะนอกจากจะได้ค่าแสงที่ถูกต้องแล้ว คุณยังได้ภาพฉากหลังเบลอๆ ที่จะยิ่งทำให้ตัวนกดูเด่นขึ้นมาด้วย ลองจัดสมดุลให้ค่าเหล่านี้ดีๆ แล้วคุณจะได้ภาพที่เยี่ยมที่สุด
    โฆษณา
ส่วน 7
ส่วน 7 ของ 9:

หลีกเลี่ยงภาพสั่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อยู่นิ่งๆ.
    หลายคนแปลกใจว่า ทำไมภาพที่ถ่ายมาถึงดูเบลอขนาดนี้ เวลาที่ถ่ายภาพโคลสอัพ หรือถ่ายภาพจากระยะไกล วิธีต่อไปนี้อาจจะช่วยได้ ถ้าคุณใช้กล้องขนาดใหญ่ที่มีเลนส์ซูม ถือตัวกล้องด้วยมือหนึ่งข้างที่ใช้กดชัดเตอร์ และเอามืออีกข้างประคองเลนส์ให้นิ่งจากด้านล่าง เก็บศอกให้ชิดลำตัว และทำตัวให้มั่นคงในท่านี้ ถ้ากล้องหรือเลนส์ของคุณมีตัวช่วยทำให้ภาพนิ่ง ให้ใช้ตัวช่วยนี้ (ในอุปกรณ์ของยี่ห้อ Canon เรียกว่า IS และของยี่ห้อ Nikon เรียกว่า VR)
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ลองพิจารณาที่จะใช้ขาตั้งกล้อง.
    ถ้าปกติคุณเป็นคนมือสั่น หรือคุณใช้เลนส์ถ่ายภาพระยะไกลขนาดใหญ่ (และช้า) หรือคุณถ่ายภาพในที่แสงน้อย หรือ คุณต้องถ่ายภาพหลายภาพต่อเนื่อง (เช่นการถ่ายภาพที่มีความแตกต่างของแสงมาก HDR) หรือคุณกำลังถ่ายภาพพาโนรามา การใช้ขาตั้งกล้องดูจะเป็นความคิดที่ดี สำหรับภาพที่ต้องใช้เวลาถ่ายนาน (มากกว่า 1 วินาที) ใช้สายลั่นชัตเตอร์ (สำหรับกล้องฟิล์มรุ่นเก่า) หรือใช้รีโมท หรือคุณจะใช้การตั้งเวลาถ่ายภาพของกล้องก็ได้เช่นกัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เลือกที่จะ “ไม่ใช้” ขาตั้งกล้อง...
    เลือกที่จะ “ไม่ใช้” ขาตั้งกล้อง โดยเฉพาะถ้าคุณไม่ได้มีอยู่แล้ว. ขาตั้งกล้องจะจำกัดการเคลื่อนไหวของคุณ ทำให้คุณย้ายมุมกล้องได้ไม่ทันใจ หนักเวลาที่ต้องแบกมันไปมา แล้วก็จะทำให้คุณหมดกำลังใจในการออกไปถ่ายภาพ
    • คุณต้องใช้ขาตั้งกล้องก็ต่อเมื่อค่าความเร็วชัตเตอร์ของคุณ ช้ากว่าหรือเท่ากับค่าทางยาวโฟกัสที่คุณใช้[4] เช่น ถ้าคุณใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 300 มม. คุณต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วกว่า 1/300 วินาที คุณอาจใช้วิธีการเพิ่มค่าความไวแสง (ก็ทำให้คุณเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ได้) หรือใช้ตัวลดการสั่นไหวของภาพจากกล้อง หรือไม่ก็ย้ายไปที่อื่นที่มีแสงมากกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ขาตั้งกล้อง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง แต่คุณไม่ได้เอาติดตัวมา ลองวิธีเหล่านี้เพื่อช่วยลดอาการกล้องสั่น...
    ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง แต่คุณไม่ได้เอาติดตัวมา ลองวิธีเหล่านี้เพื่อช่วยลดอาการกล้องสั่น
    • เปิดตัวช่วยลดการสั่นไหวที่กล้อง (กล้องดิจิทัลบางรุ่นเท่านั้นที่มี) หรือเลนส์ (โดยปกติก็จะมีเฉพาะในเลนส์ราคาแพง)
    • ซูมออก (หรือเปลี่ยนเป็นเลนส์ที่กว้างขึ้น) แล้วเดินเข้าไปใกล้วัตถุมากขึ้น วิธีนี้จะไม่ไปขยายภาพการเปลี่ยนแปลงเล็กๆให้กล้องเห็น แล้วก็เพิ่มขนาดรูรับแสงเพื่อให้เปิดหน้ากล้องให้น้อยลง
    • ถือกล้องด้วย 2 มือ ในจุดที่ห่างจากตรงกลางของกล้อง เช่น ตรงตำแหน่งมือจับใกล้ปุ่มกดชัตเตอร์ และมุมตรงข้าม หรือตรงปลายของเลนส์ (แต่อย่าไปจับตรงจุดที่พับได้ง่ายของเลนส์บนกล้องแบบเล็งแล้วถ่าย หรือตรงตำแหน่งที่ขัดขวางการทำงานของกล้อง อย่างแหวนโฟกัส หรือตำแหน่งที่บังหน้าเลนส์) วิธีนี้จะช่วยลดมุมที่กล้องสั่นเพราะมือของคุณ
    • กดชัตเตอร์ช้าๆ มั่นคง และเบามือ และอย่าปล่อยจนกว่าภาพจะถูกถ่ายเรียบร้อยแล้ว ให้วางนิ้วชี้ของคุณไว้ที่ด้านบนของกล้อง กดชัตเตอร์ด้วยการเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่องโดยใช้ข้อนิ้วข้อที่สองสัมผัส ดูเผินๆ ก็เหมือนคุณกำลังกดลงไปด้านบนของกล้อง
    • ดันกล้องของคุณไว้กับอะไรสักอย่าง หรือวางมือคุณไว้กับอะไรสักอย่าง ถ้าคุณกลัวว่าจะทำให้กล้องเป็นรอย หรือแนบแขนคุณเข้ากับตัว หรือนั่งลงแล้ววางแขนไว้บนเข่า
    • วางกล้องบนอะไรสักอย่าง (เช่น กระเป๋ากล้องหรือสายคล้อง) และใช้ตัวตั้งเวลาถ่ายภาพเพื่อหลีกเลี่ยงอาการสั่นหากว่าสิ่งที่รองอยู่นุ่ม แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงที่กล้องจะหล่น เพราะฉะนั้นเช็คให้ดีว่ามันจะไม่หล่นสูงนัก อย่าใช้วิธีนี้ถ้ากล้องของคุณราคาแพง หรือมีอุปกรณ์เสริม เช่น แฟลช ที่อาจแตกหรือหักได้ แต่ถ้าคุณคิดว่าจะใช้วิธีนี้บ่อยๆ คุณควรพกถุงถั่ว (beanbag) ซึ่งใช้งานแบบนี้ได้ดี มีบีนแบ็กที่ถูกสร้างมาเพื่อใช้งานแบบนี้โดยเฉพาะ ถุงใส่ถั่วแห้งนั้นมีราคาถูก แล้วพอถุงเริ่มทะลุหรือคุณอยากเปลี่ยนถุงของที่อยู่ข้างในก็ยังเอามากินได้ด้วย
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ผ่อนคลายเวลาที่กดชัตเตอร์.
    ลองใช้เวลายกกล้องให้สั้นลง เพราะการยกกล้องนานๆ จะทำให้แขนและมือของคุณสั่น ฝึกโฟกัส วัดแสง และถ่ายภาพ ภายในเวลาสั้นๆ
    โฆษณา
ส่วน 8
ส่วน 8 ของ 9:

การใช้แฟลช

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อย่าให้เกิดตาแดง.
    ตาแดงเกิดขึ้นจากแสงแฟลชสะท้อนเข้ากับเส้นเลือดที่ในผนังด้านหลังของตา ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อม่านตาของคุณขยายตัวใหญ่ขึ้นเวลาที่อยู่ในที่แสงน้อย ดังนั้นถ้าคุณต้องใช้แฟลชถ่ายภาพในที่แสงน้อย พยายามอย่าให้แบบของคุณมองตรงมายังกล้อง หรืออาจจะยิงแฟลชให้สะท้อนจากที่อื่น ด้วยการหันหัวแฟลชส่องขึ้นเหนือศีรษะของแบบ และยิ่งถ้ากำแพงรอบๆ เป็นสีขาวแล้ว วิธีนี้ก็จะยิ่งทำให้เกิดตาแดงน้อยลง แต่ถ้าคุณไม่ได้มีตัวแฟลชแยกจากกล้องที่สามารถปรับองศาได้ ให้ใช้ฟังก์ชั่นลดตาแดงที่มากับกล้อง ฟังก์ชั่นนี้จะใช้วิธีการยิงแฟลชไปก่อน 2 -3 ครั้ง ก่อนที่จะเปิดชัตเตอร์ เพื่อทำให้ม่านตาของคุณหดตัวลง วิธีนี้ก็จะช่วยลดการเกิดตาแดงขึ้นได้ แต่จะให้ดีกว่านี้ก็คือ อย่าถ่ายภาพที่ต้องใช้แฟลช ให้ลองหาที่อื่นที่มีแสงเพียงพอแทน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้แฟลชให้เป็น และถ้าไม่จำเป็นก็อย่าใช้.
    การใช้แฟลชในที่แสงน้อยมักจะทำให้เกิดการสะท้อนที่ดูน่าเกลียด หรือบางครั้งก็ทำให้วัตถุที่เป็นแบบของคุณดูซีด ซึ่งอย่างหลังนี้โดยมากจะเกิดขึ้นกับคน ในทางกลับกัน แฟลชก็มีประโยชน์ในการช่วยลบเงา เช่น ลบเงาใต้ตาหรือที่เรียกว่า “ตาแรคคูน” เมื่อถ่ายภาพในช่วยเที่ยง (แต่คุณต้องมีแฟลชที่สามารถทำงานได้ไวพอด้วย[5]) ถ้าคุณสามารถหลีกเลี่ยงการใช้แฟลชได้ ไม่ว่าจะด้วยการออกไปถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือตั้งกล้องนิ่งๆ (เพื่อเปิดชัตเตอร์ได้นานขึ้นโดยที่ภาพไม่สั่น) หรือเพิ่มความไวแสง (เพื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้มากขึ้น) จงทำซะ
    • ถ้าคุณไม่อยากให้แสงจากแฟลชเป็นแสงหลักในภาพ ให้ตั้งค่าแฟลชว่าคุณจะใช้รูรับแสงเท่าไหร่ ซึ่งควรจะเป็นค่าที่กว้างกว่าที่คุณใช้วัดแสงจริง 1 สต็อป หรือมากกว่า (ค่าที่ใช้จริงก็จะขึ้นอยู่กับสภาพแสงแวดล้อม และความเร็วชัตเตอร์ที่คุณใช้ ซึ่งต้องต่ำกว่าค่า flash-sync speed) การตั้งค่านี้ทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเลือกค่ารูรับแสงจากแฟลชแบบแมนนวล (Manual) หรือแบบไทริสเตอร์ (Thyristor) หรือใช้ “โปรแกรมชดเชยแสงแฟลช” ที่มีในกล้องรุ่นใหม่ๆ
    โฆษณา
ส่วน 9
ส่วน 9 ของ 9:

จัดการและเรียนรู้จากประสบการณ์อยู่เสมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ย้อนกลับไปดูภาพที่คุณถ่ายมาแล้วเลือกภาพที่ดีที่สุด....
    ย้อนกลับไปดูภาพที่คุณถ่ายมาแล้วเลือกภาพที่ดีที่สุด. สังเกตดูว่าอะไรทำให้ภาพนั้นเป็นภาพที่ดี แล้วใช้วิธีนั้นสร้างภาพที่ดีที่สุดเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องเสียดายถ้าคุณจะต้องลบหรือโยนภาพบางภาพทิ้งไป ภาพที่ไม่สามารถทำให้คุณรู้สึกชอบมันได้ก็ควรจะถูกทิ้งไปซะ ถ้าคุณถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่แล้ว คุณไม่ได้เสียอะไรเลย นอกจากเวลา แต่ก่อนที่จะลบภาพทิ้งไป คุณจะต้องเรียนรู้จากมันเสียก่อน ว่าอะไรที่ทำให้ภาพนั้นออกมาดูไม่ดี และก็ “อย่าทำแบบเดิม”
  2. 2
    ฝึกฝน ฝึกฝน แล้วก็ฝึกฝน. ถ่ายภาพเยอะๆ ให้เต็มการ์ดความจำ หรือใช้ฟิล์มทั้งหมดที่คุณสามารถจ่ายค่าล้างอัดภาพได้ แต่ที่จริงคุณไม่ควรถ่ายภาพด้วยฟิล์มจนกว่าคุณจะถ่ายภาพจากกล้องดิจิทัลธรรมดาได้ดีเสียก่อน ถึงตอนนั้นคุณจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่ไม่ต้องเสียเงิน และก็เป็นการเรียนรู้ที่คุณจะเห็นผลในทันทีเพื่อค้นหาว่าอะไรกันแน่ที่คุณได้ทำพลาดไป ณ สถานการณ์ตรงนั้น ยิ่งคุณถ่ายภาพมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งทำผลงานได้ดีขึ้น และคุณ(รวมถึงคนอื่นๆ) ก็จะชอบภาพของคุณ
    • ถ่ายภาพจากมุมมองใหม่ๆ และหาวัตถุใหม่ๆ เป็นแบบให้กับคุณและถ่ายมันไปเรื่อยๆ คุณสามารถทำให้ภาพธรรมดาที่เห็นกันจนชินตาดูน่าทึ่งได้ ถ้าคุณมีมุมมองการถ่ายภาพที่สร้างสรรค์พอ
    • เรียนรู้ข้อจำกัดของกล้องที่คุณใช้ เช่น กล้องของคุณสามารถถ่ายภาพได้ดีขนาดไหนในสภาพแสงแบบต่างๆ ระยะห่างมีผลกับความสามารถในการโฟกัสอัตโนมัติหรือไม่ สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ดีแค่ไหน เป็นต้น
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • เมื่อถ่ายภาพเด็ก ลงไปอยู่ในระดับเดียวกับพวกเขา ภาพถ่ายเด็กที่กดลงจากมุมสูงมักจะได้ภาพที่ออกมาดูไม่ดี เลิกขี้เกียจแล้วก็คุกเข่าลงไป
  • ถ้าอยากได้ภาพที่น่าสนใจจากสถานที่ท่องเที่ยว ลองดูว่าคนอื่นเขาถ่ายภาพกันจากมุมไหน แล้วก็ย้ายไปถ่ายมุมอื่นซะ คุณไม่อยากได้ภาพเหมือนๆ กับคนอื่นอยู่แล้วนี่
  • นำภาพออกจากการ์ดความจำ “ทันทีที่ทำได้” แล้วสำรองข้อมูลไว้ ถ้าเป็นไปได้ก็อาจจะสำรองไว้หลายๆ ชุด ช่างภาพทุกคนเคยมี และคงต้องมีประสบการณ์หัวใจสลายเมื่อภาพของพวกเขาหายไป จนกว่าพวกเขาจะทำสิ่งนี้จนเป็นนิสัย อย่าลืมสำรองข้อมูลทุกครั้ง
  • ไม่ต้องกลัวว่าคุณจะถ่ายภาพเยอะเกินไป คุณสามารถถ่ายภาพไปจนกว่าคุณจะรู้สึกว่าคุณได้ภาพที่ดีที่สุด มันอาจต้องใช้เวลาบ้างในการค้นหาองค์ประกอบภาพที่ดีที่สุดให้กับแบบของคุณ ถ้าคุณเจออะไรที่ดูน่าสนใจ ให้ใช้เวลาของคุณกับมันให้เยอะที่สุดเสมือนว่านั่นเป็นสมบัติล้ำค่าของคุณ
  • ใช้สายคล้องคอถ้าคุณมี ถือกล้องให้ห่างออกไปจนกระทั่งสายคล้องคอตึง จะช่วยเพิ่มความนิ่งให้กับกล้อง ซึ่งสายคล้องยังช่วยป้องกันไม่ให้กล้องคุณตกกระแทกด้วย
  • จดบันทึกในสมุดจดพกพาสักเล่ม เพื่อจำไว้ว่าอะไรที่คุณทำแล้วดี หรืออะไรที่ทำแล้วไม่ดี อ่านสิ่งที่จดไว้บ่อยๆ เพื่อเป็นการฝึกฝน
  • เรียนรู้ที่จะใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถแก้ไขสมดุลสี ปรับแสง ตัดภาพและอื่นๆ อีกหลายอย่าง ส่วนมากกล้องมักจะมาพร้อมกับโปรแกรมแต่งภาพขั้นพื้นฐาน แต่ถ้าคุณต้องการอะไรที่มากกว่านั้น ลองพิจารณาว่าจะซื้อโปแกรมโฟโต้ชอป (Photoshop) หรือ ดาวน์โหลดโปรแกรมแต่งภาพ GIMP ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรี หรือใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ Paint.Net (http://www.getpaint.net/download.html) โปรแกรมฟรีที่ไม่หนักเครื่องสำหรับผู้ใช้วินโดวส์
  • สังคมทางตะวันตก ชอบดูภาพถ่ายที่ใบหน้าของคนหรือความสูงของคนเต็มเฟรมภาพ เช่น ไม่เกิน 6 ฟุท (1.8 ม.) – ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวตะวันออก มักจะถ่ายภาพคนที่ยืนห่างกล้องออกไปอย่างน้อย 15 ฟุท (4.6 เมตร) เพื่อที่จะได้เห็นภาพฉากหลังเป็นสถานที่ที่พวกเขาไป ไม่ใช่แค่ภาพถ่ายที่เห็นแต่ภาพ “ตัวเอง”
  • ลองสังเกตวิธีการเล่าเรื่องด้วยภาพของช่างภาพสารคดีมืออาชีพจากหนังสือพิมพ์หรือ หนังสือ National Geographic ลองเข้าไปหาแรงบันดาลใจจากพวกเว็บรูปภาพต่างๆ อย่าง Flickr (http://www.flickr.com/) หรือ deviantART (http://www.deviantart.com/) ลองเปิดดู Flickr's camera finder (http://www.flickr.com/cameras/) เพื่อดูว่าคนอื่นๆ ใช้กล้องที่ถูกที่สุดแบบกล้องเล็งแล้วยิงทำอะไรได้บ้าง ดูข้อมูลกล้องจาก deviantART. แต่ก็อย่าดูเพลินจนลืมหาเวลาออกไปถ่ายภาพของคุณเองด้วยนะ
  • อัพโหลดไปยัง Flickr หรือ Wikimedia Commons (http://commons.wikimedia.org/) บางทีสักวันคุณอาจะได้เห็นภาพคุณบน How.com.vn!
  • กล้องของคุณไม่ใช่ปัญหา กล้องทุกตัวมีความสามารถในการถ่ายภาพได้ถ้ามันอยู่ในสภาพที่ดี แม้แต่กล้องที่ติดมากับโทรศัพท์สมัยใหม่ก็ยังสามารถถ่ายภาพได้ดี [6] เรียนรู้ข้อจำกัดของกล้องและทำงานกับมันสักพัก อย่าพึ่งซื้อกล้องใหม่จนกว่าคุณจะรู้แน่ชัดว่า กล้องของคุณมีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ทำให้คุณไม่สามารถทำอะไรที่อยากทำได้
  • ถ้าคุณใช้กล้องดิจิทัล การถ่ายภาพที่แสงน้อยกว่าความจริงจะสามารถแก้ไขในโปรแกรมได้ง่ายกว่า รายละเอียดที่เป็นเงาดำสามารถแก้ไขได้ แต่รายละเอียดที่ขาวจ้า (เพราะวัดค่าแสงให้สว่างเกินไป) จะไม่สามารถแก้ไขกลับมาได้ เพราะกล้องไม่มีข้อมูลอะไรส่วนนั้นเลย ขณะที่ฟิล์มจะตรงกันข้าม คือ รายละเอียดในส่วนเงาดำจะแย่กว่าแบบดิจิทัล และถึงแม้คุณจะวัดแสงสว่างเกินไปยังไงก็จะไม่ค่อยเจอภาพขาวสว่างจ้า [7]
โฆษณา

คำเตือน

  • ขออนุญาตก่อนถ่ายภาพคน สัตว์ที่มีเจ้าของ หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ทุกครั้ง มีเพียงกรณีเดียวที่คุณไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก็คือ คุณกำลังถ่ายภาพอาชญากรรม การขออนุญาตก่อนถ่ายภาพทำให้คุณดูสุภาพขึ้นด้วย
  • ระวังการถ่ายภาพอนุสาวรีย์ งานศิลปะ หรือแม้กระทั่งสถาปัตยกรรม ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะอยู่ในที่สาธารณะ บางครั้งศาลก็ถือว่านี่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ [8]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กล้องอะไรก็ได้ที่คุณมี หรือขอยืมมา ใช้ได้ทั้งนั้น
  • ถ้าคุณใช้กล้องดิจิทัล หน่วยความจำที่ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่คุณหาได้ ถ้าคุณใช้กล้องฟิล์มให้เตรียมฟิล์มให้เยอะที่สุดเท่าที่คุณจะมีเงินไปล้างอัดรูป


ข้อมูลอ้างอิง

  1. See 5 Reasons to Take Your Camera Everywhere in 2008, http://digital-photography-school.com/blog/5-reasons-to-take-your-camera-everywhere-in-2008/.
  2. For more on white balance, see How to Set White Balance, http://www.kenrockwell.com/tech/whitebalance.htm, by Ken Rockwell.
  3. See the Wikipedia article on the subject for a fuller explanation of this.
  4. http://www.slrphotographyguide.com/camera/settings/shutter-speed.shtml
  5. See Ken Rockwell's page on sync speed at http://www.kenrockwell.com/tech/syncspeed.htm for more details on this.
  6. See Your Camera Doesn't Matter, http://www.kenrockwell.com/tech/notcamera.htm by Ken Rockwell.
  7. See Film vs. Digital, http://www.kenrockwell.com/tech/filmdig.htm for a more in-depth discussion.
  8. See the Wikimedia Commons for a country-by-country breakdown of local laws (http://commons.wikimedia.org/wiki/Commons:Freedom_of_panorama).

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Cory Ryan
ร่วมเขียน โดย:
ช่างภาพงานแต่งงานมืออาชีพ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Cory Ryan. คอรี ไรอันเป็นช่างภาพงานแต่งงานมืออาชีพที่เปิดกิจการ Cory Ryan Photography ในออสติน เท็กซัสมากว่า 15 ปีและเชี่ยวชาญในงานแต่งงานกับงานอีเวนต์ งานของเธอเคยถูกตีพิมพ์ใน The Knot, Style Me Pretty, และ Junebug Weddings เธอจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนาแห่งชาเปลฮิลล์ บทความนี้ถูกเข้าชม 4,733 ครั้ง
หมวดหมู่: งานอดิเรก
มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,733 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา