ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทนทรมานกับโรคซึมเศร้า คุณคงเคยมีอาการทางจิตอย่างรู้สึกเศร้า โหวงๆ โล่งๆ ในอกไม่ยอมหาย รู้สึกผิด เครียด กลัว กระทั่งสิ้นหวัง หรือเผชิญกับอาการผิดปกติทางกาย เช่น นอนไม่หลับหรือหลับเยอะเกินไป ไม่มีสมาธิจดจ่อ ลังเลตัดสินใจไม่ถูก กินไม่ลงและน้ำหนักลด รวมถึงไม่ค่อยมีแรงกายแรงใจจะทำอะไร หรือเหนื่อยล้าจนแค่ลุกจากเตียงก็ยากแล้ว ถ้าเจอแบบนี้คงยากที่คุณจะรับมือกับภาวะซึมเศร้า เลยลงเอยด้วยการปิดบังอาการของตัวเองตอนอยู่กับเพื่อนๆ หรือที่ทำงาน แต่บอกเลยว่าสุดท้ายแล้วไม่ใช่การปิดบังหรือหลอกตัวเองว่าไม่เป็นไรหรอก แต่เป็นการเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี ที่จะทำให้คุณรู้สึกดีและมองตัวเองกับโลกรอบตัวดีขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ซ่อนอาการซึมเศร้าจากเพื่อนๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เลี่ยงการพบปะกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ๆ.
    เวลาอยู่กับคนเยอะๆ แล้วซ่อนอารมณ์ซึมเศร้าได้ยาก โดยเฉพาะยิ่งเป็นเพื่อนที่รู้จักคุณดี เพราะงั้นถ้าไม่อยากให้ใครเห็นอาการซึมเศร้าของคุณก็คงต้องงดออกงานหรือการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนกลุ่มใหญ่ไปก่อน จะได้ไม่ต้องฝืนทำเป็นร่าเริงสนุกกับงาน ถ้าเป็นไปได้ก็ให้นัดเจอเพื่อนสนิทแค่ไม่กี่คน ตัวต่อตัวได้ยิ่งดี จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องอาการของตัวเองตลอดเวลา
    • แต่ต้องระวังว่าถ้าปกติคุณเป็นคนร่าเริงคุยเก่ง แล้วอยู่ๆ เกิดปฏิเสธคำเชิญของเพื่อนๆ ซะเฉยๆ อาจทำให้ดูน่าสงสัยผิดปกติยิ่งขึ้น จะดีกว่าถ้าลองเปิดใจเลียบๆ เคียงๆ คุยกับเพื่อนเรื่องอาการของคุณหรือเรื่องที่คุณไม่สบายใจ จะได้ไม่ต้องคอยหลบหน้าเพื่อนเพราะกลัวใครจะรู้ บอกเลยว่ายากมาก การซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงจากเพื่อนสนิทน่ะ
    • ถ้าคุณหลีกเลี่ยงการพบปะพูดคุยกับคนหมู่มากไม่ได้ เช่น งานของบริษัท ก็ให้ไปแต่ไม่ต้องอยู่นานมาก หรือหลบไปสงบสติในห้องน้ำเป็นพักๆ อย่าฝืนทนอยู่ทั้งคืนจนจบงานโดยที่อยู่ท่ามกลางผู้คนไม่ปลีกตัวเลยแม้แต่นิดเดียว จุดสำคัญคือคุณต้องหาวิธีผ่อนคลายเป็นระยะ ห้ามเก็บกดไว้แบบนั้นเด็ดขาด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ไปงานกับเพื่อนสนิท.
    เพื่อป้องกันไม่ให้ใครมาสงสัยได้ว่าคุณโรคซึมเศร้า ให้อย่างน้อยก็แข็งใจไปปรากฏตัวที่งานพอสังเขป และจะยิ่งดีถ้าควงเพื่อนสนิทคนสองคนไปด้วย การที่คุณไปปรากฏตัวจะทำให้คนอื่นๆ ได้เห็นว่าถึงจะเป็นโรคซึมเศร้า คุณก็ยังไปไหนมาไหนหรือเข้าสังคมได้ตามปกติ
    • หรือคุณจะพยายามทำตัวร่าเริง ให้ความสนใจกับคนอื่นในงานเข้าไว้ ไม่ก็ยิ้มสู้ไว้ก่อนก็ได้ เพราะฝืนทำแบบนี้อาจทำคุณเหนื่อยกายใจ จนสุดท้ายยอมเปิดปากระบายเรื่องอาการของคุณให้เพื่อนสนิทฟัง ถ้าเป็นแบบนั้นก็ถือว่าดูดีมีประโยชน์เลย เพราะอารมณ์ซึมเศร้าถ้าเก็บเอาไว้คนเดียวไม่ดีหรอก เปิดอกกับคนอื่นให้สบายใจดีกว่า [1]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถ้าใครวกเข้าเรื่องโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลให้ชวนเปลี่ยนเรื่อง....
    ถ้าใครวกเข้าเรื่องโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลให้ชวนเปลี่ยนเรื่อง. ถ้าอยากดึงความสนใจเพื่อนไปจากเรื่องเซนซิทีฟนี้ของคุณ เวลาเพื่อนเกริ่นขึ้นมาเรื่องที่เขาเครียดเองหรือเป็นห่วงเรื่องอาการของคุณ ก็ให้เนียนชวนคุยเรื่องอื่นซะเลย อาจจะพูดถึงรายการใหม่ที่เพิ่งออนแอร์หรือหนังโปรด ไม่ก็ถามเรื่องที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน การชิงเปลี่ยนเรื่องแต่เนิ่นๆ นี่แหละที่ช่วยคุณซ่อนอาการของตัวเองได้ และตัดไฟแต่ต้นลมไม่ให้ต้องคุยเรื่องน่าอึดอัดใจกับใคร
    • แต่บางทีพอคุณเปลี่ยนเรื่องกะทันหันมันก็ดูมีพิรุธไปหน่อย โดยเฉพาะถ้าเพื่อนๆ เขาเอะใจเกี่ยวกับอาการคุณอยู่แล้ว การย้ำกับเพื่อนว่าคุณไม่เป็นไร แฮปปี้ดี๊ด๊าสุดๆ บางทีก็กลายเป็นตอกย้ำว่าคุณกำลังมีปัญหาเรื่องจัดการความเศร้าความกังวลของตัวเอง เพราะยากเหลือเกินที่จะทำหน้าชื่นทั้งๆ ที่อกตรม
    • อีกทางคือบอกไปตรงๆ เลยว่าดีใจที่เพื่อนเป็นห่วงนะ แต่คุณยังไม่พร้อมหรือไม่อยากคุยเรื่องความเครียดความเศร้าของตัวเองตอนนี้ ประมาณว่า “สา เรารู้นะว่าสาห่วงเรา ถึงได้ถามว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า แต่ตอนนี้เรายังไม่พร้อมจะคุย ถ้าเรารู้สึกดีขึ้นเมื่อไหร่เดี๋ยวเราบอกสาแน่นอน ช่วยรออีกหน่อย แล้วเดี๋ยวเราค่อยคุยกันนะ”
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้เวลากับคนหัวอกเดียวกัน.
    เวลาอยู่คนเดียวคุณจะสบายใจขึ้น เพราะไม่ต้องคอยทำตัวร่าเริงเหมือนเวลาอยู่กับคนอื่น แต่ข้อเสียคืออาจทำคุณรู้สึกโดดเดี่ยว ห่างเหินจากคนอื่นๆ กว่าเดิม เพราะงั้นอีกวิธีคือลองหาเพื่อนหรือคนรู้จักที่กำลังต่อสู้กับปัญหาเดียวกัน จะได้ปรับทุกข์เรื่องอาการซึมเศร้าของตัวเองอย่างสะดวกใจ แบบนี้ถึงจะปิดบังอาการจากเพื่อนบางคนก็ไม่เป็นไร เพราะมีเพื่อนที่รู้ใจอีกคนคอยรับฟัง
    • แน่นอนว่าการเล่าความรู้สึกซึมเศร้าของตัวเองให้คนอื่นฟังเป็นเรื่องยาก แต่บอกเลยว่าถ้าคุณเอาแต่เก็บกดมันไว้ อาการคุณอาจหนักข้อกว่าเดิมจนอันตรายต่อกายใจ การระบายความรู้สึกลบๆ โดยมีคนหัวอกเดียวกันรับฟังอย่างเข้าใจ จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น และเป็นก้าวแรกสู่การฟื้นตัวจากโรคซึมเศร้า [2]
    • ถ้าตอนนี้เพื่อนคนไหนของคุณกำลังพยายามดิ้นรนให้พ้นโรคซึมเศร้า ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะลองพูดคุยใช้เวลากับเขาดู แต่ก็อย่าลืมขอคำปรึกษาหรือกำลังใจจากคนนอกที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า หรือหายจากโรคซึมเศร้าแล้วด้วย เพราะแค่เรื่องของตัวเองก็จิตตกน่าดู นี่ยังต้องรับฟังเรื่องชวนหดหู่ของคนอื่นเพิ่มเข้ามาอีก จนบางทีพาลทำเอาซึมเศร้าหนักกว่าเดิมทั้งคู่ สรุปคือปรับทุกข์กันได้ แต่ก็อย่าจุกกันอยู่แค่ 2 คนล่ะ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ซ่อนอาการซึมเศร้าจากเพื่อนร่วมงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จดจ่อกับการทำงาน ลืมไปก่อนเรื่องชวนเศร้า.
    โรคซึมเศร้ามักทำคุณยากจะจดจ่อมีสมาธิอยู่กับอะไร โดยเฉพาะอะไรที่ต้องทำเป็นงานๆ หรือเป็นขั้นเป็นตอนไป แต่ถ้าคุณหันเหความสนใจมาจดจ่อกับการพัฒนาตัวเองเรื่องงาน อาจช่วยให้คุณลืมโรคซึมเศร้าของตัวเองไปได้ชั่วคราว พยายามตั้งเป้าหมายในการทำงานให้ได้ทุกวัน เลือกเป้าหมายที่หวังผลและทำได้จริง รวมถึงให้คุณทำ to-do list ของแต่ละวันไว้ด้วย อย่างตอนประชุมก็จดให้ละเอียดทุกเม็ด จะได้ไม่ปล่อยสมองว่างจนเผลอคิดฟุ้งซ่านหรือวอกแวก อีกอย่างคือใส่ใจลูกค้าให้มากขึ้น ลองพูดคุยปรึกษากันดู ว่าทำยังไงลูกค้าถึงจะพอใจที่สุด
    • ถึงเราจะบอกให้ตั้งเป้าและติดตามผลด้วย to-do list คุณจะได้ไม่ออกนอกลู่นอกทางแถมหายซึมเศร้าชั่วคราว แต่ปัญหาคือคุณอาจพบว่าอาการซึมเศร้าทำเอายากจะจดจ่อนี่สิ ยิ่งถ้าปล่อยไว้นานๆ ไม่คิดหาหนทางรักษา ต่อไปคงไม่มีสมาธิจะทำอะไรจนเสียงาน เพราะสภาพความคิดและจิตใจไม่เอื้ออำนวย
    • ระหว่างวันพยายามดูแลตัวเองให้มากขึ้น โดยพักเบรคบ่อยๆ หาเรื่องคุยกับเพื่อนร่วมงาน ไปเดินยืดเส้นยืดสาย หรือหาของว่างที่มีประโยชน์กิน ใจเย็นใจดีกับตัวเองหน่อย คุณเก่งแล้วที่พยายามประคับประคองงานการต่อไปได้ทั้งที่ยังมีอาการ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เลี่ยงการพูดคุยเรื่องอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล....
    เลี่ยงการพูดคุยเรื่องอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล. คงซ่อนอาการยากน่าดู ถ้ามีใครเกิดเปิดประเด็นเรื่องโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลของตัวเองขึ้นมากลางออฟฟิศ ถ้าเป็นแบบนั้นให้คุณเนียนเปลี่ยนเรื่อง จะได้ไม่ต้องฝืนพูดเรื่องความรู้สึกของตัวเองบ้าง หรือจะพูดขอตัวทำนองว่ามีงานค้างที่ต้องไปทำต่อก็ได้
    • แต่บางทีได้เปิดอกกับคนที่เข้าใจก็ทำให้คุณหายเปล่าเปลี่ยว รู้สึกดีขึ้นได้นะ ไอ้การเลี่ยงไม่คุยเรื่องอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลมันดีอย่างเดียวตรงที่คุณไม่ต้องเปิดเผยเรื่องตัวเองนี่แหละ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะซึมเศร้าน้อยลงแต่อย่างใด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาตัวเมื่อเป็นโรคซึมเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เปิดอกเรื่องอาการกับเพื่อนที่ไว้ใจ.
    ที่คุณไม่อยากบอกใครเพราะกลัวอาย รู้สึกผิด หรือสับสนอยู่ว่าทำไมตัวเองถึงคิดแต่เรื่องแย่ๆ เศร้าๆ และเปล่าเปลี่ยวแบบนี้ แต่ถึงภายนอกคุณจะเนียนดูแฮปปี้แค่ไหน การเก็บกดความรู้สึกซึมเศร้าของตัวเองไว้ก็ไม่ได้ทำให้คุณหายดีได้ ให้คุณลองเปิดใจกับเพื่อนสนิท ครอบครัว หรือคนรู้ใจดู พอไม่ต้องปิดบังความรู้สึกอีกต่อไปจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น แถมยังมีเพื่อนคู่คิดช่วยกันหาวิธีฟื้นตัวจากโรคซึมเศร้าด้วย [3]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรึกษา HR ถ้าตัดสินใจเปิดเผยความจริง.
    ฝ่ายบุคคลหรือ HR ของบริษัทนี่แหละที่ปรึกษาที่ดีในกรณีที่คุณอยากเปิดอกเรื่องอาการซึมเศร้า จะนัดคุยกันตัวต่อตัวกับหัวหน้าฝ่าย HR ก็ได้ คุณจะได้เล่าความรู้สึกและปรึกษาหาทางแก้ไขร่วมกันในกรณีที่อาการของคุณส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน [4]
    • HR ที่ดีควรเสนอให้คุณลาพักร้อนหรือพักรักษาตัวสักระยะ บางคนอาจแนะนำกลุ่มบำบัดพร้อมข้อมูลติดต่อให้ หรือแนะนำนักจิตบำบัดที่ประกันสังคมครอบคลุม จริงๆ ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ๆ ก็อาจมีเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญประจำบริษัทไว้ให้คำปรึกษาแก่พนักงานที่กำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้าและต้องการเข้ารับการรักษาเพื่อไม่ให้กระทบกับหน้าที่การงาน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เสาะหานักจิตบำบัดหรือผู้ให้คำปรึกษา.
    ถ้าอยากรักษาโรคซึมเศร้าแบบตรงจุด คงต้องพบจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่เชี่ยวชาญเรื่องโรคซึมเศร้า ลองถามคนรู้จักที่ประสบปัญหาเดียวกันดู เผื่อจะแนะนำคนเก่งๆ ให้คุณได้ หรืออาจลองสอบถาม HR ของบริษัทดูว่าพอมีข้อมูลเรื่องนี้หรือเปล่า ลองเช็คข้อมูลดูดีๆ บางทีประกันสังคมของคุณอาจครอบคลุมค่าจิตบำบัดด้วยก็ได้ [5]
    • ถ้าไม่สะดวกใจเข้ารับการบำบัด ให้ลองเริ่มจากการพูดคุยกับอาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่ของกรมสุขภาพจิตที่ผ่านการอบรมด้านนี้โดยตรงมาแล้วก็ได้ ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง หรือเข้าไปที่ http://www.dmh.go.th/ ก็ได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สอบถามคุณหมอเรื่องกินยาร่วมด้วย.
    เขาพิสูจน์กันมาแล้วว่าเมื่อเข้ารับการบำบัดควบคู่ไปกับการกินยา คนเป็นโรคซึมเศร้าจะอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ลองสอบถามคุณหมอดูเรื่องชนิดของยาที่เหมาะสมกับคุณ พร้อมทั้งสอบถามเรื่องนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจและรับมือกับอาการซึมเศร้าได้ [6]
    • คุณหมออาจพิจารณาจ่ายยาต้านเศร้า (antidepressant) อย่างยากลุ่ม SSRI (selective serotonin reuptake inhibitors) ให้คุณ เช่น Prozac, Paxil, Zoloft, Celexa หรือ Lexapro ไม่ก็ยากลุ่ม SNRI (serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors) อย่าง Cymbalta, Effexor XR หรือ Fetzima แต่อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและประวัติการรักษาของคุณ
    • คุณหมออาจพิจารณาจ่ายยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic อย่าง Tofranil หรือ Pamelor ให้คุณ ซึ่งจะเห็นผลกว่าแต่มาพร้อมผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง ปกติแล้วคุณหมอจะไม่จ่ายยากลุ่ม tricyclic ให้ เว้นแต่กรณีที่รักษาด้วยยากลุ่ม SSRI แล้วไม่ดีขึ้นจริงๆ ยังไงก่อนกินยาต้องคุยกับคุณหมอให้รู้เรื่องก่อน ว่ายาต้านเศร้ามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง รวมถึงแจ้งคุณหมอทันทีที่คุณพบอาการข้างเคียงน่าเป็นห่วงจากการใช้ยา
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Donna Novak, Psy.D
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Donna Novak, Psy.D. ดร. ดอนนา โนวักเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาต อยู่ที่ซิมีแวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ดร. โนวักเชี่ยวชาญในการรักษาผู้ที่มีความวิตกกังวล มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ และมีปัญหาเรื่องเพศ โดยมีประสบการณ์มากกว่าสิบปี เธอได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิตสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) และจบปริญญาเอก (Psy.D) สาขาจิตวิทยาคลินิกจากมหาวิทยาลัยนานาชาติอไลอันต์ ลอสแอนเจลิส ดร. โนวักใช้แบบจำลองความแตกต่างในการรักษาซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาตนเองโดยเพิ่มความตระหนักรู้ในตนเอง สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง และเสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง บทความนี้ถูกเข้าชม 2,147 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,147 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา